เขียนว่า มา- มลา- มะระ-หรือ มรา-?


                   มีผู้ถามมาว่า  ตกลงจะเอาอย่างไรกันแน่  ที่เขียนภาษาไทย  เกี่ยวกับชนเผ่าตองเหลือง

                  ขอเรียนว่า จากที่ดูในรายการทะเบียนราษฏร์ เขียนว่า มลาบรี ครับผม  ส่วนที่ผมใช้อยู่เขียนจากเสียงเรียก  เสียงพูด

                  ผมเรียนว่า ผมไม่ใช่นักภาษา เป็นเพียงผู้ได้มาร่วมเรียนรู้กับภาคีจิตอาสา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีความสนใจด้านเนื้อหา

                  อย่างไรก็ดี  ยังรอความคิดเห็นดี ๆ จากทุกท่าน  (  มีพี่น้องไม่ต้องยังเรียกพี่น้องตองเหลืองว่า  ผีตองเหลืองอยู่เลย ) วิงวอนช่วยทำความเข้าใจว่า เขาเป็นเหมือนกันเราและไม่ต้องการให้เรียกว่า ผี นะครับ  ส่วนมลาบรี หรือ มราบรี แปลว่า คนป่า โปรดเข้าใจ

หมายเลขบันทึก: 78910เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 06:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เกี่ยวกับชื่อเรียกขานผู้คน ผมคิดว่า เราต่างรู้อยู่แก่ใจกันแล้วว่า ตองเหลืองนั้นสืบรากมาจากคำว่า "คุณเองก็รู้ว่าอะไร"  หากเรายังเห็นถึงความเป็นคนของผู้คน ชื่อเรียกนั้น ก็คงหมายถึงชื่อเรียกที่มีนัยยะแห่งการให้เกียรติกันและกัน และหากกลับไปถามผู้คนกลุ่มเล็กๆ ณ บ้านห้วยหยวก เขาเลือกแล้วว่า อยากให้เรียกว่า มลาบรีมากกว่า ตองเหลือง ครับ คำตอบนี้ยังยืนยันอยู่จนถึง วันที่ 18 กพ. 50 ตามที่ผมได้กลับไปเยี่ยมพื้นที่แห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง

 

และนั่นทำให้ ผมเองยังคงมีข้อกังขาต่อชื่อของภาคีว่า คนที่เรากำลังให้ความช่วยเหลือนั้น เราเองกำลังผลิตซ้ำความทรงจำที่ปนด้วยอคติเชิงชาติพันธ์โดยที่เราเองอาจไม่ได้ตั้งใจอยู่หรือเปล่า 

การได้สื่อสาร  ทำให้เรารับทราบความจริง และผมเองพบว่า ที่ผ่านมา มีความจริงมากมาย  จนผมเองไม่อยากสื่อ

เพราะผมตระหนักเสมอว่า  มิตรภาพ  ผมพบข้าวสารที่ผู้รับ ๆ มา เป็นข้าวสารไม่มียาง  ผมยังไม่กล้าสื่อ เพราะ อาจเป็นการทำลายผู้ให้

ผู้ให้ที่ไม่เข้าใจ อาจสาบส่ง ทั้ง ๆ ที่เขาไม่รู้เรื่องเลยด้วยซ้ำว่า ข้าวไม่มียางคืออะไร  และข้าวนั้นผู้รับเขาไม่ได้ใช้อะไร  แบบที่กล่าวมาเป็นประเด็นที่เรียกว่าสะใจได้

คำว่านักวิชาการ หรือนักทำงานอะไรต่าง ๆ หรือเที่ยวพลอยไปด่าทอ หรือตำหนิคนโน้นคนนี้นั้น ผมถือว่าธรรมดาของคนมีปากเสียง และมีสมอง  ผมอยากจะบอกว่าเป็นธรรมดาของการสื่อสาร

ผู้คนหลายคนที่ไปเยือนพี่น้องตองเหลือง ไม่ว่าจะไปในนามภาคีหรือ หรือฮักเมืองน่านที่คุณศักรินทร์ กำลังทำอยู่ก็จะถูกตั้งแง่ได้เหมือนกันหมด

เรื่องชาติพันธุ์ชนเผ่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อนเราเข้าใจ แต่คนทราบหรือไม่ว่า จริตคนนั้นไม่เหมือนกัน  หากไม่มีความหนักแน่นและอดทน จะไม่มีใครทำกัน  เราพอจะทราบว่า มีการเอาเปรียบกันอย่างไร ทุกอย่างอยู่ที่จังหวะเวลา 

หากคนดีและหวังดี ๆ แต่อยู่เฉย ๆ แล้วคอยจ้องว่าใครพลาดหรือทำไม่ถูกใจ เป็นอันต้องถูกตำหนิ ก็ปล่อยให้พี่น้องตองเหลืองถูกทำลาย   ทุกวันนี้  ไม่อยากจะบอกว่า  น้ำมันรถเราก็เติมกันเอง ข้าวเราก็หากินกันเอง  ทุกสิ่งทุกอย่าง  ทำเพราะเห็นว่าควรทำ ( เท่าที่ผมเห็นหลายคน หลายหน่วยงาน )

คุณสามารถคิดว่าภาคีเป็นอย่างไรก็ได้  การอยู่แต่วงนอกอย่างเดียวโดยมีจิตนาการ  พี่น้องตองเหลืองก็คงจะถูกกระทำอยู่เช่นนี้ เพราะคงรู้จริง มีการศึกษา ไม่ยอมลงมือทำงานกันอย่างจริงจังครับ

ผมเพียงเปิดประเด็นว่า ภาษาที่เราเรียกพี่น้องตองเหลืองนั้น  ภาษาราชการได้บอกว่า  มลาบรี ไปแล้วจึงไม่ควรสงสัย  ส่วนที่ผมหรือใครอื่นได้เขียนไปนั้น ก็ต้องแก้ไขกันในโอกาสต่อไป

คงที่หวังดีทั้งหลายทราบและคิดแก้ไขอย่างไรในเมื่อมีวิทยุ 14 เครื่อง วีซีดีอีก 1 เครื่องไปอยู่กับพี่น้องตองเหลืองแล้ว  คิดถึงสิทธิเสรีภาพแล้ว คุณมีสิทธิอะไรไปห้าม  หรือมีข้อเสนอแนะในทางสร้างสรรค์ หรือให้กำลังใจคนทำงานเป็นหรือไม่ อย่างไร @

ชื่อนั้นสำคัญไฉน ?

ความสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะช่วยเหลือเขาเหล่านั้นอย่างไร ให้คงอยู่ด้วยความสุข ใช้ชีวิตอย่างที่เขาอยากเป็น และไม่มีใครไปละเมิดในสิทธิของเขานี่ต่างหากที่น่าคิดและละเอียดอ่นมากกว่า

 

(ความคิดเห็นส่วนตัวครับ) 

คำตอบก่อนหน้านี้ของผม เป็นการแสดงความจริงใจที่มีมาตั้งแต่ต้นนับจากได้รู้จักกับพี่ธนูและใครอีกหลายคน ผมไม่ได้กำลังชวนใครและใครมาทะเลาะกัน เพราะไม่ได้ช่วยอะไรเลยภายใต้บรรยากาศแห่งการทำงาน แต่วันนี้หากเราถามหา ชื่อเรียก ผมก็สื่อสารด้วยคำที่มาจากปากของผู้คนที่ผมรู้จักเขาว่าต้องการให้เรียกว่าอย่างไร และนั่นคือ ส่งที่พี่ธนูและใครอีกหลายคนจะเห็นถึงจุดยืนเล็กๆ อันนี้ของผมเสมอมา ส่วนการทำงานกับชุมชนก็ต้องทำกันต่อไปครับ

รัก

ศักรินทร์ ณ น่าน

              เคารพความคิดและข้อเสมอของคุณศักรินทร์ และคนหลังเขา ( ขออภัยแป้นพิมพ์ไม่มี จึงต้องใช้ ค.คน ) ซึ่งคุณอาจชอบหรือไม่ชอบ  เปิ่งใจ๋ หรือไม่ก็ขออภัย

              เรียนด้วยความจริงใจอีกเช่นกันว่า ที่ชุมชนเผ่าตองเหลืองหรือที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ที่เข้าใจว่า ตนเองเจริญก้าว  ก็คิดว่า เขาด้อยกว่าที่อาภรณ์  โดยดูจากสิ่งภายนอก   ยอมรับชื่อเรียกที่ว่าก็สำคัญ 

              คุณรู้หรือไม่  ลูกผู้หลักผู้ใหญ่ ( แต่เขาเป็นเด็ก ) ผมได้ยินกับหู วันที่ 15 ก.พ.2550  พูดกับที่ชุมชน มีคำว่า ผี แบบนี้ผมสะดุ้ง  แต่เขาเด็กเกินที่จะสอนขณะนี้ คุณพ่อของเด็กคนนี้อยู่ระดับต้น ๆ แวดวงสาธารสุข ก็เพราะเขาเป็นเด็กอยู่ จึงถือว่า ไร้เดียงสา

              เกี่ยวกับกำหนดชื่อเรียก หรือ ความพึ่งพอใจ เราขอรับเป็นการบ้าน  ( ก็คิดอยู่ ขนาดแม้ว พี่น้องม้ง เคยได้ยิน ทำไปทำมากลายเป็น ฝายแม้ว ๆ ไปได้ )ข้อเสนอน่าสนใจ รับทราบความห่วงในไว้เพื่อ ขยับรับฟัง เพื่อให้เป็นมรรคเป็นผลดีในทางที่เหมาะสมตามควรต่อไป เรียนด้วยความเคารพว่า ทุกความคิด ทุกการกระทำดี ร่วมด้วยช่วยกันคนละไม่คนละมือนะครับ

                                         เคารพความคิดของทุกท่านครับ

                                                              ธนู

 

ขออภัยครับหากความเห็นของผมอาจจะแรงไปสักหน่อย แต่มันก็มาจากใจ ในถานะที่ผมไม่รู้จักใคร ผมขอแสดงความเป็นตัวตน และต้องขออภัยหาความเห็นของผมอาจทำให้หลายท่านรู้สึกไม่ดี ขอน้อมรับ

 คิดว่าเวทีแห่งความรู้ และการพัฒนาคงไม่มีอะไรมากั้น ทั้งอายุ ฐานะ ฐานันดร

"ุชนเผ่าตองเหลืองหรือที่ไหน ๆ ในโลก ผู้ที่เข้าใจว่า ตนเองเจริญก้าว  ก็คิดว่า เขาด้อยกว่าที่อาภรณ์  โดยดูจากสิ่งภายนอก   ยอมรับชื่อเรียกที่ว่าก็สำคัญ " 

ผู้เจริญแล้วมักมองผู้ด้อยกว่า ว่าไม่เสมอตนครับ พี่ธนูผมยังจำคำที่พี่บอกน้องๆที่บ้านเปรมสุขได้่ ขณะที่น้องเก็บผักให้ "ใส่ใจลงไปด้วย"  น่าคิดสำหรับผมกับการทำงาน ใส่ใจลงไปด้วยเวลาจะทำอะไร

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท