มาตรฐานทางรังสีก่อไอออนของชาติ


มาตรฐาน คือระดับความสุขของ ประชาชน

ในหลายสิบปี ที่ผ่านมา สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.)  ซึ่งแต่เดิมคือ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (พปส.) มีภารกิจหนึ่ง คือ การสถาปนาระบบอ้างอิงทางการวัดรังสีของชาติ  เพื่อจุดหมายที่จะให้ผลการวัดทางรังสีและกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแล และการนำรังสีไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ภายในประเทศ ซึ่งภาษาอังกฤษนิยมใช้คำว่า practices หรือหมายถึงกิจกรรมที่ใช้ประโยชน์จากรังสี  การวัดที่มีหน่วยวัดทางรังสีในกิจกรรมเหล่านี้ หากสามารถสอบย้อนกลับไปยังค่าอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติได้ จะเป็นที่ยอมรับในผลการวัด ว่ามีมาตรฐานและเชื่อถือได้ นั่นคือ ต้องสามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนของค่าการวัดนั้นๆ ได้ด้วย

ระบบอ้างอิงทางการวัดรังสีของชาติ ที่มีอยู่ ณ สำนักงานปรมาณูในปัจจุบัน เกิดขึ้นมาจากความเพียรพยายามของอดีตท่านผู้อำนวยการกองฯ หลายท่าน รวมไปถึงผู้บริหารระดับสูง ที่ได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ทีไทยจะได้ในอนาคต นั่นคือ การมองการณ์ไกล และ การมีวิสัยทัศน์ ที่ดีของผู้บริหาร

ระบบอ้างอิงดังกล่าว  หลักๆประกอบด้วย ระบบมาตรฐานการวัดรังสีเพื่อการป้องกันอันตรายจากรังสี เรียกย่อๆ ว่า SSDL, มาตรฐานทางปริมาณรังสีเพื่อการฉายรังสี หรือ HDCL และมาตรฐานด้านกัมมันตภาพรังสีและสารอ้างอิงรังสี หรือ NSRL

คำว่าระบบอ้างอิง หมายถึง ปัจจัยต่างๆที่รวมกันอยู่อย่างเหมาะสมและดำเนินไปเพื่อประโยชน์ในการสอบเทียบหรือใช้เป็นหลักได้ หากจะกล่าวถึงระบบอ้างอิงทางการวัดรังสี ในปัจจุบัน ก็พอจะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ของการใช้งานและเป็นที่ยอมรับกันในวงการว่า มีอย่างน้อย 3 ระดับ คือ

ระบบอ้างอิงระดับปฐมภูมิ หรือมาตรฐานระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับผู้ใช้งาน

โดยทั่วๆไป ยังมีการใช้คำว่า ห้องปฏิบัติการมาตรฐานปฐมภูมิ แทนคำว่าระบบอ้างอิงระดับปฐมภูมิ  แต่ก็มีความหมายรวมไปถึงระบบของห้องปฏิบัติการมาตรฐานที่มีผลการวัดไม่อ้างอิงกับใคร  เพราะเป็นการวัดที่เกิดมาจากการนำความหมายของนิยามของหน่วยวัดหลัก 7 ชนิดจาก SI Units มาใช้กำหนดค่าวัดต่างๆ ที่ต้องการ และในวงการมาตรวิทยา ให้การยอมรับผลการวัดจากการเผยแพร่ผลงานลงในวารสารระดับนานาชาติ และมีการเปรียบเทียบค่ามาตรฐานของหน่วยวัดระหว่างกันในระดับปฐมภูมิด้วยกัน  ห้องปฏิบัติการมาตรฐานเหล่านี้ ปัจุบันมีอยู่ในประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น เราจึงอาจสรุปว่า ประชาชนในประเทศที่เจริญแล้วเหล่านั้น มีระดับของความสุขมากกว่า จากความเจริญด้านเทคโนโลยีและการมีระบบมาตรวิทยาซึ่งนับเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาและนำเอาเทคโนโลยี มาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า

"ระดับความสุขของชนในชาติใด ประเมินได้จาก โครงสร้างพื้นฐานทางด้านมาตรวิทยาของชาตินั้น"

 

หรือ  " การวัดได้มาตรฐาน ผู้ใช้งาน ปลอดภัย "

 

 

หมายเลขบันทึก: 76711เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2007 18:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ยังงงๆ อยู่ค่ะ ช่วยอธิบายเพิ่มด้วย ขอบคุณค่ะ
ขอบคุณครับ ที่แนะนำ จะพยายามให้รายละเอียดเพิ่ม ในตอนต่อไป ปัญหา คือ วันนั้นมีงานมารอและต้องไปสัมมนา ตจว. เสียหลายวัน อีกทั้งไม่มีเครือข่ายใช้ กลับมาวันนี้แล้ว จะบันทึกต่อครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท