ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและข้อเท็จจริง


ข้อเท็จจจริงในทุกเรื่องมีทั้งข้อดีและข้อเสียสิ่งที่ยากคือการพิจารณาว่าในเรื่องนั้นเรายอมรับกันได้แค่ไหน

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและข้อเท็จจริง

ในทุกความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกฎหมาย หรือข้อเท็จจริงเทคโนโลยีในแต่ละเรื่องต่างก็มีความเป็นข้อดี และความเป็นข้อเสีย อย่างเช่น

โปรแกรม camfrog ซึ่งโดยจุดมุ่งหมายของเทคโนโลยีแล้วน่าจะเป็นเรื่องที่ดีเพราะสามารถนำมาใช้กับการประชุมของนักธุรกิจหรือคุยกันระหว่างเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวกันได้ทีหลาย ๆ คนด้วยกันโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเหมือนกับ video conference แต่ก็มีคนนำมาใช้ในวิธีที่ผิดโดยการนำมา เผยแพร่การกระทำที่เป็นเรื่องลามกอนาจาร หรือเป็นแหล่งของอบายมุข

สิ่งที่สังคมไทยจะต้องตระหนักคือ

1. สิ่งที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคมคืออะไร และเราจะจัดการอย่างไรอันนี้จะเป็นเรื่องการ identify facts ว่าเป็นอย่างไร

ปรับกับเรื่อง camfrog ข้างต้น อันนี้คือการที่เราดูว่า camfrog คืออะไร สิ่งที่ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสังคมนั้นมีอะไรบ้าง และ เราสามารถจัดการผลร้ายที่มาจาก camfrog โดยอาศัยอะไร อาจจะเป็นการจัดการโดยอาศัยตัวเทคโนโลยีเอง หรืออาจจัดการโดยวิธีอื่น

2. หากตั้งการจัดการผลร้ายโดยกฎหมายก็จะต้องดูว่า ซึ่งจะเรียกว่าเป็นการสำรวจว่ากฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง normative law สำรวจเพื่อที่จะหาว่า

2.1 กฎหมายที่มีอยู่แล้ว นั้นสามารถใช้จัดการข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมได้หรือไม่

หากเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องซ่อมกฎหมาย จะต้องดูว่าควรจะซ่อมกฎหมายนั้นได้อย่างไร 

2.2 กฎหมายไม่มีต้องสร้างกฎหมายใหม่เพื่อมาจัดการข้อเท็จจริงนั้นได้หรือไม่

3. หากเป็นการจัดการผลร้ายข้อเท็จจริงโดยศาล justify facts ก็จะต้องดูว่าศาลใดที่มีเขตอำนาจ และเราสามารถทำอะไรได้บ้าง

4. หากเป็นการจัดการข้อเท็จจริงโดยประชาคม ก็จะต้องดูว่าในแต่ละประชาคมนั้นเห็นอย่างไรกับผลร้ายนั้น

 

คำสำคัญ (Tags): #it-law#camfrog
หมายเลขบันทึก: 76361เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2007 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 22:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท