ผลสัมฤทธิในการทำงาน


แม้กระทั่งในเรื่องการบริหารบุคคล ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจหลักการทำผลสัมฤทธิก็จะเกิดปัญหาในการบริหารขึ้นได้ ความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากผู้นำไม่ใส่ใจในการนำผลสัมฤทธิมาใช้ เรื่องราวที่เล็กน้อยก็อาจบานปลายได้ในที่สุด

         ก่อนอื่นผู้เขียนขออธิบายคำว่าผลสัมฤทธิสักเล็กน้อย

         สมัยก่อนเราไม่ค่อยสนใจเรื่องการประเมินผลการทำงานมากนัก การบริหารงาน การทำโครงการต่างๆก็ไม่เน้นเรื่องการประเมินผลมากนัก จำได้ว่าผู้บริหารจะตั้งเป้าหมายการปฏิบัติไว้ เช่นการสร้างส้วมได้กี่หลังคาเรือนหรือกี่เปอร์เซ็นของเป้าหมาย เป็นต้น หากเจ้าหน้าที่ทำงานได้ตามเป้าก็ถือว่าผ่าน  โดยไม่ค่อยสนใจประเมินผลของความพอใจของผู้รับเท่าใด

          แต่ในปัจจุบันเราพบว่าการทำงานหรือบริหารแบบเก่าใช้ไม่ได้อีกแล้ว     

                          ผลสัมฤทธิ  ก็คือ  ผลสำเร็จของงาน  +  ผลลัพธ์     

                          ผลสำเร็จ  ก็คือการที่โครงการทำงานได้ตามเป้าหมาย     

                          ผลลัพธ์    ก็คือการสะท้อนความสำเร็จอีกขั้นก็คือความพึงพอใจของผู้รับบริการ

          เมื่อผลสำเร็จรวมกับผลลัพธ์   ก็จะกลายเป็นผลสัมฤทธิ     ดังนั้นการประเมินผลสัมฤทธิ จึงมีความสำคัญต่อการบริหารเป็นอย่างมาก การกำหนด ตัวชี้วัดที่ดี(KPI)จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารต้องใส่ใจ   

         ในการดำเนินโครงการต่างๆ  การกำหนดตัวชี้วัดจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารงานสมัยใหม่ที่ดีอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นโครงการให้ความรู้โดยการแจกแผ่นพับใบปลิว  เมื่อแจกไปแล้วต้องมีการประเมินผลลัพธ์ว่าผู้ที่ได้รับไป มีการอ่านกี่เปอร์เซ็น ในจำนวนผู้ที่อ่านแล้วมีการปฏิบัติตามกี่เปอร์เซ็น ประเมินแล้วได้ผลตามที่ตั้งไว้หรือไม่  หน่วยงานหลายหน่วยขาดการประเมินลักษณะนี้ ผู้เขียนสังเกตุว่าการนิเทศน์ติดตามงานของหน่วยงานไม่ค่อยเน้นเรื่องผลสัมฤทธิสักเท่าไร  ซึ่งต้องเปลี่ยนวิธีคิดและการดำเนินงานใหม่               

         หลักวิธีคิดของผลสัมฤทธิใช้ได้ในทุกเรื่องไม่ว่าการค้าขาย  การบริหาร  การบริการ ในทางการแพทย์การรักษาคนไข้ยิ่งต้องมีผลสัมฤทธิที่ดี การส่งเสริมสุขภาพก็ต้องมีผลสัมฤทธิที่ว่าประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นมากน้อยอย่างไร  แม้กระทั่งในเรื่องการบริหารบุคคล ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจหลักการทำผลสัมฤทธิก็จะเกิดปัญหาในการบริหารขึ้นได้  ความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นเรื่องธรรมดา แต่หากผู้นำไม่ใส่ใจในการนำผลสัมฤทธิมาใช้ เรื่องราวที่เล็กน้อยก็อาจบานปลายได้ในที่สุด               

           ผู้เขียนหวังว่าผู้บริหารที่ดีจะได้นำหลักการมุ่งผลสัมฤทธิไปใช้ในหน่วยงานเพื่อผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 76749เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท