1. “เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย” (Unity in Diversity) แม้ว่าความเจริญทางวิทยาการและเทคโนโลยี่จะทำให้มนุษย์มีความเจริญตามๆกันมาจนเกือบจะเหมือนๆกันไปหมด แต่ขณะเดียวกันโลกยุคปัจจุบันก็เป็นโลกแห่งความแตกต่าง, หลากหลาย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้งและสงครามระหว่างเชื้อชาติและศาสนาในขณะนี้
2. ความหลากหลาย (Diversity) ในปัจจุบันเรามีความหลากหลายต่างๆที่สำคัญอันเป็นจุดอ่อนไหวต่อความขัดแย้ง เช่น
2.1 ความเชื่อในศาสนา – แม้แต่ในศาสนาเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างระหว่างนิกาย เช่น หินยาน-มหายานในศาสนาพุทธ, สุหนี่-ชีอะห์ ในศาสนาอิสลาม, โปรแตสแตนท์-โรมันคาธอลิก ในศาสานาคริสต์ นอกจากนี้ยังมีลิทธิต่างๆ เช่น โยเรห์, พลังจักรวาล, โอมชินรีเกียว2.2 การเมืองการปกครอง – ประชาธิปไตย-สังคมนิยม-คอมมิวนิสต์-เผด็จการ ความแตกต่างนี้มักเป็นเหตุสู่สงครามแย่งชิงดินแดน, เรียกร้องเอกราช, การรุกราน, ก่อการร้าย
2.3 ระบบเศรษฐกิจ – ทุนนิยม, ตลาดการค้าเสรี, ผูกขาด, รัฐวิสาหกิจ, สังคมนิยม มักนำไปสู่การกีดกันทางการค้า ปลา
ใหญ่กินปลาเล็ก เพื่อผลประโยชน์ของตนเองให้มากที่สุดเป็นที่ตั้ง
2.4 เชื้อชาติสีผิว – ความแตกต่างนี้ถูกมองในลักษณะดูหมิ่นเหยียดหยาม โดยยกตัวเองว่าเป็นชาติพันธุ์ที่เหนือกว่า นำ
ไปสู่ความพยายามทำลายล้างเผ่าพันธุ์ที่ตนรังเกียจ
2.5 วิถีการดำเนินชีวิต – คนในสังคมเมืองใหญ่เมืองหลวง มีการดำเนินชีวิตที่ต่างจากสังคมชนบทที่มองว่าด้อยพัฒนา แต่กลับเป็นสังคมที่ยังเอื้ออาทรต่อกันมากกว่าคนในเมืองใหญ่ที่ต่างคนต่างอยู่
2.6 ค่านิยมที่แตกต่าง – ปัจจุบันคนให้ความสำคัญค่านิยมต่อความเจริญทางวัตถุมากกว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ยอมเสียตัวเพื่อแลกกับมือถือ, ได้เสียก่อนแต่งเป็นเรื่องธรรมดา, มีชู้ “กิ๊ก”เป็นเรื่องที่ใครก็ทำกัน, เน้นเสรีภาพส่วนตัวมากจนกล้าเปิดเผยว่าตนเป็นเกย์, ตุ๊ด, เพศที่สาม
2.7 วิสัยทัศน์ที่แตกต่าง –ทุกยุคทุกสมัย เรามักจะเผชิญกับวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกัน ในแง่อนุรักษ์นิยมกับสมัยใหม่นิยม ขณะที่กลุ่มอนุรักษ์พยายามรักษาระบบระเบียบประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน กลุ่มสมัยใหม่นิยมก็พยายามจะเปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ สิ่งที่น่าสังเกต คือ บางครั้งคนที่อายุมากกลับมีวิสัยทัศน์แบบสมัยใหม่ คนที่อายุน้อยกลับกลายเป็นพวกอนุรักษ์นิยมไปได้เหมือนกัน 2.8 ความต้องการที่ไม่เหมือนกัน – แต่ละคนย่อมต้องการสิ่งที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเงินทอง, ชื่อเสียง, การยอมรับ ขณะที่บางคนต้องการเพียงความสุขในใจที่ได้ทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องเพื่อคนอื่น2.9 วิธีการที่นำไปสู่จุดหมาย – ต่างคนต่างใช้วิธีการที่ต่างกันในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ หลายครั้งทีเดียวที่เราต่าง
2.10 การสื่อสารที่ต่างกัน แต่ละคนมีทักษะในการสื่อสารต่อผู้อื่นที่ไม่เหมือนกัน บางคนมีความรู้มากแต่สื่อสารแล้วคน
อื่นสับสนเข้าใจผิด บางคนพูดเข้าใจดีแต่ข้างในคิดร้าย บางคนพูดจาแข็งกระด้างแต่มาจากความจริงใจ 3. เอกภาพ (Unity) คือ ความสมานฉันท์สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ก่อให้เกิดเอกลักษณ์และพลังแห่งความร่วมมือ จึงขอเสนอแนวทางในการสร้างเอกภาพท่ามกลางความขัดแย้ง ดังนี้3.1 มุ่งเน้นเป้าหมายเดียวกัน โดยหลีกเลี่ยงการโต้แย้งเรื่องความแตกต่าง พยายาม“รักษาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” โดยย้ำเน้น “สิ่งที่เหมือนกัน” เป็นตัวเชื่อมให้เกิดเอกภาพ เช่น ความเป็นคนเหมือนกัน, เกิดเป็นคนไทยเหมือนกัน, ทำงานที่เดียวกัน, กินข้าวหม้อเดียวกัน กระตุ้นให้เกิดความตระหนักว่าเราไม่ต่างกันมาก
3.2 เรียนรู้จากธรรมชาติ เพื่อช่วยในการยอมรับความแตกต่างหลากหลายว่าเป็นสีสันของชีวิต มองว่าเป็นสิ่งที่เสริมสร้างให้เกิดความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น รุ้งมี 7 สี, สัตว์มีหลายชนิด, อวัยวะในร่างกายคนเรามีต่างๆกันภายใต้ร่างกายเดียวกัน เพื่อให้เกิดความตระหนักว่าแต่ละสิ่งแม้ว่าต่างกัน แต่ก็มีความสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างกัน
3.3 ปลูกฝังค่านิยมแห่งการยอมรับนับถือคนอื่นที่มีศักดิ์สรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันตั้งแต่เด็ก หลีกเลี่ยง
การแบ่งชั้นวรรณะหรือการดูถูกดูหมิ่นคนอื่นที่เกิดมาต่างกัน, ด้อยกว่า, มีโอกาสน้อยกว่า
3.4 เรียนรู้ที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ เปิดใจให้กว้าง เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกล พยายามฟังดูว่าความคิดเห็นของผู้นั้นจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างไร แม้ว่าจะแตกต่างไปจากความคิดเห็นของเรา
3.5 เน้นการอบรมสั่งสอนให้คนเห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ปลูกฝังความมีวินัย,การเสียสละเพื่อส่วนรวม ขจัดความเห็นแก่ตัว แม้ว่าจะอยู่ในกระแสแห่งการแข่งขัน ตั้งแต่สอบเข้าอนุบาลถึงมหาวิทยาลัย ไปถึงการสมัครเข้าทำงาน, เลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง
3.6 เรียนรู้ที่จะพยายามเข้าใจคนอื่นที่มีปมด้วยในเรื่องใดๆก็ตาม แม้เขาพยายามแสดงปมเด่นที่จะลบปมด้อยที่มีอยู่ เรียนรู้ที่จะให้กำลังใจ ยอมรับเขาอย่างที่เขาเป็น ส่งเสริมข้อดีของเขา และช่วยเขาพัฒนา/ปรับตัวกับปมด้อยเหล่านั้นอย่างไม่ขมขื่น
3.7 ฝึกฝนให้มองโลกมองคนในแง่ดี โดยใช้ความจริงใจบริสุทธิ์ใจเป็นที่ตั้ง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้ที่จะไวต่อคนประเภทหน้าเนื้อใจเสีย, หน้าไหว้หลังหลอก, คดในข้องอในกระดูก เพื่อเราไม่ตกเป็นเครื่องมือของคนเหล่านี้
3.8 สร้างค่านิยมและระบบการทำงานร่วมกันเป็นทีม มากกว่าการติดยึดกับคนๆเดียว เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบร่วมกัน ภายใต้แนวคิด “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ”
3.9 เรียนรู้ในการให้อภัย ให้โอกาสคนที่ทำผิดพลาด เมื่อเขาสารภาพผิดคิดกลับตัวให้เขามีโอกาสแก้ตัวใหม่ ได้เริ่มต้น
ทำสิ่งที่ดีให้สังคมต่อไป ตามภาษิตว่า “ไม้ล้มข้ามได้ คนล้มอย่าข้าม”
3.10 เรียนรู้ที่จะร่วมมือกันบนพื้นฐานแห่งด้วยความรักความเข้าใจ,การให้เกียรติกันและกัน มากกว่าเรื่องของผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆที่เป็นแรงจูงใจให้มาร่วมกัน
ไม่มีความเห็น