เรื่องเล่าจากดงหลวง 25 ลักษณะบางส่วนของไทโซ่ดงหลวง 2


นี่แหละคือวิถีของพืชเศรษฐกิจแบบ Intensive care เป็นงานที่หนักของเราที่จะปลุกปั้นให้ไทโซ่ที่อยู่กับธรรมชาติ คิดแบบเดิมๆ วัน วันก็มองแต่ขึ้นป่า มาเป็นนักเกษตรสมัยใหม่

1.        การเยี่ยมแปลงพืชของเกษตรกร:  เป็นหลักการปฏิบัติของเราในช่วงการเพาะปลูกว่านักวิชาการเกษตรที่เรามีอยู่จะต้องออกไปเยี่ยมเกษตรกร เพื่อติดตาม สำรวจ แปลงพืช และพูดคุยกับเจ้าของแปลงเพื่อสอบถามการเจริญเติบโตของพืช มีปัญหา อุปสรรคใดๆก็คุยกัน หาทางแก้ไขด้วยกัน เป็นการ ฝึกเกษตรกรระหว่างปฏิบัติการ หรือที่เรียกว่า On The Job Training ไงล่ะครับ ดังนั้น นักวิชาการของเราต้องมีความรู้ไปด้วย รู้จักการทำหน้าที่ Visiting and Coaching (V&C) และทำการบันทึกการเยี่ยมแปลงเกษตรกรด้วยเพื่อผู้เชี่ยวชาญจะได้มา Observe หรือทำฐานข้อมูลต่อไป 

 

เท่าที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ทำการเพาะปลูกพึงพอใจมากในการเยี่ยมแปลงเพราะเขาเองก็ใหม่ต่อชนิดพืชต่างๆที่ปลูกอยู่นี่ บางคนอาจจะปลูกเป็นปีที่สองก็ยังถือว่าใหม่อยู่ กระบวนวิธีเอาอกเอาใจเจ้าพืชตามหลักวิชาการก็มีมากมายหลายอย่าง ต้องดำเนินการตามนั้น หากขาดตกบกพร่องไปก็มีอาการทันที  นี่แหละคือ พืชเศรษฐกิจที่ไม่ใช่พืชพื้นบ้าน มันอ่อนแอ และต้องดูแลเอาใจใส่อย่างสูง ซึ่งผิดกับลักษณะนิสัยธรรมชาติของวิถีชีวิตไทโซ่เลยทีเดียว.. เกษตรกรบางรายกล่าวว่าดูแลมันยิ่งกว่าดูแลลูกเราเสียอีก.. หากผิดเพี้ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และหมายถึงผลผลิต และรายได้ของเกษตรกร  นี่แหละคือวิถีของพืชเศรษฐกิจแบบ Intensive care เป็นงานที่หนักของเราที่จะปลุกปั้นให้ไทโซ่ที่อยู่กับธรรมชาติ คิดแบบเดิมๆ วัน วันก็มองแต่ขึ้นป่า มาเป็นนักเกษตรสมัยใหม่ ผู้เขียนจึงกล่าวว่าเฉพาะกิจกรรมนี้ควรที่จะขยายเวลาออกไปอีก 3-5 ปีเพื่อมีเวลาสร้างกระบวนวิถีการทำเกษตรสมัยใหม่ให้อยู่ตัวจึงจะปล่อยให้เดินเองต่อไป

 

2.        ลัทธิเฉลี่ยสมบูรณ์และวีระชนเอกชน: นักวิชาการเกษตรจะออกไปเยี่ยมแปลงทุกวันพร้อมกับนักวิชาการเกษตรสนาม และยังต้องระดมพนักงานขับรถมาช่วยกันทำแปลงสาธิตพืชใหม่ๆอีก เช่นปีนี้ทำถั่วเหลือง และถั่วลิสงพันธุ์ มข. ที่อาจารย์ปุ้มคนงาม RDI ช่วยเป็นภาระจัดซื้อส่งไปให้..ขอขอบคุณนะครับ..เราเลยกล่าวกับพนักงานขับรถว่า ต้องทำแปลงสาธิตให้งามเหมือนคนช่วยจัดซื้อมาให้นะ..  อย่างที่กล่าวแล้วว่าการเยี่ยมแปลงก็จะช่วยแนะนำวิธีการปลูกดูแลพืชในระยะต่างๆให้แก่เกษตรกร แม้ว่านักวิชาการเกษตรจะเดินเยี่ยมทั้งวันร่วมกับเจ้าหน้าที่สนามก็ไม่ทั่วถึง เกษตรกรรายหนึ่งมาต่อว่า ไม่ไปเยี่ยมผมเลย..ผมไม่รู้วิธีการดูแลพืช

 

ความจริงแปลงของเกษตรกรรายนี้อยู่ติดกับรายอื่นๆเพียงแต่คลองน้ำขั้นเท่านั้น เขาไม่เรียนรู้จากกันและกันเลย..และอย่างไรก็เรียกร้องให้ไปเยี่ยมแปลงเหมือนๆกับเยี่ยมแปลงคนอื่นๆ เราก็ไปเยี่ยมในเวลาถัดมา แต่...เรามองว่า Technology transfer ในระดับ Horizontal มันไม่มี คือระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองเรียนรู้กันเองมีน้อย แต่เรียกร้องให้ไปเยี่ยมโดยตรง นี่คือลักษณะเฉลี่ยสมบูรณ์ และ การที่เกษตรกรข้างเคียงไม่แนะนำต่อ ก็คือลักษณะวีระชนเอกชน..

คำสำคัญ (Tags): #พืชเศรษฐกิจ
หมายเลขบันทึก: 79090เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

 Visiting and Coaching (V&C)

ขยายความให้เหว่าหน่อยค่ะ แบบว่าอยากรู้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

น้องกาเหว่า

  • เป็นหลักการเยี่ยมแปลงพืชของเจ้าหน้าที่เกษตรต่อเกษตรกรในพื้นที่โครงการเพื่อสำรวจความสมบูรณ์ของพืชที่เกษตรกรปลูกว่ามีสิ่งบกหร่องอย่างไรบ้าง หากมี หากพบก็สืบสาวราวเรื่องว่ามีสาเหตุจากอะไร ฯลฯ แล้วทำการแนะนำทางออก หรือวิธีแก้ไขให้เขา
  • เนื่องจากเกษตรกรที่เราส่งเสริมเป็นการเกษตรสมัยใหม่ พืชชนิดใหม่ หรือพูดอีกทีคือเป็นพืชต่างถิ่น  ดังนั้นโรคแมลงจึงมีมาก เราจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเกษตรกรเป็นชาวบ้านที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจดีพอสำหรับพืชสมัยใหม่ จึงต้องอาศัยนักวิชาการเกษตรช่วย ความจริงบริษัทที่ม่ส่งเสริมพืชชนิดนั้นๆก็มีหน่วยนักวิชาการทำหน้าที่นี้ด้วย แต่ไม่คล่องตัวที่จะทำหน้าที่นั้น บางทีไม่ทันเวลากับโรคแมลงที่ระบาด เราจึงต้องทำหน้าที่หลักนี้ครับ
  • พี่ได้ทำคู่มือไว้สำหรับเรื่องนี้ เป็นเล่มเลย จะส่งผ่านเด่นไปให้นะครับ
  • เรื่องนี้ พี่ดัดแปลงมาจากแนวคิดของกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เขามีระบบ T&V system คือ Training and Visiting system ที่เกษตรตำบลจะทำหน้าที่นี้กับเกษตรกรในพื้นที่ที่เขารับผิดชอบ
  • ขอบคุณที่สอบถาม และยินดีที่แลกเปลี่ยนครับ

เรียน พี่บู๊ด (พี่ช้างบางทราย)

(ขออนุญาต ยืมคำพูดพี่หนิงมาใช้ แม้ว่าจะไมได้ป็นน้องช้างก็ตาม แบบว่า ชอบค่ะ)

ขอบพระคุณอย่างยิ่งยวด เหว่าจะถือว่าเป็นความกรุณาอันสูงสุด และจากนี้ไป จะขอความอนุเคราะห์เรียนปรึกษาเรื่อยๆ  นะคะ หากเป็นไปได้ โอกาสเหมาะๆ เหว่าจะเข้าไปเรียนรู้วิธีการทำงานที่เป็นการสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนนะคะ

เรียกอะไรได้ ครับ 

ด้วยความยินดียิ่งครับ.. กาเหว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท