จับภาพกศน.คลองสาน


จัดการความรู้

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทีมPC สคส. ได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์กิจกรรมการจัดการความรู้ของกศน.กทม.เขตคลองสาน โดยมี ผอ.อรสา โพธิ์ทอง ผอ.กศน.เขตคลองสานเป็นผู้ให้ความรู้กับเรา

            ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตคลองสาน นำการจัดการความรู้ไปใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลไฝ่เรียนและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งรูปแบบการจัดการความรู้ลงไปใช้ในงาน 3 ส่วนด้วยกันคือ

                1.การจัดการความรู้ในกลุ่มบุคลากร               

               2.การจัดการความรู้เรื่องการเรียนการสอน               

               3.การจัดการความรู้ในกลุ่มชุมชน

การจัดการความรู้ในกลุ่มชุมชน  

                ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนเขตคลองสาน มีนางอรสา โพธิ์ทอง เป็นผู้อำนวยการ เริ่มรู้จักและนำการจัดการความรู้มาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 หลังจากที่เข้าร่วมงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 1 ก็ได้นำหลักการมาสอดแทรกกับงานประจำที่ทำ เนื่องจากเห็นว่า แนวทางการจัดการความรู้จะช่วยทำให้งานที่ทำอยู่บรรลุเป้าหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งน่าจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพไปกับ กศน.ได้ดีกว่าเดิม

                โดยเริ่มนำเข้าไปใช้กับชุมชน 5 ชุมชนก่อน แต่ชุมชนที่เข้มแข็งและประสบความสำเร็จในการนำกระบวนการนี้ไปใช้คือ ชุมชนพิไชญาติ เริ่มด้วยวิธีการจัดเวทีอบรมชาวบ้านให้รู้จักกับ การจัดการความรู้ว่า คืออะไร ทำไมเราถึงต้องจัดการความรู้ แต่นั่นเป็นเพียงการปักธงในชุมชนพร้อมๆ กับการทำงานรูปแบบใหม่ของกศน.กทม.เขตคลองสานเท่านั้น แม้ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้หนังสือจะไม่เข้าใจหลักวิชาการแต่วิธีการใหม่ แนวทางใหม่นี้ ก็ดำเนินไปแบบไม่มีใครรู้ตัว

                ชาวบ้านถูกตั้งคำถามให้ชวนคิด และตื่นตัวโดยกศน.ว่า ชาวบ้านต้องการมีอาชีพอะไร ในชุมชนมีต้นทุนอะไร  และอยากให้กศน.ช่วยอะไร แทนการกำหนดหลักสูตรอาชีพแล้วเกณฑ์ชาวบ้านมาเรียน อีกทั้งยังให้ชาวบ้านร่วมกันกำหนดเป้าหมายของชุมชนร่วมกันว่าถ้าพวกเขาอยากพัฒนาอาชีพ พวกเขาอยากจะพัฒนาเรื่องอะไร มีตลาดรองรับหรือไม่ ถ้าไม่มีจะกำหนดตลาดอย่างไร เป็นหน้าที่ของชุมชนที่จะต้องรวมกันคิด ร่วมกันทำ

                สิ่งที่ชาวบ้านร่วมกันคิดออกมาคือ ชาวบ้านส่วนใหญ่ต่างคนต่างอยู่ เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีคนต่างถิ่นมาอาศัย รับจ้างทำงานจำนวนมาก มีรายได้น้อย ชาวบ้านอยากมีรายได้เพิ่มเติมจากที่เคยรับจ้างร้อยลูกปัดเป็นร้อยคอธรรมดาๆ ซึ่งมีค่าแรงต่ำ 100 เส้น จะได้เงินเพียง 70-80 บาท จึงต้องการพัฒนารูปแบบการร้อยลูกปัดเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการร้อยลูกปัดเป็นทุนเดิม

                จากเวทีกิจกรรมกลุ่มนี้ทำให้  กศน.ได้เรียนรู้จากชุมชนว่าที่ผ่านมาชุมชน ไม่ต้องการพัฒนาอาชีพที่ไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับเขาได้อย่างที่กศน.ส่วนใหญ่มักจะสอนกัน อาทิ การทำโมบายปลาจากขวดน้ำรีไซด์เคิล การทำดอกไม้จากเศษวัสดุ หรือถุงน่อง เพราะแม้ว่าการประดิษฐ์ของเหลือใช้ดังกล่าวจะมีความสวยงามแต่กลับไม่เป็นที่ต้องการของตลาดทำให้ชาวบ้านไม่สามารถยึดเป็นอาชีพได้

                จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้ชุมชนว่ามีฝีมือทางด้านร้อยลูกปัดเป็นต้นทุน ทำให้ผอ.กศน.พยายามค้นหาครูภูมิปัญญาในชุมชน ที่มีฝีมือเก่งด้านร้อยลูกปัด เพื่อต่อยอดความรู้จากภายนอกไปเผยแพร่และพัฒนาภายในชุมชน นั่นก็คือ ป้าอาภรณ์.....ที่นอกจากจะมีฝีมือดีด้านการร้อยลูกปัด ก็ยังสามารถแกะลายลูกปัดจากท้องตลาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นกรอบพระลูกปัด นาฬิกาลูกปัด พวงมาลูกปัด ฯลฯ  มาดัดแปลงรูปแบบให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชนพิไชญาติ

            ผลที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนพิไชญาติ ซึ่งส่วนใหญ่ในอดีตชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการร้อยลูกปัดรับจ้าง100 ละ 70-80 บาท สามารถพัฒนาฝีมือและรูปแบบการร้อยลูกปัดได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสร้อยข้อมือ สายนาฬิกา พวงกุญแจ ต่างหู กรอบพระ สายยางรัดผม และอื่นๆ อีกมากมายที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมหลายเท่าตัว สร้างรายได้ และสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน             นอกจากนี้ป้าอาภรณ์ ยังมีคุณสมบัติเป็น คุณอำนวย ระดับชาวบ้านที่เป็นผู้คอยต่อยอดความรู้ที่เคยได้รับการถ่ายทอดจากกศน.ให้อยู่ยั่งยืนกับชุมชน โดยป้าอาภรณ์ได้รับเชิญจากโรงเรียนวัดพิไชญาติให้เป็นครูภูมิปัญญาสอนนักเรียนร้อยลูกปัดเป็นชิ้นงานต่างๆ ในวิชาการอาชีพทุกสัปดาห์  ป้าอาภรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ตนมีแนวความคิดที่จะ ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัว ชวนชาวบ้านในชุมชน นัดกันทุกวันศุกร์เพื่อร่วมกันเรียนรู้เรื่องการทำอาหาร ที่ครูกศน.ได้เคยมาถ่ายทอดไว้ เช่น ขนมจีบ สลาเปา อาหารคาว หวานต่างๆ เพราะคิดว่า หลายๆ คน อาจจะจำกันได้คนละอย่างบางคนอาจจะจำได้เฉพาะวิธีการผสมแป้ง บางคนอาจจะจำได้แค่เรื่องการผสมไส้ บางคนเก่งเรื่องการจีบขนมจีบ ถ้ามาร่วมมือกันรื้อฟื้นความจำก็จะช่วยให้ชาวบ้านในชุมชนทำอาหารเก่งขึ้น นำไปประกอบเป็นอาชีพได้ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนอีกด้วย            การจัดการความรู้ในกลุ่มชุมชน มีครูกศน. เป็น คุณอำนวย กระตุ้นให้ชาวบ้านซึ่งทำหน้าที่เป็น คุณกิจ รู้จักค้นคว้าหาความต้องการภายในชุมชนว่าต้องการเรียนรู้อาชีพอะไร เพื่อนำไปปฏิบัติและประกอบอาชีพได้จริง อีกทั้งกศน.ยังเป็นคุณอำนวยในการ ช่วยหาวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้กับชุมชน ในขณะเดียวกันในชุมชนก็มี ป้าอาภรณ์ เป็นครูภูมิปัญญา คอยถ่ายทอดงานฝีมืออาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นผู้ต่อยอดความรู้ที่ได้จากภายนอกให้เป็นความรู้ด้านอาชีพของชุมชนพิไชญาติ

 การจัดการความรู้ในกลุ่มบุคคลากรในองค์กร

                หลังจากที่ผอ.อรสา ได้ศึกษากระบวนการการจัดการความรู้ทั้งจากการร่วมงานกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และจากการศึกษาจากเอกสารตำราแล้ว จึงลองนำรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เข้ามาใช้ในหน่วยงาน โดยกำหนดให้ทุกวันจันทร์ และวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ เป็นวันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่ทำในรองสัปดาห์ ....... ซึ่งในวันจันทร์ที่ 12 ทีมPC จะไปติดตามบรรยากาศมาเพิ่มอีกครั้งค่ะ

(ขอหาข้อมูลเพิ่มเติม)

 การจัดการความรู้เรื่องการเรียนการสอน <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                จะอยู่ในรูปของโครงงาน ที่แต่ละกลุ่มจะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในงานซึ่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ทีมPC จะติดตามไปชมผลงานค่ะ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ตอนท้ายPC ได้ Empower ให้กับครูกศน.เกี่ยวกับการใช้blog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมอาชีพ มีครู กบ ที่เป็นคนเรียนรู้ไว มารับความรู้จากพวกเรา ยืนยันว่า กศน. เขตคลองสานแห่งนี้ เป็นผู้ที่ไฝ่รู้ และพร้อมที่จะเปิดรับความรู้ที่เป็นประโยชน์โดยไม่รังเกียจว่า ผู้นั้นจะด้วยกว่าด้วยวัยวุฒิ หรือ คุณวุฒิ ขอชื่นชมค่ะ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 77423เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2007 15:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับที่จับภาพกศน.มาบอกต่อกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท