ความรู้กับความจำ(3)


รู้ให้มากไว้ หรือรู้แค่พอเพียง

ความรู้ต่างๆ อยู่ในส่วนความจำของแต่ละคน  และก็มีอยู่ในคลังที่บันทึกไว้เป็นข้อมูลและเอกสาร มากมาย สุดแต่ว่า เราจะไปค้นหาและพบเจอเข้าใจได้เมื่อใด

หากเรามีความตั้งใจ และเปิดใจ หาโอกาส ย่อมมีทางได้รับความรู้ใหม่ๆเหล่านั้น แต่การหาหรือรับมาแต่ฝ่ายเดียว ก็เหมือนการบริโภคหรือการศึกษา หากไม่รู้จักการให้หรือถ่ายทอดออก ย่อมมีวันเต็มได้

เปรียบว่า สมองเรามีเนื้อที่ส่วนความจำมากมายไม่จำกัด สักวัน หากมีมากเกินไป เพราะการไม่เลือกจำเฉพาะส่วนจำเป็น จะเกิดผลอย่างไร ผู้ที่จำเก่งอาจต้องคอยทบทวนความจำเก่าและใช้เวลาไปมากกับการทบทวนสิ่งต่างๆ แต่ผู้ที่ให้เวลากับการทบทวนน้อยหรือแข่งกับเวลาเช่นนักบริหารก็จะด้อยในเรื่องความจำโดยเฉพาะในรายละเอียดไป เพราะไม่เหลือเวลาให้กับการทบทวนสิ่งเหล่านั้นอีก

หมายเลขบันทึก: 78861เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2007 19:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ
วราภรณ์ วานิชสุขสมบัติ

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง และตรงกับวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสมอง เพิ่งมีการพูดกันว่าแม้จะไม่มีการสร้างเซลล์สมองขึ้นใหม่ แต่การคิดการเรียนรู้ตลอดเวลาทำให้เกิดการเชื่อมต่อเน็ทเวิร์คของเซลล์สมองทำให้สมองไม่ฝ่อลงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท