บันทึกนกแอ่นกินรัง หน้าที่ 19


บินได้ไม่ทันไร ผ่านปีใหม่ ไปฉลองวาเลนไทน์ กะตรุษจีนดี?

บันทึกนกแอ่นกินรัง หน้าที่ 19

 

หลังจากลูกนกวัยรุ่นท้ายทาย และกำลังสนุกกับการบิน  ออกจากรังมาได้ไม่นาน เวลาเร็วจนมันแทบตั้งตัวไม่ทันเดี๋ยวจะวาเลนไทน์แล้ว อ้าวววว แล้วนั่น...อาม่ามารอเตรียมให้ "อั่งเปา" อีก

ลูกนกเริงรื่นด้วยปีกของตนเองอยู่ตัวเดี่ยวๆ เราคาดว่ามันจะกลับบ้านที่มันจากมา ไม่บอกใครด้วยว่าทำไมไม่เข้ารังของพ่อกะแม่  หลังจากที่มันออกจากรัง

ซึ่งแน่นอนว่าลูกนก ออกเช้า ก็ต้องกลับเย็นเป็นสัญชาติญาณของเผ่าพันธุ์

ถ้ามันบินกลับบ้านเดิม ก็ทำให้บ้านเดิมมีประชากรมากขึ้น ก็เห็นจะจริง เพราะที่วัดช่องลม สมุทรสาคร พื้นที่สร้างรังขยายออกไปเรื่อยๆ แต่พื้นที่นี่แหละที่จำกัดมาก พื้นที่ดีๆ มักถูกจับจองไปก่อน เด็กรุ่นใหม่ต้องยอมสร้างรังในพื้นที่ที่ไม่ค่อยดี ลูกมันก็ตกตายเรื่อยๆ และสร้างอยู่นั่นแหลงไม่สำเร็จซักที  

ตัวที่เป็นวัยรุ่น ยังไม่จับคู่กับใคร สังเกตไม่ยาก ประการแรก มันไม่มีคู่ อยู่ตัวเดียวในพื้นที่ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

ประการที่สอง พื้นที่ที่มีเจ้าของนั้นหมายถึง พื้นที่ที่สร้างรังแล้ว มีสองตัวจับจอง คือตัวผู้และอีกตัวก็แหง๋แซะต้องเป็นตัวเมีย 

(มีบางคนพูดว่านกวัยรุ่นแบบนี้อาจจะผลุบเข้าผลุบออกจากบ้านเกิด ไปยังที่แห่งใดก็ได้ ถ้าบังเอิญหลงทิศหลงทาง หลงกลุ่มเข้าบ้านอื่นๆ ก็ได้ เรื่องนี้เราไม่ยืนยัน เพราะว่าเรายังไม่ได้ติดเครื่องหมายนกวัยรุ่นแบบนี้ ...ความลับที่พิสูจน์ได้ ถ้าบ้านรังนกจะให้ความร่วมมือ

เราติดเครื่องหมายที่ตัวลูกนกที่ใกล้ออกจากรังระยะสุดท้าย แล้วรอให้มันออกจากรังไป ดูซิว่าจะกลับเข้ามาที่บ้านเดิมหรือไม่ ก็ทำได้ง่ายมาก แต่ที่ไม่ง่ายคือ....ไม่ได้รับความร่วมมือจากบ้านรังนกที่ใด...ฮา )

ลูกนกที่มีมีคู่ ออกเช้าและกลับมืด กลับมาแล้ว บางทีก็ลงผ่ากลางรังตัวอื่นๆ

เหมือนจะไม่ค่อยแม่นยำในการลงจอด

แต่ตัวที่มีการจับคู่แล้ว ได้คู่แล้ว(เฮ้อ....โล่งงงงง-อก นึกว่าจะเกาะ"คาน"ไปจนตายซะแร้ว!) ทั้งสองมักจะกลับมาสร้างรังตอนกลางวัน

เราพบว่าดูเหมือนจะมีวันที่นกวัยใสเข้ามาจู๋จี๋หรือเลือกคู่ เอาไว้ให้วิเคราะห์ข้อมูลอีกหน่อยแล้วอาจจะเขียนถึง

ชีวิตของลูกนกวัยหลังออกจากรังนี้เราไม่สามารถตามต่อได้มาก ต้องใช้เทคนิคอย่างว่าคือติดเครื่องหมายที่ลูกนก

ลูกนก พอบินได้ ก็รอจับคู่ รอสร้างรังต่อไป และที่แน่แน่ วาเลนไทน์นี้ คงมีอีกหลายตัวที่เป็นคู่ใหม่ปลามัน เราจึงคิดว่าจะเขียนถึงมันแค่นี้

หันมาเขียนถึงพ่อแม่นกต่ออีกดีกว่า ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่น่าเอ่ยถึง 

แต่ตอนนี้รอให้มันเตรียมตัวมอบดอกกุหลาบ กับเตรียมอั่งเปาให้ลูกน้อยไปก่อน

แล้วเจอกันค่ะ

ครูเล็ก

 

คำสำคัญ (Tags): #นกแอ่นกินรัง
หมายเลขบันทึก: 76248เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอขอบคุณอาจารย์ศุกลักษณ์...

  • บันทึกนี้น่าสนใจมาก...
  • คิดว่า คงจะน่าสนใจมากขึ้นถ้ามีภาพประกอบ เวลาถ่ายระวังอย่าให้นกตกใจ และเรียนเสนอให้ถ่ายโดยไม่ใช้แฟลช (อาจใช้ขาตั้งกล้อง หรือยืนพิงผนัง)

ได้ยิน...

  • ได้ยินว่า สัตว์ที่ตกอกตกใจอาจจะทิ้งลูกได้...
  • เรียนเสนอให้เพิ่มป้าย "ธรรมชาติ" + "อนุรักษ์" เพื่อให้ Google / search engines วิ่งมาที่บันทึกอาจารย์บ่อยๆ

เรียนคุณหมอวัลลภ

ขอบคุณค่ะที่อาจารย์หมอเข้ามาเยี่ยม และให้คำแนะนำไว้

(สองครั้งแล้วที่อาจารย์บอกให้ใส่รูป แฮะ แฮะ ครูเล็กยังไม่พัฒนาไปถึงไหนเลยเรื่องhi techn. เนี่ยค่ะ  พยายามอยู่ค่ะ)

 ส่วนเรื่องให้เติมป้าย นั้นอยากจะเสนอตัวอยู่เหมือนกัน เกรงว่าคนเข้ามาอ่านด้วยความหลงผิดอาจจะผิดหวัง  แต่ถ้าคุณหมอเปิดทางแนะนำ อาจจะลองสักวันค่ะ

จะขอเขียนถึงประเด็นเรื่อง "นกตกใจ..."ด้วยตามที่คุณหมอตั้งสังเกตมา  

ศุภลักษณ์

หลังจากอบรมที่ ม.เกษตรฯ แล้วก็เข้ามาติดตามอยู่ครับ สรุปลูกนกที่บินออกจากรังแล้วไม่กลับรังเดิมเลยหรือครับ นกใช้เวลาหาคู่นานไหมครับ / มีตัวไหนหาคู่ไม่ได้บ้างไหมครับ ขึ้นคานอยู่ตัวเดียว ไม่รู้เหมือนคนหรือเปล่า...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท