น่านแห้ง น่านแล้ง น่านทิ้งถิ่น


ปัญหาใหญ่ ๆ แม้ว่าชุมชนเข้มแข็ง กับการจัดการปัญหาใหญ่ จำเป็นต้องใช้ผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นแกนหลัก

                 ในยุคหนึ่ง  ราวปี 2530 เป็นต้นมา  ที่น่าน  ผมเคยได้ยินประโยคที่ว่า  "น่านแห้ง น่านแล้ง น่านทิ้งถิ่น" คำกล่าวดังกล่าวเกิดจากความรัก  ความห่วงใยแผ่นดินถิ่นเกิด และกลุ่มผู้ใช้คำดังกล่าวนี้ได้แก่ ชมรมชาวน่านที่มีพัฒนาการมาเป็นสมาคมชาวน่านในเวลาต่อมา ( หากผมรับรู้เรียนรู้มาผิดพลาด ขอท่านผู้รู้แจ้งเห็นจริงได้กรุณาชี้แนะ )

                  ในจำนวนผู้ก่อการดียุคนี้  ที่รู้จักน่าจะได้แก่ พลเอกสนั่น เศวตเศรนี ลูกบ้านน้ำล้อม และ เจ้ามิตร หรือนางนิรมิต สิริสุขะ ทั้งสองท่านถึงแก่กรรม  ใครมีเอกสารการก่อเกิดของชมรมชาวน่าน แล้วมาเป็นสมาคมชาวน่าน มีกิจกรรมต่อเนื่องมายาวนานอย่างไร กรุณาแบ่งปันไปที่ ศูนย์ประชางานประชาคมจังหวัดน่าน รพ.น่าน หรือแจ้งที่ผมได้นะครับจะไปรับ ขอขอบพระคุณมาล่วงหน้า ณ โอกาสนี้

                 การขับเคลื่อนคำที่ถูกเสนอมาดังกล่าว  ผมเคยได้ยินจากปากของ พลเอกสนั่นฯ ว่า  มีประสบการจากการไปมีสวนร่วมแก้ไขปัยหาโครงการอีสานเขียน  ช่วยชาวอีสานได้แล้ว  จึงขอมาร่วมส่วนร่วมกับชาวน่านที่ร่วมตัวไกลบ้านกลับมาช่วยแก้ไขปัญหา  น่านแห้ง น่านแล้ว  น่านทิ้งถิ่น  เกิดจากเหตุ เข้าใจเหตุผลแล้วแก้ไขต้นตอได้  แล้วมีการวางแนวทางในการปัญหาร่วมกัน  แน่นอนที่สุดต้องใช้เวลา  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าส่วนราชการตามวาระ  หรือเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทุกอย่างที่ถูกวางไว้  เมื่อมีการสานต่อ  ปัญหาสังคมจึงถูกดองรอการปะทุ  ปัญหาใหญ่ ๆ แม้ว่าชุมชนเข้มแข็ง กับการจัดการปัญหาใหญ่ ๆ จำเป็นต้องใช้ผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นแกนหลัก

คำสำคัญ (Tags): #ร่องรอยความดี
หมายเลขบันทึก: 79158เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2007 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 00:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท