5 วิธีสังเกต “ยาหมดอายุ”


ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน
เคยสงสัยไหมครับว่า ยาหมดอายุนั้นจะสังเกตได้อย่างไรบ้าง การดูว่ายาหมดอายุหรือไม่นั้น เริ่มแรก คือดูวันหมดอายุของยาที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่ถ้ายานั้นไม่ได้บอกวันหมดอายุไว้ อาจดูจากวันเดือนปีที่ผลิต ซึ่งทั่วๆ ไปเราถือว่าหากเป็นยาน้ำจะเก็บไว้ได้ประมาณ 3 ปีนับจากวันผลิต และหากเป็นยาเม็ดจะเก็บไว้ได้ 5 ปีครับ แต่ถ้าเป็นยาหยอดตา หากเปิดใช้แล้วจะเก็บไว้ได้เพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น นอกจากนี้เรายังมีวิธีสังเกตยาที่เสื่อมคุณภาพ ด้วยวิธีดังต่อไปนี้..ครับ 1. ยาเม็ด สังเกตว่าเม็ดยาจะแตกร่วน สีเปลี่ยนไป มีจุดด่าง ขึ้นรา หรือหากเป็นยาเม็ดเคลือบน้ำตาล (เช่น วิตามินรวม) เม็ดยาอาจเยิ้มเหนียวมีกลิ่นหืนหรือกลิ่นผิดไปจากเดิม 2. ยาแคปซูล สังเกตว่าแคปซูลจะบวม พองออก หรือจับกัน ผงยาในแคปซูลเปลี่ยนสี เช่น ยาเตตราไซคลินที่เสียแล้ว ผงยาจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นอันตรายต่อไตมาก 3. ยาน้ำแขวนตะกอน เช่น ยาลดกรด ยาคาลาไมน์ทาแก้คันหากเสื่อมสภาพตะกอนจะจับกันเป็นก้อน เกาะติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สี หรือรสเปลี่ยนไป 4. ยาน้ำเชื่อม เช่น ยาแก้ไอ หากหมดอายุยาจะมีลักษณะขุ่นมีตะกอนผงตัวยาละลายไปหมด สีเปลี่ยน มีกลิ่นบูดเปรี้ยวหรือรสเปรี้ยว 5. ยาขี้ผึ้งและครีม ถ้าพบว่าเนื้อยาแข็งหรืออ่อนกว่าเดิม เนื้อไม่เรียบ เนื้อยาแห้งแข็ง หรือสีของยาเปลี่ยนไป ทิ้งดีกว่าครับ เมื่อทราบกันอย่างนี้แล้ว ทางที่ดีไม่ควรเสี่ยงใช้ยาหมดอายุนะครับ เพราะอาจเกิดอันตรายกับร่างกายของคุณภายหลังการใช้ยาได้
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 77174เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2007 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ของผม ยาลดกรด จ่ายโดยโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง สลากเดิมของบริษัทผู้ผลิตก็ไม่มี ตอนนี้เอาไปแช่ตู้เย็นไว้ จะทำให้อายุการจัดเก็บนานขึ้นหรือเปล่าครับ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท