พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมต่อกรณีการระบาดไข้หวัดนก จังหวัดพิจิตร


อินใจ วงศ์รัตนเสถียร
ศูนย์อนามัยที่ 10

- เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความรู้และการปฏิบัติตนของประชาชนกับสภาพแวดล้อมที่มีการระบาดของโรค

- ผลการวิจัย พฤติกรรมของประชาชนอยู่ในระดับปานกลาง ที่จะปฏิบัติตนให้ถูกต้องทั้งการกำจัดซากสัตว์ปีกที่ตาย การทำลายซากสัตว์ มีการสัมผัสกับสัตว์ปีกตายด้วยมือเปล่า การล้างมือไม่ถูกต้อง ขาดความตระหนักในระยะยาว เนื่องจากขณะที่มีการระบาด ประชาชนมีความคุ้นเคยกับการระบาดอยู่แล้ว ประชาชนในเมืองกับชนบท มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ความตระหนัก การรับประทานอาหาร การสัมผัส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p< 0.01 มีการนำสัตว์ตายมาปรุงอาหารและจำหน่ายโดยไม่มีการป้องกันตนเอง ด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร พบความรู้ด้านการป้องกันรักษาอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์ปีก และการอยู่อาศัย การบริโภคอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับการป้องกันการติดเชื้อที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ประชาชนร้อยละ 89 ทราบข่าวการระบาดของโรคและกลัวการระบาดแต่ยังสับสน


จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 78432เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท