QA กับงานประจำ : เรื่องเล่าจาก Blog ใช้เป็นหลักฐาน QA ได้หรือเปล่า


  วันนี้ (16 ก.พ. 50) ผมได้นัดหมายให้กรรมการ QA ของสำนักงานส่งชื่อรายการหลักฐานอ้างอิงสำหรับการประกันคุณภาพ รวมทั้งตัวผมด้วยให้กับฝ่ายเลขานุการ คือ คุณชรินทร์ และคุณสุพรรษา (เลขานุการ QA รุ่นใหม่ของสำนักงาน) เป็นการขอเฉพาะชื่อรายการก่อน เพราะหลักฐานบางอย่างก็ยังไม่เรียบร้อย

   การประเมินการประกันคุณภาพในปีนี้ผมตั้งใจว่า จะไม่ให้ฝ่ายเลขานุการต้องยุ่งในการจัดเอกสารอ้างอิง ซึ่งมีหลายหน่วยงานเป็น e-sar ไปหมดแล้ว ปีนี้ผมก็ตั้งใจอยากจะใช้ IT กะเค้าบ้าง เตรียมทำ SAR ON BLOG หมายถึงหลักฐานอ้างอิงทุกอย่างอยู่บน BLOG ทั้งหมด เชื่อมั่นในเทคโนโลยี และคาดหวังว่าเมื่อถึงเวลาประเมินจะไม่มีอะไรผิดพลาดครับ

  ผมลองมาคิดดูว่า มีหลายเรื่องบน Blog ที่ผมได้บันทึกเรื่องราวจากงานประจำ เล่าจากเหตุการณ์จริง บางบันทึกก็มีภาพประกอบด้วย บันทึกเหล่านี้น่าจะเป็นหลักฐานอ้างอิงใน QA ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาหลักฐานที่เป็นเอกสารครับ ที่สำคัญการค้นหาก็ง่าย โดยดูจากป้ายคำหลัก

   และเมื่อบันทึกเรื่องราวจาก Blog สามารถเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ โดยไม่ต้องจัดเตรียมเอกสาร จะทำให้ QA เป็นส่วนหนึ่งในงานประจำไปโดยเหมือนกับว่าไม่ถูกประเมิน 

    ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการตรวจประเมิน SAR มีความเห็นอย่างไรครับ ................

    

หมายเลขบันทึก: 79057เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ดิฉันขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการตรวจประเมิน SAR แต่จะขอแชร์ความคิดเห็นค่ะ
  • เห็นด้วยกับคุณบอยค่ะว่า..... "บันทึกเหล่านี้น่าจะเป็นหลักฐานอ้างอิงใน QA ได้โดยไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาหลักฐานที่เป็นเอกสารครับ ที่สำคัญการค้นหาก็ง่าย โดยดูจากป้ายคำหลัก" .... เนื่องจากประสบกับตัวเองเลยค่ะ เวลาหาเอกสารอ้างอิง (ฉบับพิมพ์) มักจะหาไม่ค่อยเจอ จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหน หัวข้ออะไรบ้าง แต่การได้บันทึกไว้ใน blog ทำให้เราค้นหาได้สะดวกขึ้น บางครั้งมีภาพประกอบ และมีความคิดเห็นจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ประกอบด้วย ทำให้หลักฐานชิ้นนั้นๆ ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • แอบดีใจเล็กๆ ว่า blog ที่เราได้เคยบันทึกไว้นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการตรวจประเมิน SAR ของสำนักหอสมุด ในปีนี้ได้
  • พี่บอยคะ  .. ตูนเองก็เป็นผู้มีประสบการณ์การเป็นผู้ประเมินน้อยค่ะ
  • แต่เชื่อว่าคำถามนี้ "เรา" หมายถึง  ผู้ประเมินและผู้รับการประเมินน่าจะมี "คำตอบ" อยู่ในใจกันอยู่แล้วจริงมั้ยคะ  :)
  • สำหรับโครงการ <KM Workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ครั้งที่ 2> ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 12 -13 มี.ค. ที่จะถึงนี้เราจะมีการอบรมผู้ประเมินรวมอยู่ในโครงการนี้ด้วยค่ะโดยจะมีทั้งผู้ประเมินและผู้รับการประเมินมา ลปรร. ร่วมกัน
  • เรานำประเด็นนี้เข้าไป ลปรร. เพื่อหาคำตอบให้พี่บอยด้วยอีกทางดีมั้ยคะ
เท่าที่เคยผ่านการรับการประเมินคุณภาพการศึกษา คณะกรรมการมักจะขอดูหลักฐานที่สามารถอ้างอิงโครงการหรือกิจกรรมที่เราปฏิบัติได้ค่ะ

ถึง คุณขวัญตระกูล

  • ขอบคุณ คุณขวัญตระกูลมากครับ ที่ร่วมสนับสนุนการใช้บันทึกจาก Blog เป็นหลักฐานอ้างอิงใน QA
  • การประเมินของสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ รอบนี้อาจารย์วัลุลี จากสำนักหอสมุด เป็นประธานกรรมการตรวจประเมิน ยังไม่ทราบว่าท่านจะเห็นด้วยหรือเปล่าครับ

 

 

ถึง  ตูน

  • ขอบคุณ ตูนมากครับที่เสนอให้นำประเด็นจากบันทึกนี้ไป ลปรร. กัน
  • ผมมองว่าถ้าเรื่องเล่าจาก Blog ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงใน QA ได้ จะช่วยทำให้ Blog ของ NUKM คึกคัก และมีการลปรร. กันเพิ่มขึ้น

ถึง คุณใบบุญ

  • ขอบคุณคุณใบบุญมากครับ ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
  • ผมมองว่าการประเมินผ่านมาหลายครั้งแล้ว หลักฐานการประเมินที่สำคัญ คือ เรื่องราวจากการปฏิบัติงานประจำ ที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานที่มีคุณภาพครับ ซึ่งการบันทึกข้อมูลลงบน Blog จากงานประจำน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการอ้างอิงสำหรับการประกันคุณภาพได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท