ติดตามการบริหารงานระบบ Empowerment 1


ก่อนหน้านั้นก็คิดแต่ว่าลูกน้อง ทำไม่ได้ แต่พอลองเสี่ยงให้ทำดูปรากฏว่าลูกน้องทำได้มากกว่าที่ตนเองสั่งซะอีก"

       วันนี้ผมและทีม HRD ซึ่งทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย ที่คอยสนับสนุน ผลักดันและติดตามการ บริหารงานแบบ Empowerment ที่ปูนท่าหลวง  หน้าที่ของทีมผมก็เข้าไปทวนถามถึงบรรยากาศการทำงานใน Cell ว่าการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด...ในการติดตามนั้นเราได้กำหนดแนวทางสำหรับ สามาชิกของทีมไว้ 4 ด้าน คือ

  • ด้านการทำงานเป็นทีม
  • ด้านการสื่อสาร
  • ด้านค่านิยมของทีม
  • ด้านการเรียนรู้ร่วมกันของทีม

     แต่ละด้านเราแบ่งออกเป็น 5 ระดับ หรือเรียกว่า RC เหมือนกับการแข่ง Rally

     ส่วนผู้บังคับบัญชา เราประเมินเรื่องของ Leader ship ที่แบ่งเป็น 5 ระดับเช่นกัน

      เรื่องของการติดตามประเมินในครั้งนี้ทีมเราไม่ได้คาดหวังที่จะเห็นผลที่แสดงชัดเจนของแต่ละระดับ แต่อยากเห็นเรื่องของการพัฒนาของระบบการบริหารงานของแต่ละ Cell มากกว่า อย่างเช่น พนักงานแต่ละ cell มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน พนักงานมีอิสระในเรื่องการตัดสินใจได้ตามขอบเขตที่สมควร และสุดท้ายที่ทีมเราไม่ลืมถามก็คือเรื่องของความสุขในการทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่าดีขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ปัญหาในงานได้ด้วยตนเอง ....

       ในวันนี้ทีมเราเข้าพบทั้งหมด 5 Cell และสามารถประเมินผลได้ว่า แต่ละ Cell มีการพัฒนางานไปได้ตามที่เราคาดหวัง เช่น

  • เรื่องของการมอบอำนาจการตัดสินใจจาก ผู้จัดการไปสู่พนักงานระดับปฏิบัติการ มีมากขึ้น
  • พนักงานเกิดความภาคภูมิใจที่ตนเองมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจมากขึ้น
  • พนักงานทำงานอย่างมีอิสระมากขึ้น
  • ผู้จัดการ Cell ได้ลดอัตตาที่คิดว่าตัวเองต้องสั่งการได้ มาเล่นบทบาทคุณอำนวยมากขึ้น
  • ความเป็นเจ้าของมีมากขึ้น พนักงานส่วนใหญ่มุ่งมั่นทำงานด้วยใจ เหมือนกับว่าตนเองเป็นเจ้าของงานนั้นๆ

โดยรวมแล้วเราได้เห็นพัฒนาการของแต่ละ Cell และมีผู้จัดการ Cell บางคนสารภาพกับเราว่า "ก่อนหน้านั้นก็คิดแต่ว่าลูกน้อง ทำไม่ได้ แต่พอลองเสี่ยงให้ทำดูปรากฏว่าลูกน้องทำได้มากกว่าที่ตนเองสั่งซะอีก"  ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการบริหารงานแบบ Empowerment สามารถสร้างแรงจูงใจให้พนักงานหรือคนในองค์กร ได้แสดงศักยภาพของตนเองต่อการทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ ..และคุณอำนวยอย่างพวกเราก็มีหน้าที่ยั่วยุ ผลักดันให้สมาชิกในทีมมีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทของตนเอง และดึงความสามารถที่ตนเองมีอยู่มาใช้และสร้างคุณค่าของงานให้มากขึ้น......ก่อให้เกิดความภูมิใจและความรู้สึกเป็นเจ้าของต่องานของเขาในที่สุด....

      สำหรับเครื่องมือที่ทีมเราใช้ในครั้งนี้ เราใช้  Story telling พบปะพูดคุย สอบถามสารทุกข์ สุขดิบจากการทำงานของพนักงาน แต่ละ Cell ...รับฟังความคิดเห็นที่พนักงานสะท้อนออกมา แล้วประมวลผลตามข้อเท็จจริง..พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาของ Cell แบบกลางๆ..ทั้งนี้แต่ละ Cell ก็ต้องนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสภาพงาน  สภาพของคนใน Cell ของตนเอง..ซึ่งเราคาดหวังที่จะเห็นการทำงานของ Cell ที่เป็นไปอย่างมีความสุข และมีประสิทธิภาพ..ในที่สุด

 

คำสำคัญ (Tags): #คุณอำนวย
หมายเลขบันทึก: 79536เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2007 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณเรวัตรค่ะ

หนูแวะมาทักทายและมาเก็บประสบการณ์ดี ๆ ของคุณเรวัตรด้วยค่ะ

สวัสดีคะ พี่ภูคา
ชื่นชมกับแนวคิด เทคนิกในการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนางานโดยใช้ Story Telling และการ TL ของคุณอำนวย เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นเป็นรูปธรรม สนใจมากคะและคิดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในการทำงาน ขออนุญาตนำเทคนิกดีๆ นี้ไปใช้นะคะ และอยากสอบถามพี่ภูคาถึงการที่จะกำหนด RC ไม่ทราบว่ามีเทคนิกการได้มาอย่างไรคะ

ขอบคุณครับ คุณมะปรางเปรี้ยว  ที่แวะมาเยี่ยมกันเป็นประจำ  ด้วยความยินดีครับ..

ขอบคุณครับคุณปิติกานต์

  • เทคนิคต่างๆเหล่านี้ก็เก็บเกี่ยวมาจาก G2K นี่แหละครับ แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์กร
  • การกำหนด RC ก็กำหนดโดยนำเอาพฤติกรรมแต่ละด้าน ที่เป็นนโยบายองค์กรหรือสิ่งที่เราอยากให้เป็นมาจัดเรียง ความยาก ง่าย และจัดให้เป็น ระดับ RC โดยเริ่มจากง่าย ไปยาก หากเราไปประเมิน แล้วพบว่า Cell ไหนที่ทีมสามารถทำ หรือเกิดพฤติกรรมที่กำหนดไว้  ทางทีมคุณอำนวยก็ประมวลผลร่วมกัน แล้วแจ้งระดับการพัฒนาเป็น RC ให้ Cell นั้นๆทราบ ..ซึ่งก็เหมือนกับการแข่ง Rally เพียงต่างกันก็เพียงแต่ว่า Empowerment นั้นแต่ละ Cell ต้องแข่งกับตนเอง และต้องพากันไปทั้งทีม..ครับ.....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท