ใช้บล็อกเป็นสะพานเชื่อมการทำงานเข้าด้วยกันระหว่างภาคประชาชนและภาคราชการได้อย่างไร?


จะเชื่อมความรู้และประสบการณ์การพัฒนานี้เข้าด้วยกันทั้งของภาคราชการและภาคประชาชน วิธีการสร้างเครือข่ายบล็อกในภาคประชาชนนี้นั้น ผมก็จะอาศัยบุคลากรของ กศน.ผู้ที่ผมได้ไปให้การอบรม เมื่อ 19 ม.ค. 50 เป็นผู้ไปแนะนำต่อ เพราะการบ้านวันนั้นสำหรับผู้เข้ารับการอบรมคือให้ผู้เข้ารับการอบรมไปแนะนำการทำบล็อกกับบุคลากรท่านอื่นที่ทำงานร่วมกันทั้งในองค์กรตนเองและต่างองค์กรในระดับอำเภอ ตำบล และที่สำคัญที่สุดคือกับระดับกลุ่มเป้าหมายคุณกิจหรือผู้เรียนในระดับหมู่บ้าน

ผมโชคดีที่มีโอกาสไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนากับภาคประชาชนของจังหวัดนครศรีธรรมราชมาหลายครั้ง ได้เห็นอะไรที่เป็นพัฒนาการเกี่ยวกับการประสานเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เชื่อมวงเรียนรู้ให้ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างภาคประชาชน ราชการ  ซึ่งผมก็ได้เล่าเรื่องราวการเคลื่อนงานมาโดยลำดับ  และมีเรื่องน่าเล่าอีกมากมาย

ประสบการณ์การพัฒนาของภาคประชาชนไม่ว่าจะยึดพื้นที่หรือยึดประเด็นในการขับเคลื่อน อย่างหนึ่งที่ผมถอดความรู้ได้คือคนทำคนงาน คนเคลื่อนไหวกิจกรรม เป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะสูงมาก อยากทำ อยากมีส่วนร่วม แม้จะไม่มีอะไรเป็นสิ่งตอบแทนก็ตาม จึงทำให้เห็นถึงความเป็น KM ธรรมชาติ เมื่อเขาเล่าถึงประสบการณ์การทำงานของเขาแล้วมันรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติดีมากเหลือเกิน ความรู้ประสบการณ์หรือชิ้นงานเนื้องานที่เกิดขึ้นหรือได้รับนั้น ทั้งที่ประสบผลสำเร็จ ได้ตามเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม ฯลฯ เป็นสิ่งที่น่ารับฟังจริงๆครับ

ได้ฟังประสบการณ์การทำงานของ ผู้ใหญ่โกเมศร์ ประธานเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองของจังหวัดนครศรีธรมราช  จาก อ.บุญธรรม เทิดเกียรติชาติ มหาวิชชาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย พระสุวรรณ  เครือข่ายกลุ่มสัจจะฯ จากวัดป่ายาง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ฯลฯ ผมว่าท่านทั้งหลายเหล่านั้นสุดยอดมาก ทำงานทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นได้เครือข่ายมากมาย มีบทเรียนมากมายควรแก่การนำเสนอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วิสัยทัศน์จังหวัดนครศรีธรรมราชที่ว่า เมืองแห่งการเรียนรู้ ก็น่าว่าจะเป็นไปได้จริง

บล็อกคือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งที่จะนำประสบการณ์การพัฒนา หรือบทเรียนของภาคประชาชนดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวงเรียนรู้กว้างขึ้น

เท่าที่ผมทราบไม่ว่าจะเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองของผู้ใหญ่โกเมศว์ มหาวิชชาลัยชุมชนศิลปินพื้นบ้านศรีวิชัย ของอ.บุญธรรม เทิดเกียรติชาติ เครือข่ายสัจจะฯ วัดป่ายางของพระสุวรรณ ก็ล้วนมีอินเตอร์เน็ตทั้งนั้น ของเครือข่ายแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองของผู้ใหญ่โกเมศว์มีเว็ปไซต์ด้วยซ้ำ และเสียดายที่เครือข่าย ย-ม-ม-นา ของท่าน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ท่านประยงค์ รณรงค์ แห่งชุมชนไม้เรียง ไม่ได้มาร่วมด้วย แต่ผมก็ทราบจาก ผอ.วิมล วัฒนา ผอ.กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราชว่าได้ลงอินเตอร์เน็ตไว้ให้แล้ว

ผมจึงคิดว่าผมจะพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องการเปิดบล็อกในเวทีพบปะครั้งต่อไปของเครือข่ายภาคประชาชน

จะเชื่อมความรู้และประสบการณ์การพัฒนานี้เข้าด้วยกันทั้งของภาคราชการและภาคประชาชน วิธีการสร้างเครือข่ายบล็อกในภาคประชาชนนี้นั้น ผมก็จะอาศัยบุคลากรของ กศน.ผู้ที่ผมได้ไปให้การอบรม เมื่อ 19 ม.ค. 50 เป็นผู้ไปแนะนำต่อ เพราะการบ้านวันนั้นสำหรับผู้เข้ารับการอบรมคือให้ผู้เข้ารับการอบรมไปแนะนำการทำบล็อกกับบุคลากรท่านอื่นที่ทำงานร่วมกันทั้งในองค์กรตนเองและต่างองค์กรในระดับอำเภอ ตำบล และที่สำคัญที่สุดคือกับระดับกลุ่มเป้าหมายคุณกิจหรือผู้เรียนในระดับหมู่บ้าน

ผู้ที่ผ่านการอบรมไปแล้วจะไปแนะนำบล็อกให้กับภาคประชาชนได้หรือไม่ประการใด ได้เรียนรู้ เชื่อมการทำงานร่วมกันอย่างไร ก็ให้นำมานำเสนอในเวทีเสวนาของคุณลิขิตอำเภอ ของ กศน.ซึ่งได้ออกกำหนดการพบกลุ่มไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน ซึ่งผู้ที่ผ่านการอบรมวันนั้นได้เปิดและเขียนบันทึกกันหลายท่านแล้วทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการระดับอำเภอ ลองดูที่แพลนเน็ต KM สกุลเมืองคอน นะครับ

ทำได้หรือไม่อย่างไร ผมจะนำมาเล่าต่อนะครับ หากทำได้ ผมว่ามัน win - win กันทุกฝ่าย วิสัยทัศน์ของจังหวัดนครศรีฯที่ว่านครศรีธรรมราชเมืองแห่งการเรียนรู้ก็ลู่ทางแจ่มใส ในส่วนของ กศน.เอง ก็ได้ประโยชน์ตรงที่การใช้เครือข่ายมาจัดกิจกรรม กศน. ให้มากขึ้น ตนเองทำให้น้อยลง ตามยุทธศาสตร์ เครือข่ายจัด 80% กศน.จัดเอง 20% นำความรู้ประสบการณ์ของเหล่าคุณกิจชาวบ้านที่ร่วมโครงการกับเครือข่ายสกัดออกมาเพื่อการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ยกระดับปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรวัยแรงงานให้ถึง 9.5 ปี ตามยุทธศาสตร์จังหวัดได้ด้วย ......เยอะแยะมากมายครับ

บล็อกจึงคือเครื่องมือสู่วิสัยทัศน์เมืองแห่งการเรียนรู้ สู่สังคมอุดมปัญญา ที่มีประสิทธิภาพอีกแล้วครับ (ท่าน)

 

หมายเลขบันทึก: 76066เขียนเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2007 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

กราบเรียนพี่นง

 ชื่นชมกับชาวเมืองคอน ที่สรรค์สร้างสังคม

 หลายจังหวัดที่ได้ไปช่วย ได้คะแนนแล้ว หายจ้อยครับ

  • ชอบมากเลยครับพี่บ่าว
  • ผมก็ใช้ครับ แต่เป็นประชาชนมากกว่า
  • ตอนนี้แขกมามากเหลือเกินครับพี่
  • ขอบคุณมากครับที่มีเรื่องดีๆเล่าให้ฟัง
ถ้าทำอย่างนี้ได้สำเร็จ "การบ้านวันนั้นสำหรับผู้เข้ารับการอบรมคือให้ผู้เข้ารับการอบรมไปแนะนำการทำบล็อกกับบุคลากรท่านอื่นที่ทำงานร่วมกันทั้งในองค์กรตนเองและต่างองค์กรในระดับอำเภอ ตำบล และที่สำคัญที่สุดคือกับระดับกลุ่มเป้าหมายคุณกิจหรือผู้เรียนในระดับหมู่บ้าน" คงจะเป็นเครือข่ายที่ใหญ่โตมากๆ เลยนะคะ ครูนง ... กรมอนามัยตามไม่ทันแน่ๆ เลย
   ดีใจด้วยนะคะที่ยุทธศาสตร์สกัดความรู้ผ่านบล็อกของครูนง สำเร็จ และยังส่งผลให้ยุทธศาสตร์ของจังหวัดฉลุยด้วย ดีใจที่จะมีความรู้อีกมากมายผ่านบล็อกขอบคุณที่มีเรื่องและแนวคิดดี ๆ มาเล่าสู่ฟัง
มาให้กำลังใจครับ วิจารณ์

อ.คุณหมอ JJ  

อ.ดร.น้องขจิต

คุณหมอนนทลีแห่งเพื่อนร่วมทาง 

อ.สำเนียง

และ อ.หมอวิจารณ์

ขอบคุณมากครับที่แวะเข้ามาให้กำลังใจ 

       ตามเข้ามาเรียนรู้และให้กำลังใจ     โดยเฉพาะเครือข่ายชาวบล็อกสกุลเมืองคอนทุกๆ ท่านครับ

ขอบคุณน้องสิงห์ป่าสักนะครับที่เข้ามาให้กำลังใจ เมื่อไหร่เราจะได้เจอหน้าเจอตากันอีกก็ไม่รู้ แต่จะต้องไม่มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการอย่างรัดตัวเช่นงานมหกรรมฯKM3นะครับ คงคุยกันมันส์แน่ๆ KM สกุลเมืองคอนเรื่องเดียวก็สนุกแล้ว

ขอบคุณครับ 

ขอเอาใจช่วยครับ

อยากจะทราบว่าผมจะเอาอย่างได้อย่างไรด้วยครับ

ดร.แสวง ครับ

           มันจะอะไรขนาดนั้นๆๆๆๆ  เอาอย่างกันเลยหรือครับ ผมว่าผมต่างหากที่แอบเอาอย่างของอาจารย์ ชาวมหาชีวาลัยอีสาน และโรงเรียนเม็กดำ มาใช้ ....ฮ่าๆๆๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท