Inside out – Outside in ชุมชนเรียนรู้ที่ทันโลก


การทำความเข้าใจในภาพรวมของการเสริมพลังชุมชนทุกระบบ จึงเป็นที่มาของการเข้าใจตนเองของชุมชน

เนื่องด้วยข้อคิดเห็นของ ดร. แสวง รวยสูงเนิน  จากบันทึกก่อนหน้านี้บันทึก การเรียนรู้จากภายใน (Inside out) ในงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทำให้ผมต้องเขียนรายละเอียดเพื่อแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม ตามประสบการณ์ที่ผมได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน  


  <p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ภาพ : เด็กชายหญิงบนดอยกำลังดูรถยนต์ของเล่นคันเล็กๆ ของเล่นแปลกใหม่ที่พวกเขาไม่ค่อยได้เห็นบ่อยครั้งนัก บนดอยสูง</p> ……………………………………. <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บันทึกก่อนผมได้เขียนเกี่ยวกับ กระบวนการเรียนรู้ผ่านการวิจัยเพื่อท้องถิ่น เน้นการเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาที่เป็นการพึ่งตนเองของท้องถิ่น สรุปความได้ว่า การเรียนรู้ตนเองเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เพราะการรู้ตนเอง นำพาไปสู่การเติมเต็ม การแก้ปัญหาท้องถิ่นได้อย่างสอดคล้องกับสภาวการณ์ แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เพราะชุมชนไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว การรวมอยู่เป็นสังคมจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารในระบบเปิด ปัจจัยต่างๆข้างนอกย่อมมีผลอย่างมากกับการเป็นไปของชุมชน…และนำมาซึ่งความอ่อนแอของชุนได้ เมื่อรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  กระแสโลกาภิวัฒน์ที่เชี่ยวกราก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">นักพัฒนาและพี่เลี้ยงโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตระหนักในส่วนของ กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนอย่างเข้มข้น และเป็นธรรมชาติ และขณะเดียวกันก็เรียนรู้การเป็นไปของโลกเคียงคู่กันไป</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เรียนรู้ตนเอง เรียนรู้โลก เพื่อการสร้างสรรค์ปัญญาในการพัฒนาท้องถิ่น  เพื่อการอยู่รอดของท้องถิ่น</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ความรู้ข้างนอก …การทำความเข้าใจอย่างละเอียด ทำให้ท้องถิ่นสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างทันท่วงทีและอย่างชาญฉลาด แทนที่กระแสที่รุนแรงจะมาทำให้ชุมชนอ่อนแอ ถูกแปรเปลี่ยนเป็นบทเรียนเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หากเอาเป้าหมายสุดท้าย (Ultimate goal) ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น อันได้แก่ การเสริมพลังอำนาจของชุมชน (Empowerment) เราต้องวิเคราะห์อีกว่า ชุมชนท้องถิ่นของเรานี้มีทุนเดิม หรือ ศักยภาพใดบ้างที่เป็นการเสริมพลังอำนาจของชุมชนได้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากประสบการณ์ที่ผมได้มีโอกาสเรียนรู้งานพัฒนาผ่านงานวิจัยชุมชน  พบว่า อย่างน้อยมี ๔ ระบบใหญ่ มีอิทธิพลต่อการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชน ได้แก่ ระบบชุมชน ระบบทรัพยากร ระบบความรู้  และ ระบบเหนือชุมชน  จากนั้นเป็นส่วนของ กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการมีส่วนร่วม (Participatory Learning Process) จะสามารถเข้าไปฟื้นฟู ยกระดับ และพัฒนาระบบชุมชน ระบบทรัพยากร ระบบความรู้ชุมชน ได้ระดับหนึ่ง แม้ว่า ระบบเหนือชุมชน อาจไม่ได้สั่นสะเทือนอะไรมากมาย แต่หากมีงานวิจัยในพื้นที่มากพอ น่าจะเกิดแรงผลักในการเคลื่อนนโยบายระดับชาติบางเรื่องได้</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p>รายละเอียด ทั้ง ๔ ระบบใหญ่ ที่จะเป็นตัวกำหนด พลังอำนาจชุมชน มีดังนี้  </p><p>๑.     ระบบชุมชน เป็นระบบคุณค่า ความเชื่อ และการจัดความสัมพันธ์ของชุมชน ที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น ที่เป็นเครื่องโยงใยสายสัมพันธ์ของคนไว้ด้วยกัน หรือที่เรียกว่า วัฒนธรรม นั่นเอง เช่น ระบบเครือญาติ ระบบอุปถัมภ์ ระบบผู้นำ ความเชื่อในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติเป็นต้น </p><p></p><p>๒.    ระบบทรัพยากร วิถีชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทนั้นอิงอยู่กับทรัพยากร ในฐานะเป็นฐานการผลิต เป็นที่มาของปัจจัย ๔ เช่น ดิน น้ำ ป่า ที่เชื่อมโยงไปสู่แหล่งอาหารธรรมชาติ ทั้งด้านพืช และด้านสัตว์ที่สัมพันธ์ กระบวนทัศน์ ของชุมชนมีต่อทรัพยากรเหล่านี้ด้วย </p><p></p><p>๓.    ระบบความรู้ ในการดำรงชีพ ภายใต้บริบทของระบบชุมชน และระบบทรัพยากรที่มีอยู่ ชุมชนได้เรียนรู้ที่จะอยู่รอดให้ได้ จึงมี การจัดการ ทั้งทรัพยากรและความสัมพันธ์ของคน จนในที่สุดความสามารถในการจัดการได้กลายเป็น องค์ความรู้ของชุมชนนั้น ที่มีอยู่ในทุกชุมชน </p><p></p><p>๔.    ระบบเหนือชุมชน เป็นระบบเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระดับชาติ จังหวัด อำเภอ ตำบล และแปรออกมาเป็นรูปนโยบายของรัฐ เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในรูปของแผนงาน โรงการผ่านงานพัฒนาที่ของรัฐส่งลงมาอย่างรวดเร็วตามโครงสร้างแนวดิ่ง สัมพันธ์กับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ที่ส่วนใหญ่มาในแนวซ้ำเติมชุมชน ตามบันทึกที่ อ.ดร.แสวง รวยสูงเนิน  ท่านได้เขียนไว้   </p><p> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จาก ๔ ระบบ พบว่า ๓ ระบบแรก ถูกลดค่าลงมาก เนื่องการกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิม กลับให้ความสนใจระบบที่ ๔ มาก(ระบบเหนือชุมชน) เพราะสัมพันธ์กับระบบผลประโยชน์และความรวดเร็ว กรอบเวลาที่จำกัด และหลายๆเหตุผล เป็น Outside in ที่ชุมชน และนักพัฒนาต้องระมัดระวังให้ดี</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">การทำความเข้าใจในภาพรวมของการเสริมพลังชุมชนทุกระบบ จึงเป็นที่มาของการเข้าใจตนเองของชุมชน ที่คนเหนือเรียก ฮู้คิง เป็น Inside Out และ Outside In ที่ประสานสอดคล้อง สมดุล นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เราได้ใช้กระบวนการเรียนรู้นี้แรกเริ่มกับชุมชน ผ่านกระบวนการพัฒนา กรณีธนาคารอาหารชุมชน(Food Bank) ปี ๒๕๔๘  เพื่อคิดแผนงาน โครงการ ที่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาท้องถิ่นที่หลากหลายและหลากกลุ่มชาติพันธุ์  และกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การวิจัยที่มีชุมชนเป็นฐาน</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"><hr></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขอบคุณภาพจาก : ลานนาโฟโต้คลับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

หมายเลขบันทึก: 76239เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2007 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • มาสนับสนุนการทำงานวิจัยท้องถิ่น
  • สนใจมาที่ครูบาสุทธินันท์ไหมครับน้องเอก

ฮู้คิง ฮู้ฮา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง...รึเปล่าคะ

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานเพื่อชุมชนอย่างคุณเอกค่ะ

น่าสนใจมากครับ อ. ขจิต ฝอยทอง  สักวันหนึ่งมีโอกาสดีๆผมจะขอไปเยี่ยมที่ครูบาสุทธินันท์ ครับ

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเพียงเครื่องมือ ส่วนหัวใจผมมองว่าน่าจะเป็นกระบวนการที่เร้าให้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ และเป็นธรรมชาติครับ

 ขอบคุณครับอาจารย์

ผมอ่าน ข้อคิดเห็นพี่ โอ๋-อโณ แล้วขำๆครับ ใช่แล้วครับ

"ฮู้คิง ฮู้ฮา" ถูกต้องละครับ หรือจะเรียกอีกศัพท์หนึ่งก็ "ฮู้เปิ้น ฮู้เฮา" (รู้เขา รู้เรา)

มาเก็บเกี่ยวกำลังใจครับ ขอบคุณครับผม

ความเข้าใจปรากฏการณ์ในชุมชนในมุมมองของคนในและคนนอก การพยายามสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของนักวิจัยท้องถิ่นที่มีใจรักงานวิจัยเช่นคุณจตุพร ขอให้กำลังใจกับการสร้างสรรค์งานต่อไปครับ

ขอบคุณท่าน ผอ. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์

มองในอีกแง่หนึ่งคือ การพยายามเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งจิตวิทยาชุมชนในแง่มุมต่างๆ

ผมยอมรับว่า งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นได้สร้างพลังจากข้างในชุมชน และเป็นพลังใหม่ที่เข้มแข็ง นั่น คือ พลังปัญญา ที่มีการค้นพบด้วยตัวชุมชนเอง

หากไม่ใช่งานวิจัย - อะไรก็ได้ที่ไม่ใช่งานวิจัย แต่ขอเป็นกระบวนการที่เข้าใจในมนุษย์ เอื้ออาทรและให้เกียรติกันครับ

ขอบคุณกำลังใจจากท่าน ผอ.ครับ

มาเป็นกำลังใจให้ทำไปได้เรื่อยๆ...ไม่มีวันเหนื่อยค่ะ..

ขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจดีๆจากพี่ติ๋ว กฤษณา สำเร็จ 

ไม่มีวันเหนื่อยครับ

ไม่ปะกันเมินนะค่ะ คุณจตุพร....มาเป็นกำลังสู้ๆเพื่อท้องถิ่นค่ะ...ครูบากำลังชักชวนชาว blog มาคุยกัน เพื่อทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมและท้องถิ่นค่ะ ...มาปะกันนะค่ะ.....ภาพสวยมากค่ะ...เดี๋ยวไปไล่ดูบันทึกก่อนหน้านี้ของคุณจตุพรก่อนนะค่ะว่ามีดอก cosmos มาฝากแล้วยัง

สวัสดีครับท่านอาจารย์ paew

ไม่เจอกันนาน ผมหรือท่านอาจารย์ไม่ทราบนะครับ ที่ห่างหายไป หรืออาจเป็นผมที่ออกตะลอนเที่ยวช่วงนี้ครับ

ผมตามไปอ่านบันทึกของ อ.ขจิต แล้วครับ ...น่าสนใจมาก ในใจอยากจะไปคาราวะท่านครูบา ท่าน ดร.แสวง ด้วย และที่สำคัญก็ปลื้มๆท่านเม็กดำ 1 อยู่ครับ

คราวที่แล้วเห็นบอกว่าจะไปงานรับปริญญาน้องสาว แล้วจะถ่ายภาพดอกไม้สวยๆมาอวด....ยังหาไม่เจอเลยค่ะ

ผมถ่ายแล้ว ยังไงก็ดูไม่สวยเท่ารูปที่อาจารย์ paew ถ่าย Cosmos ไว้ครับ ถ่ายแต่ภาพบุคคลแบบเน้นๆเลยครับ

ผมมีรูปดอกไม้ไม่กี่รูป แต่สวยน้อยกว่าของอาจารย์มาก...รู้สึกเขินๆครับ

แหมอุตส่าห์รอดูนะค่ะ....แต่ไม่เป็นไรค่ะ ได้เห็นภาพมองต่างมุมจากงานพืชสวนโลกก็คุ้มแล้วค่ะ สวยมากจริงๆค่ะ..........

  • เอ มีคนใจร้ายแอบไปอ่านแล้วไม่มีความคิดเห็นไว้
  • ยิ้ม ยิ้ม

ขอบคุณ อาจารย์ paew  ผมทำให้ความตั้งใจของอาจารย์หายไป ขออภัยจริงๆแต่ก็มีมาทดแทนนะครับ ...ภาพต่าวมุมของพืชสวนโลก

อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ติดตามของอาจารย์ทุกบันทึก แต่บางครั้งก็ไม่ได้ให้ข้อแลกเปลี่ยนครับ เพียงแต่แอบชื่นชมอยู่ห่างๆครับ

  • สวัสดีเจ้าอ้ายเอก
  • ละอ่อน 3 คน น่ารักแต๊นะเจ้า
  • มาเป๋นกำลังใจ๋หื้ออ้ายนะเจ้า
  • น้องก็อ่านทุกบันทึกเหมือนอ.ขจิต แต่บางบันทึกบ่อได้หื้อความเห็นนะเจ้า
  • ยังบ่อได้ฮับอีเมล์ตอบจากอ้ายเลยนะเจ้า

น้อง  อ้อ - สุชานาถ ครับ

ยินดีนักๆครับผม

พยายามหารูปที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอครับ บางครั้งบันทึกของผมก็อาจจะเน้นวิชาการมากไปสลับกันไป แต่ก็อยากให้มันออกมาอ่านง่ายๆไม่รู้สึกว่าอ่านงานหนักๆ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยน ส่วนอีเมลล์ผมขอรวบรวมข้อมูลแล้วผมจะส่งไปนะครับผม

คุณจตุพร

ผมได้แอบใช้เรื่องนี้ในการสอนเรื่อง การแก้ปัญหาในการทำงานร่วมกันของนักวิชาการกับชุมชนครับ

ขอบคุณมากครับ

อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

จริงๆประเด็นที่อยู่ในใจผมก็คือ การจัดการความรู้ที่อยู่ในชุมชน ผมสนใจกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ เรียนรู้แบบชาวบ้าน และ สังเคราะห์ออกมาเพื่อการพัฒนาตนเอง

แต่ความรู้ข้างนอก ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เมื่ออาจารย์ได้ทิ้งประเด็นไว้ที่บันทึกก่อน ทำให้ผมนั่งเขียนบันทึกนี้ขึ้น

เป็นเสี้ยวหนึ่งของการทำงานกับชุมชน คิดว่ามีอะไรมากกว่าที่เราเห็นกันอยู่อีกมากมาย...

ว่าด้วยเรื่อง "ศักยภาพ" ของท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับ นักวิจัย นักพัฒนา หรือ ใครที่ทำงานกับชุมชน จะมีกระบวนการเรียนรู้อย่างไร และนำศักยภาพนั้นออกมาได้อย่างไร...ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ท้าทายเป็นที่สุด

การทำงานพัฒนาทำได้ง่ายๆ แต่หากให้ยั่งยืน ไม่ใช่เรื่องง่าย เรื่องนี้คนทำงานทราบดี...

ยินดีมากครับ ที่อาจารย์ได้นำประเด็นดังกล่าวไปใช้ในการสอน คิดว่าประเด็นใหม่ๆที่ นศ. และ ผู้เรียนรู้ ที่เข้ามาต่อยอด น่าสนใจมาก ว่าเขาคิดกันอย่างไร?

ผมเองก็ยังเด็กและด้อยประสบการณ์มากครับ

ขอบคุณท่านอาจารย์ครับที่ให้โอกาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท