Observing the observed, the observer, and the observation


ถ้าเราไม่ด่วนฟันธง แล้วอะไรก็เกิดขึ้น? ดีขึ้นอย่างไร?

ในการชะลอการ "ตัดสิน" เราใช้วิธี "ลดความเร็ว" ในการเร่งแปลผลลง และ สังเกต

เดี๋ยวนี้เป็นยุคอาหารจานด่วน fast food, drive-in, frozen food, microwave เราต้อง "เร่งตัดสินใจ" เพราะเวลาเป็นของหายาก เป็นยุคแห่งการ แข่งขัน แม้แต่ในองค์กร non-profit เวลาพูดถึงการบริหารองค์กร ก็ยังต้องมีคำ แข่งขัน มีคำ competition มี marketing

ฟันธง เราได้ยินคำนี้เป็นของดี ดูมั่นใจ หนักแน่น ที่มาของ "ฟันธง" ก็มาจากการแข่งขันประเภทลู่ เช่น รถแข่ง ม้าแข่ง หมาแข่ง ตรงเส้นชัยจะมีคนโบกธง ใช้แค่ parameter เดียวก็คือ ใครผ่านก่อนก็ "ฟันธง" ตัดสินให้ชนะ สำนวนฟันธงก็เป็นการตัดสิน final ด้วยความเด็ดขาด ใช้ข้อมูลเท่าที่มี แต่ในโลกนี้มีเหตุการณ์น้อยอย่างตามธรรมชาติที่เราสามารถ / ควร ตัดสินแบบฟันธง เพราะความเป็น interconnectedness และความเป็น multidimensional relationship ถ้าเราตัดสินเรื่องราวเพียงลำพังแค่สองสาม parameters เรามักจะพลาดปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องไป และบางครั้งทำให้เกิดการเข้าใจเรื่องราวผิดอย่างมากมาย

ถ้าเราไม่ด่วนฟันธง แล้วอะไรก็เกิดขึ้น? ดีขึ้นอย่างไร?

ถ้าเรามี "เวลาเพิ่มขึ้น" เราสามารถใช้เวลา "สังเกต" อะไรๆได้มากขึ้น ถามต่อว่าสังเกตอะไรล่ะ?

  • สังเกตเรื่องราว
  • สังเกตตัวเราเองขณะที่สนใจเรื่องราว
  • สังเกตความเป็นไปของการสังเกตนั้นๆ

observing the observed, the observer, and the observation

กฤษณมูรติใช้คำ "to inquire" ผมม่แน่ใจว่าเหมือนวิปัสสนาหรือไม่ แต่การหน่วง ชะลอ (อ.วิศิษฐ์ วังวิญญู ใช้คำว่า "ห้อยแขวน", David Bohm used "suspension") แค่นั้นก็ทำให้ความชัดเจนของเรื่องราวดีขึ้น และได้เห็นสิ่งที่เป็นไปจริงๆอย่างมันเป็น

บ่อยครั้งที่เรา "ตัดสิน" แบบ reaction แบบลูกปิงปองเด้ง มายังไงก็สะท้อนกระเด้งกลับไป แล้วแต่สภาพ ผิว (surface) ของเราขณะนั้น คนเรานี้มีสภาพผิวเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แม้ว่าความรู้ประสบการณ์ภายในจะ stable กว่าก็ตาม แต่สภาพผิดนั้น เหมือนผิวน้ำ คือมีการระเหย มีการหลุดของ molecule ชั้นนอกไปตลอดเวลา ลูกปิงปองที่เด้งบนผิวแบบนี้ บางทีก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพที่แท้จริงภายในของเราเอง และไม่ได้สะท้อน interaction อย่างที่ควรจะเป็นระหว่างลูกปิงปองกับตัวเราจริงๆด้วย

ปฏิกิริยาหลังการห้อยแขวน หรือการหน่วงจะไม่เหมือนการสะท้อนลูกปิงปอง แต่สิ่งที่เข้ามาเมื่อมีเวลาเพิ่ม และไม่ได้ถูกสะท้องเด้งกลับไปทันทีทันใด จะจมลงเข้ามาใน "เนื้อแท้" ของตัวเรา คลุกคลีกับความทรงจำชั้นลึก บทเรียนต่างๆในอดีต หลักการต่างๆที่เคยพยายามตั้งไว้ แล้วจึงค่อยเกิดปฏิกิริยา เป็นปฏกิริยาระหว่างลูกปิงปองจริงๆ กับตัวเราจริงๆ ไม่ใช่ตัวเราตื้นๆแค่พื้นผิวเท่านั้น (analogy ชุดนี้ เกิดขึ้นและแนะนำตอนที่ผมไปเข้า workshop กับพี่วิธาน ฐานะวุฒิ และอ.ณัฐฬส วังวิญญู เรื่องสุนทรียสนทนา ผมนำมา elaborate เป็นภาษาของผมเอง เพื่อเพิ่มความลึกของตนเองในเรื่องนี้)

นอกเหนือจากที่เราได้สังเกตเรื่องราว (observe the observed) เรายังได้สังเกต "ตัวเราเอง" ขณะที่เราเจอเรื่องราวนั้นๆ ซึ่งก็มีประโยชน์มาก เช่น ปกติพอเราได้ยิน ได้เห็นเรื่องนี้แล้ว เราโกรธ เราดีใจ เราเขิน เราเศร้าใจ ฯลฯ ปกติเราอารมณ์เหล่านี้เกิดด้วยความเร็ว เราไม่ได้รู้ตัวซะด้วยซ้ำ มิหนำบางทีเราก็ "จม" ต่อลึกลงไปในอารมณ์เหล่านี้เป็นเวลานาน แต่ถ้าเรา มีเวลา และสังเกตตัวเราที่เผชิญเรื่อง (observing the observer) เราก้ได้เข้าใจ ได้รู้เห็นตัวเราทีมีปฏิกิริยากับเรื่องราวนั้นๆ ตรงนี้คือ สติ นั่นเอง อ้อ เรากำลังโกรธ ดีใจ เขิน เศร้าใจ กับเรื่องนี้ๆ

เมื่อมองเห็น และต่อมา รู้เท่าทันอารมณ์ ความคิด เราจะได้สังเกตอารมณ์ความคิดเหล่านี้ต่อไป ว่าเกิดอะไรขึ้น เราโกรธ เราหน้าแดง ใจเต้นเร็ว มือสั่น เราดีใจ หัวใจพองโต เราเขิน เราเศร้าใจ มองเห็นและเท่าทันต่อไปถึงสิ่งที่จะเกิดตามมา มองเห็นและเท่าทันต่อไปถึงวิธีการป้องกันไม่ให้มันเกิด นี้คือ observing the observation

มีกี่ครั้งที่เราอ่านข่าวหนังสือพิมพ์เรื่องคนฆ่าตัวตาย แล้วพออ่านในรายละเอียด เราคิดว่ามันน่าจะมีทางออกตั้งเยอะแยะ นั่นเป็นเพราะเรา under-estimate อำนาจของอารมณ์ที่ท่วมท้น ประเมินต่ำไปของการสะท้อนลูกปิงปองจากพื้นผิวตัวตนขณะที่มี turbulence สิ่งที่สะท้อนออกมา มันไม่ make sense ไม่สมเหตุสมผล เพราะคลื่นบนผิวเป็นตัวสะท้อนเรื่องราว เป็นการสะท้อนแบบฟันธง เป็นการสะท้อนแบบจานด่วน เป็นการสะท้อนที่ตื้นเขิน โง่เขลา เหมือนเด็กทารกที่ยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มี wisdom ไม่มีความทรงจำใดๆมาช่วยเหลือ เป็นแค่ปฏิกิริยาลบ ผนวกกับบุคลิกเดิมที่เป็นตัวสร้างพื้นผิวแบบนั้นๆ เท่านั้นเอง

ดังนั้นการมองเรื่องในฐานะบุคคลที่สาม จึงเสมือนการมองเหตุการณ์ที่มีเวลาหน่วง มีเวลาห้อยแขวน เราจึงสามารถมองเห็นทางออกอื่นๆที่เป็นไปได้ แต่คนที่อยู่ในเหตุการณ์ ไม่ได้หน่วง ไม่ได้ห้อยแขวน ก็คงจะยากที่จะทำอย่างเดียวกัน

คำสำคัญ (Tags): #observing#observed#observer#observation
หมายเลขบันทึก: 79084เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเคยถามพี่วิธาน และอาจารย์ฌานเดช ตอนไปอบรมที่เชียงรายว่า

ถ้าระหว่างฟังคนอื่นพูด แล้วเกิดคำถาม สงสัยขึ้น เราจะทำอย่างไร

ได้รับคำแนะนำให้..หน่วง ไว้เช่นกันครับ

แล้วผมก็ได้ข้อมูลอื่นที่มากเกินกว่าที่ผมเคยตั้งคำถามเสียอีก 

ปัญหาคือ เวลาที่เราอยู่ใน excited state เรามีแนวโน้มที่จะเกิดปฏิกิริยา ตอบโต้ ในพลัน มากกว่า equilibrium state

ผมพยายามดึงเรื่องนี้มาผสมและปรียบเทียบกับ Nuclear Physic ตามประสารังสีแพทย์นะครับ

excited state คือภาวะที่อิเล็กตรอนในวงโคจรด้านในได้รับพลังงาน แล้วกระเด็นออกไปอยู่วงนอก ตอนนั้นอะตอมไม่ค่อยเสถียร ชอบเกิดปฏิกิริยา แต่ก็ยังน้อยกว่า พวกที่ อิเล็กตรอนถูกถีบออกไปนอกอะตอมจนตัวมันเป็นประจุแล้ว หรือ free radicals ซึ่งคือตัวป่วนตัวจริง ที่สาวๆเกลียดกันนัก เหมือนสติแตก 

 

Excited state หรือ (highly) excitable state เป็นสิ่งที่ถูกควบคุมได้ด้วย สติ นั่นเอง

ที่จริง suspension ของ David Bohm มองๆแล้วก็ไม่ได้ต่างจากทางพุทธที่แนะนำเรื่อง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาวายามะ เลย เพียงแต่ของ David Bohm อาจจะเกิดตอนทำ dialogue แต่ของพุทธเราให้ทำตลอดเวลา (จริงๆ David Bohm ก็บอกว่า dialogue ทำได้แม้แต่ตอนอยู่คนเดียว ถ้าเป็นเช่นนั้นยิ่งใกล้เคียงกันมากขึ้น)

การ "หน่วง" ทำให้เกิด "มีเวลา" ที่สิ่งเร้าจมลงไปชั้นลึกกว่านั้น แต่สติจะควบคุม excited particles หรือ excitable state ให้มีน้อยที่สุด หรือแม้กระทั้งไม่มีเลย ในความรู้สึกของคนธรรมดาๆ ผมว่าเอา suspension มาใช้จะมีโอกาสง่ายกว่าการพยายามมีสติตลอดเวลา ทุกขณะจิต แต่มันอาจจะเป็นแค่ระยะ "ต่อเนื่อง" ของการฝึกเท่านั้นเอง ไม่ใช่เป็นคนละเรื่อง

แต่ผมไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับพี่เต็ม ว่ายุคสมัยปัจจุบันระหว่างคนใจเย็นๆ ไม่วีดว้ายกระตู้วู้ กับคนที่แสดงออกทางอารมณ์เปิดเผยมากๆในที่สาธารณะ อย่างไหนจะ popular มากกว่ากัน ถ้าเอายอดคนชมโปรแกรมทีวีมาตัดสิน ไม่ว่าจะเป็น AF ของไทย หรือ American Idol ของอเมริกัน เดี๋ยวนี้รู้สึกอะไรข้างใน (หรือไม่ก็ตาม) ให้แสดงออกมาให้สุดๆข้างนอกด้วย จึงจะ cool เป็น antithesis ของสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่พอดีเลย

อ่านแล้ว คิดตาม ระลึกอะไรได้หลายๆอย่างค่ะ ถ้ามีเวลาจะเขียนเป็นบันทึกต่อยอด ขอบคุณนะคะ คุณPhoenix

สวัสดีครับอาจารย์

เข้ามาทบทวนครับ

วันนั้นอาจารย์สอนเรื่องนี้เหมือนกันครับ

บางเรื่องที่อยู่ลึกๆ  หรือเรื่องที่เราจี๊ด

มันเหมือนจะยากมากนะครับที่จะหน่วงเอาไว้

แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ คงจะดีขึ้นนะครับอาจารย์ ...

หนูพบว่า บางทีหน่วงมากไป ก็ไม่อยู่บนมรรค เพราะว่าหน่วงไม่จริง หน่วงอยู่ในความคิด ไม่ได้หน่วงอยู่ในจิตใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท