พี่สอนน้อง :: ตอน 2 เมื่อน้องทำพลาดหรือทำไม่ได้



 

สิ่งสำคัญเมื่อน้องทำอะไรไม่ถูกต้องหรือทำไม่ได้   พี่ต้องชี้แนะโดยไม่ซ้ำเติม   การดุด่า การหงุดหงิดใส่น้อง จะปิดกั้นการเรียนรู้ของน้อง  บางครั้งอาจจะรุนแรงจนเกิดเป็นบาดแผลในใจ.....  แทนที่จะทำเป็น กลายเป็นกลัว ประหม่าที่จะทำในคราวต่อไป  

ดังนั้น.. พี่ควรให้น้องรู้สึก "สำนึก"    แต่ไม่ใช่รู้สึก "เสียใจ" 

 

 2006年12月月历壁纸-圣诞节月历壁纸 1280*1024 24 - [wallcoo.com]_muffle_1280x1024(4).jpg

การทำกับคน  คนไข้  ยอมรับว่าพี่เครียด  เพราะว่ามันผิดพลาดไม่ได้  พี่ต้องเฝ้าระวังน้องตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดควาผิดพลาด  หากจะพลาดผิดบ้าง ก็ต้องไม่เกิดผลเสียหายกับคนไข้ 

การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ทำให้น้องรู้สึกว่าถูก "เฝ้าจับผิด"  หรือ  "พี่ไม่ไว้ใจ"  มันยิ่งอยากกว่าการเฝ้าระวังปกติเกือบเท่าตัวทีเดียว

 และหากพบว่าน้องทำอะไรไม่ถูกต้อง หรือ ผิดพลาด  การทักท้วง หรือตักเตือน ก็ต้องใช้เทคนิคสูง   พี่อาจจะต้องสอดมือเข้าไปช่วยน้อง หรือทำเสียเองอย่างนิ่มนวล แต่ไม่ควรพูดตำหนิ หรือชี้ความผิดพลาดของน้องต่อหน้าคนไข้  

เพราะถึงแม้ว่าน้องจะเป็นน้องนักศึกษา แต่น้องเขาก็มีเกียรติมีศักดิ์ศรีในตัวเอง  พี่พึงระลึกอยู่เสมอว่า การตำหนิน้องต่อหน้าคนไข้  จะเป็นการทำลายความมั่นใจของน้อง และความเชื่อใจ ไว้วางใจของคนไข้ที่มีต่อน้องได้

 อย่างเช่น ถ้าน้องเก้ๆกังๆ  แทงน้ำเกลือพลาด  พี่ก็ควรจะสอดมือเข้าไป โดยทำทีเสนอว่า

" ท่าทางเส้นจะแทงยากนะคะ  มา..ให้พี่ช่วย..ดีมั้ยคะ "  

 ไม่ใช่ดุว่า 

" ทำไมทำแบบนั้น ไม่ใช่แทงแบบนั้น..."

เสียงดุของพี่ น้องก็ตื่น..มือสั่นแล้ว ต่อไปจะแทงได้อย่างไร

2006年12月月历壁纸-圣诞节月历壁纸 1280*1024 5 - [wallcoo.com]_1280X1024 .jpg

เมื่อวันก่อนมีน้องคนหนึ่งเจาะเลือดคนไข้ แล้วทำเลือดเลอะเทอะ  อยู่ในห้องคนไข้ พี่จะไม่พูดว่าอะไร แต่ให้ช่วยเช็ดเลือด แล้วก็ปลอบโยน ขอโทษคนไข้ จากนั้นเมื่อออกมานอกห้อง จึงค่อยบอกแนะนำ โดยการกระตุ้นให้น้องคิด แทนการตำหนิ 

วันนั้นก็ถามน้องว่า

" น้องคิดว่า.. ตะกี้ทำไมเลือดมันถึงหกเลอะเทอะคะ ?  ลองนึกทบทวนดูสิคะ  น้องคิดว่า.. ความผิดพลาดมันน่าอยู่ตรงไหน  และที่จริงน้องควรจะทำอย่างไร ที่น่าจะดีกว่านี้.. น้องนึกออกไหม ? "

น้องทำเลือดคนไข้เลอะเทอะ  เธอก็รู้สึกผิดอยู่แล้ว  การไม่ดุหรือตำหนิ จะทำให้น้องลดความสั่นกลัว ความลนลานลง  เมื่อน้องมีสติ และทบทวนตนเอง น้องก็จะเห็นจุดผิดพลาด และเห็นหนทางแก้ไขได้

การที่น้องได้รู้จักคิดเอง เป็นการเสริมความมั่นใจของน้องในคราวต่อไป และจะคอยเตือนตัวเองเองว่า  ตนต้องทำอย่างไร จึงจะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นมาอีก

บางที ก็ให้เพื่อนซึ่งเข้าไปดูการเจาะเลือดด้วย ช่วยออกความเห็น ว่า การเจาะเลือดเมื่อสักครู่นี้  อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เลือดหกเลอะเทอะ  เราจะไม่ตำหนิหรือตอกย้ำในความผิดพลาดกัน แต่เราจะเอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นครู เป็นบทเรียน มา conference กันสั้นๆหน้าห้อง  ทั้งเจ้าตัวและเพื่อนก็จะช่วยออกความเห็น และบอกหนทางแก้ไขในครั้งต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก ..

แล้วจากนั้น...พี่ก็คอยประเมินนะ.. ว่าน้องจะทำได้ไหม ?

秋樱-大波斯菊壁纸(二) 8 - [wallcoo.com]_cosmos_wallpaper_0162933.jpg

 

เมื่อพูดถึงความผิดพลาดแล้ว คงขาดไม่ได้ที่จะพูดถึงสิ่งที่น้องทำได้ดีๆ

ถ้าน้องทำอะไรได้ หรือทำได้สำเร็จ ทำได้ถูกต้องแล้วละก้อ... อย่าลืมชมน้องล่ะ

แล้วยิ่งถ้าน้องทำอะไรให้คนไข้ได้ดี  เช่น เจาะเลือดได้ดี แทงน้ำเกลือได้สำเร็จ 

ก็ให้ชมต่อหน้าคนไข้ไปเลยนะคะ 

 

^__^

2006年10月网易月历壁纸 15 - netease_wayhome_11love1024.jpg

โปรดติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ

ตอน 3 สอนน้องส่งเวร  "

 

 


...................................................

หมายเลขบันทึก: 76729เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท