ผลของโปรแกรมการช่วยเหลือครอบครัวระยะวิกฤติต่อการปรับตัวของสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วย


อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง
กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช

วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการช่วยเหลือครอบครัวระยะวิกฤติต่อการปรับตัวของ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก

ผลการศึกษา
- สมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง มีการปรับตัวภายหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยในกลุ่มทด ลองมีการปรับตัวภายหลังการทดลองดีกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

สรุป
- โปรแกรมการช่วยเหลือครอบครัวระยะวิกฤติเป็นการให้การพยาบาลที่มีผลต่อระดับ ความเครียดของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ทำให้สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยมีความไว้วางใจและกล้าที่จะสอบถามข้อมูลและขอ คำแนะนำจากพยาบาล และการอธิบายให้ครอบครัวเข้าใจถึงเครื่องมือต่างๆที่ใช้ในการรักษา ชี้แจงให้ทราบเกี่ยวกับอาการ การรักษาพยากรณ์โรคของผู้ป่วย บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยได้อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย การให้เบอร์โทรศัพท์สอบถามข้อมูลขณะไม่ได้มาเยี่ยมผู้ป่วย การให้สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายความเครียด ที่เกิดขึ้น และสามารถปรับตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ และสามารถเป็นแหล่งสนับสนุนให้ผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากการเจ็บป่วยได้เร็วยิ่งขึ้น



จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร

หมายเลขบันทึก: 78430เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท