np
คุณ ปราณี p ประไพวัชรพันธ์

มึนงงงง


ทำไมไม่มีชื่อโชว์ในblogสม.4ละทั้งที่เพิ่มบันทึกทุกวัน เกิดอะไรขึ้นใครพอจะช่วยได้
 แก้กลุ้มมาอ่านกันดีกว่า โรคทางสังคม โรคทางศีลธรรม                จากข่าวหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 หน้า 15 ที่ได้นำเสนอผลการอภิปลายของนายแพทย์เกษม วัฒนชัย  องคมนตรี เนื่องในวาระครบรอบ 12 ปี องค์การกลางการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2547 ในข้อเรื่องโรคทางสังคม โรคทางศีลธรรม ว่าปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยไม่ต่างไปจากทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่                1. โรคความยากจนข้นแค้น ทำให้เกิดปัญหาในด้านสุขภาพกาย มีภาวะการขาดอาหารและเครียดส่งผลให้จิตใจย่ำแย่ ตลอดจนปัญหาด้านสังคม ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ                 2. โรคอ้วน เกิดจากวิถีชีวิตที่ผิดปกติ เป็นผลมาจากการลอกเลียนการใช้ชีวิตแบบชาวตะวันตก ส่งผลให้เกิดโรคภัยหลายโรค โดยเฉพาะโรคหัวใจ สังคมไทยเป็นสังคมหลายขั้ว คือมีทั้งคนอ้วนและคนจนที่ขาดอาหาร                3. โรคว้าเหว่และถูกแยกตัวจากสังคม พบขนาดครอบครัวคนไทยเล็กลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้คนที่ถูกทิ้งว้าเหว่ป่วยเป็นโรคร้ายต่าง ๆ                 4. โรคที่มนุษย์สร้างขึ้นยังไม่ได้แก้ไขเลย ได้แก่ อุบัติเหตุ การฆ่าตัวตาย และการฆ่าคนอื่นที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น                5. โรคสำส่อนทางเพศ เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดปัญหา 3 ปัญหา ดังนี้ ปัญหาที่ 1 การฆ่าข่มขืน ปัญหาที่ 2 กามโรคและโรคเอดส์ และปัญหาที่ 3 การมั่วสุ่มในเด็กวัยรุ่น                6. โรคสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ได้แก่ อาหาร อากาศ และน้ำมีสิ่งเป็นพิษเจือปน การไร้ความปลอดภัยในสถานที่ต่าง ๆ ส่งผลให้สุขภาพมนุษย์เสียหาย                7. การติดเสพติด ได้แก่ บุหรี่ สุรา สารเสพติดต่าง ๆ รวมทั้งเสพติดการพนัน                        นายแพทย์เกษม กล่าวว่า โรคทางสังคมและโรคศีลธรรมของไทยก็ไม่ต่างไปจากผลการวิจัยของทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากนี้ยังอาจจะหนักกว่าด้วย จึงเห็นว่า พรรคการเมืองน่าจะนำประเด็นโรคทางสังคมและโรคทางศีลธรรม มาเป็นประเด็นทางการเมือง และเสนอมาตรการในการแก้ไขให้ประชาชนพิจารณาตัดสินใจในการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมาถึงนี้                ในขณะเดียวกันก็เสนอว่าการดำเนินการของภาคเอกชน ก็ต้องตระหนักว่าธุรกิจของตัวเองส่งเสริมสุขภาพของสังคมและศีลธรรม หรือก่อให้เกิดโรค ทั้งนี้ ผู้ประกอบการภาคเอกชนควรตั้งคำถามว่า ตัวเองมีความรับผิดชอบต่อสังคมขนาดไหนและสุดท้ายคือ ในบทบาทของภาคประชาชน ซึ่งมีความเห็นว่าสถาบันครอบครัว ชุมชนและศาสนา ต้องผนึกกำลังกันช่วยแก้ไขปัญหาโรคทางสังคมและศีลธรรมที่เกิดขึ้น                ทั้งนี้ได้เสนอแนวคิด 3 ประการ ในการแก้ปัญหาโรคดังนี้ คือ 1. การรู้จักผิดชอบชั่วดี 2. การยึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม 3. หิริโอตตัปปะ มีความสำคัญมาก เพราะคำ ๆ นี้มีความหมายว่าการอายต่อการทำชั่วทำบาปและกลัวผลของการทำชั่วทำบาป และความกลัวดังกล่าวจะส่งผลให้คนไม่ทำผิดชั่ว และยึดมั่นในความถูกต้องเที่ยงธรรม
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 76254เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท