พี่สอนน้อง :: ตอน 3 สอนน้องส่งเวร


เวลาขึ้นวอร์ดจะสังเกตว่า ช่วงเวลาที่ทำให้น้องเครียดที่สุด ก็คือการส่งเวร

น้องจะเกร็งกันมาก พูดตะกุกตะกัก นึกไม่ออกว่าจะพูดอะไร  ยิ่งส่งเวรไม่ถูก ยิ่งถูกรุ่นพี่เวรถัดไปซักถาม ก็จะยิ่งเครียดไปใหญ่

 

 

洋葱头2007全年星座月历 1 - 01.jpg

เมื่อก่อนนี้.. ตนเองจะสอนน้องส่งเวร โดยการให้น้องมาฝึกส่งเวรกับพี่ก่อน  ว่าจะพูดอย่างไร ส่งอย่างไร  การสอนส่งเวร ต้องใช้เวลานาน เป็น 20-30 นาที  ซึ่งมันก็เสียเวลาทำงาน ที่จะดูแลคนไข้ไปโดยใช่เหตุตรงนั้น

มาปีนี้...เลยลองเปลี่ยนเทคนิคการสอนน้องใหม่

โดยจะไม่สอนน้องว่าต้อง  "ทำอย่างไร" "พูดอย่างไร"

 แต่จะสอนหลักการให้กับน้องว่า "ทำไมต้องทำอย่างนั้น และทำไปทำไม เพื่ออะไร"  จากนั้นให้น้องคิดหาวิธีการ ใช้ความสามารถเฉพาะตัวเอาเอง

เราเชื่อว่า และพบว่า น้องๆที่เรียนกันมาถึงปี 4 ใกล้จะจบแล้วนั้น ทุกคนต่างก็มีศักยภาพของตนเอง และมีความรับผิดชอบในตัวเอง

เราน่าจะดึงตรงนั้นของน้องออกมาใช้ดีกว่า

洋葱头2007全年星座月历 3 - 03.jpg

การส่งเวรคือการสื่อสารชนิดหนึ่ง  ที่จะถ่ายทอด ปัญหา อาการ ตลอดจนเรื่องราวต่างๆของคนไข้ จากเวรหนึ่ง ไปยังอีกเวรหนึ่ง 

การสอนโดยการให้น้องฝึกส่งเวรกับพี่ก่อน แล้วพูดตามที่พี่สั่งให้พูด มันเป็นการสอนให้น้องท่อง  การท่องหากเผชิญกับภาวะเครียดเวลาส่งเวรจริง น้องก็จะลืมแล้วส่งไม่ได้ ดังนั้น การสอนส่งเวรแบบใหม่  จึงไม่ให้ซ้อมการท่องส่งเวร แต่จะให้ ส่งเวรออกมาจากความคิด ความรู้สึกรับผิดชอบของน้องเอง

洋葱头2007全年星座月历 10 - 10.jpg


วิธีการสอน...

พี่จะเริ่มต้นโดยการที่ให้น้องจะต้องทำความรู้จักคนไข้คนนั้น อย่างชัดเจน   ...จากการศึกษาหาข้อมูลของคนไข้คนนั้น    เริ่มจากการราวน์ชาร์ท  ราวน์คอมพิวเตอร์ (ที่โรงพยาบาลจะเขียนบันทึกการพยาบาล และเก็บข้อมูลทั้งหมดของคนไข้ไว้ในคอมพิวเตอร์ ส่วนชาร์มหรือแฟ้มผู้ป่วยนั้น จะเก็บพริ้นต์เอ้าท์บางอย่าง ที่จำเป็นรวบรวมเป็นหลักฐาน paper เท่านั้น ) 

เน้นย้ำให้น้องเห็นความสำคัญของการ รับเวร และการ conference วางแผนการพยาบาลในทีม ก่อนลงมือปฏิบัติงานดูแลคนไข้ 

การที่ส่งเวรได้ดีนั้น  น้องจะต้อง "รับเวรเป็น" !

การศึกษาหาข้อมูลก่อนรับคนไข้นั้น มีความสำคัญมาก  เพราะเรามีเวลาไม่มาก  ดังนั้นการอ่านและการฟังเวรก่อนหน้านี้ส่งเวร  เราจะต้องฟังอย่าง "จับประเด็น"   ของ "สาร"  ที่เวรก่อนหน้านี้บอก  โดยประเด็นสำคัญที่ต้องจับให้ได้ก็คือ  ....

"  อะไรคือปัญหาของคนไข้ อะไรคือสิ่งที่เกิดกับคนไข้เมื่อเวรก่อนหน้านี้  อะไรคือปัญหาที่เราต้องดูแลต่อ... ต้องทำกับคนไข้คนนี้   และอะไรคือสิ่งที่เราต้องรับไว้เพื่อถ่ายทอด ส่งต่อบอกให้เวรถัดไปดำเนินการ "

ถ้าน้องจับประเด็นที่ฟังมาได้ชัดและเข้าใจ  น้องก็จะสามารถนำ conference  คนอื่นได้  แล้วก็ไปดูแลคนไข้ภายในเวรได้   รู้ปัญหา รู้กิจกรรมทางการพยาบาลที่ต้องทำ  จากนั้นก็ประเมินผลปลายเวรด้วยตนเอง  นำมาสรุปพิมพ์เป็นบันทึกการพยาบาล  (nurse's note ) ลงคอมพิวเตอร์    จากนั้นนำสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนไข้ สิ่งที่น้องทำ สิ่งที่น้องรู้ ปัญหาที่ต้องมีการดูแลต่อ   ส่งต่อให้กับเวรถัดไป  

แล้วเมื่อนั้นน้องจะส่งเวรให้เวรถัดไป  โดยน้องก็จะรู้เองว่า น้องจะต้องพูด ต้องส่งเวรว่าอย่างไร 

 洋葱头2007全年星座月历 9 - 08.jpg

แล้วเวลาที่จะพูดส่งเวร... พี่จะสอนเทคนิคกับน้องว่า    ให้น้องจินตนาการเห็นภาพคนไข้คนนั้น  วาดภาพขึ้นให้ได้ในใจของน้อง ให้รู้สึกเหมือนกับเขาเป็นเพื่อนของน้อง เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นคนใกล้ชิดที่อยู่ในความดูแลของน้อง 

แล้วให้โจทย์ว่า ถ้าเกิดเวลานี้น้องต้องไปที่อื่นชั่วคราว จำเป็นต้องฝากฝังคนๆนั้น ไว้กับเพื่อนข้างบ้านมาดูแลแทน  ....น้องจะพูดจะบอกกับเพื่อนอย่างไร เพื่อให้เขาดูแลต่อจากน้องได้ แล้วให้น้องออกไปจากบ้านอย่างวางใจ

การสอนให้คนทำงาน "คิดเป็น"  เขาจะทำงานนั้นๆ ออกมาได้ดี กว่าสอนให้ "เขาทำตามที่เราบอก"

เนื่องเพราะในเวร พี่ก็ดูคนไข้ไปพร้อมกับน้องอยู่แล้ว  และก็อ่านตรวจบันทึกทางการพยาบาล ที่น้องลงบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์  ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องให้น้องมาเสียเวลา นั่งฝึกส่งเวรกับพี่ 

ก่อนจะส่งเวรจริง พี่จะให้น้องไปตั้งสติ ทำสมาธินึกทบทวนสิ่งที่น้องจะพูดส่งเวรอยู่คนเดียว สัก 10 นาที ให้ลองออกเสียงพูดคนเดียวหน้าคอมพิวเตอร์ 

พี่แค่แนะขั้นตอนการพูดว่า วิธีการส่งควรจะพูดสิ่งไหนก่อนหลัง  การพูดที่มีขั้นตอนเพื่อให้คนฟังเข้าใจง่าย การพุดโดยให้เหตุนำและตามด้วยผล 

จากนั้นก็ให้น้องใช้วิธีการและความสามารถเฉพาะตัวของน้อง ที่จะถ่ายทอด ที่จะสื่อสาร ที่น้องมีอยู่ส่งให้กับเพื่อนในเวรถัดไป

洋葱头2007全年星座月历 8 - 07_2.jpg

และเมื่อพี่ประเมินผลการสอน.. ก็พบว่าน้องทำได้ดีค่ะ และก็มีความมั่นใจขณะส่งเวรมากขึ้นกว่าเดิม

เพราะน้องรู้หลักการ รู้ว่าตัวเองต้องส่งอะไรบ้าง  น้องมีจิตสำนึกของความรับผิดชอบ ว่าคนไข้เป็นของน้อง  และรู้ว่าจะฝากคนอื่นดูแลแทนน้องได้อย่างไร 

สิ่งสำคัญ.. น้องได้เป็นตัวของตัวเอง  ไม่ใช่ตุ๊กตา ที่พี่ปั้นให้เป็นไปตามใจของพี่

แล้วสิ่งที่พีต้องไม่ลืม.. คือชมเชยน้อง เมื่อน้องทำได้ดี  

และชี้บอกจุดที่ต้องพัฒนาของน้องว่า 

คราวต่อไปมีอะไรที่ต้องปรับปรุงบ้าง เพื่อที่น้องจะได้ทำให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้  

 ^_____^

洋葱头2007全年星座月历 12 - 12.jpg

 

 


(ปล. จากนั้นลงเวร พี่ก็หลับเป็นตายอย่างหมดแรง  อิอิ)

 

หมายเลขบันทึก: 76751เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากค่ะ  นำไปใช้กับการสอนแนะงาน ไม่ว่างานใดๆ 

อยากถามคุณ k-jira ว่า มีเหตุการณ์อะไรเป็นตัวจุดประเด็นให้เปลี่ยนวิธีสอนน้อง

 

  • เป็นบันทึกที่เกิดเกิดประโยชน์ที่ชัดเจนมาก
  • และขอขอนุญาตทำสำเนาให้นิสิตได้อ่านเป็นความรู้บ้างนะครับ

มาเยี่ยม...

ได้สาระแนวคิดอีกมิติหนึ่ง...ของอาชีพนะครับ

 

บันทึกนี้ดูเหมือนนานมาก  ...เพิ่งได้มีโอกาสมาตอบ ^__^

 

สวัสดีค่ะ  อาจารย์หมอ  ปารมี  

  • ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ ^_^
  • ขอโทษที่เพิ่งได้เข้ามาตอบ (ช่วงนั้น สวนกระแส blog tag ไม่ไหว จริงๆ อิอิ)
  • สำหรับคำถามของอาจารย์ ยอมรับว่าทำให้ k-jira คิดหลายตลอดเลย
  • คำตอบมีอยู่ในใจนะคะ แต่ว่ามันซับซ้อน และดูเหมือนต้องใช้เวลาเรียบเรียงที่มาที่ไป
  • ดังนั้นขอ เก็บไว้เป็นประเด็นสำหรับบันทึกต่อไปดีกว่านะคะ

^___^

 

สวัสดีค่ะ คุณ แผ่นดิน

  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ด้วยความยินดีค่ะ ^__^

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ umi

  • ขอบคุณที่แวะเข้ามาค่ะ
  • เห็นอาจารย์หายไปนานเลย นึกว่ายุ่งๆ ไม่ได้แวะเข้ามาเขียนเสียแล้ว
  • เข้าไปอ่าน ความลับของอาจารย์ แล้วขำมากมายเลยค่ะ ^__^

 

ดีจังเลยค่ะพี่จูน   อยากอ่านอีกอ่ะคะ  ได้ความรู้ดีค่ะ

ปกติ  พี่  1 คนส่งเวรให้น้องกี่คนคะ ??? 

พี่จูนใจเย็นดีจังค่ะ  เหมาะเป็นคุณครู(ใจดี)

อยากให้พี่ พี่ที่ Ward เป็นอย่างนี้บ้างจังคะ ตอนนี้หนูก็กำลังฝึกหัวหน้าเวรอยู่คะ มีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเวรเหมือนกัน จำคนไข้ไม่ค่อยได้เวลาส่งเวรนะคะ เครียดจริง ๆ คะ พี่ หนูจะนำวิธีนี้ไปพัฒนาการส่งเวรของหนูคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท