หัวข้อวิจัยเกี่ยวกับเบาหวาน อิ่มตัวแล้ว!!


target population ของนักศึกษาและอาจารย์ไม่ตรงกัน

ความที่ดิฉันทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จึงมักมีนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาโทมาปรึกษาเรื่องวิทยานิพนธ์ บางรายมาอบรมการจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ใจจริงบอกว่าอยากมาหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ก็มี

เมื่อสัปดาห์ก่อน เจอนักศึกษา ๒ คนมาปรึกษาว่าตนเองทำงานกับผู้ป่วยเบาหวาน แต่พอเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ อาจารย์ที่ดูแลก็บอกว่า “เรื่องเบาหวานคนทำเยอะแล้ว น่าจะทำเรื่องอื่นดีกว่า” อีกรายมาคุยทีหลังแต่ฟังแล้วดิฉันเดาได้ว่าคงเรียนที่สถาบันเดียวกับคนแรก เดาถูกเสียด้วย น้องคนนี้เล่าว่า “อาจารย์บอกว่างานวิจัยเรื่องเบาหวานอิ่มตัวแล้ว”

ปัญหาส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ target population ของนักศึกษาและอาจารย์ไม่ตรงกัน ถ้าอาจารย์สนใจกลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มผู้สูงอายุ ก็อาจจะรู้เรื่องเกี่ยวกับเบาหวานไม่ลึกพอ ขณะเดียวกันนักศึกษาก็ยังไม่ได้ focus ให้ชัดเจนว่าตนเองสนใจเรื่องอะไรเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวาน  ไม่รู้ว่ามีช่องว่างของความรู้เรื่องใดอยู่บ้าง เพราะยังทบทวนหรือวิเคราะห์ความรู้ปฏิบัติและความรู้ทฤษฏีไม่รอบด้านพอ จึงไม่สามารถยืนหยัดความคิดของตนเองได้อย่างมีเหตุผล (อ่านแล้วอย่า e-mail มาถามหัวข้อนะคะ ไม่ตอบแน่นอน)

การที่นักศึกษามี target population ที่ชัดเจนและแน่นอนว่าเขาจะกลับไปทำงานกับประชากรกลุ่มนี้ต่อ น่าจะเป็นเรื่องที่ดีมากกว่าจะให้ไปทำวิจัยในกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้อง อาจารย์มีหน้าที่ให้คำปรึกษา ชี้แนะให้แนวทาง แนะนำแหล่งประโยชน์ทั้งในด้านของแหล่งศึกษาค้นคว้าและแหล่งประโยชน์ด้านตัวบุคคล และสนับสนุนให้ทำงานต่อได้

คำตอบปัดๆ ว่า “เยอะแล้ว” “อิ่มตัวแล้ว” สร้างความวิตกกังวลและสับสนกับนักศึกษา เกิดความสองจิตสองใจว่า “เอาตามอาจารย์เขาว่าดีไหม จะได้เรียนจบ” โดยส่วนตัวดิฉันเชื่อว่าไม่มีความรู้เรื่องใดที่อิ่มตัวแล้ว และคงไม่มีอาจารย์ท่านใดที่รู้ดีไปทุกเรื่อง ทางออกที่น่าจะช่วยได้คือช่วยตั้งคำถามให้นักศึกษาได้คิด ตั้งคำถามหลายๆ ครั้ง จากกว้างไปแคบ จากผิวๆ จนลงลึก ในที่สุดก็น่าจะได้โจทย์วิจัยที่เหมาะสม

วัลลา ตันตโยทัย วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐

หมายเลขบันทึก: 75776เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ.วิบุลเขียนต่อยอดบันทึกนี้ไว้ที่ http://gotoknow.org/blog/wwibul/75796 

ส่วนดิฉันคิดเห็นว่า เยาวชนไทยยังขาดทักษะในการคิดโจทย์วิจัยหรือโจทย์ในการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ค่ะ

การฝึกเขียน ฝึกอ่าน และ ฝึกฟัง จะเป็นตัวช่วยในการฝึกคิดที่ดีค่ะ

 

ขอบคุณอาจารย์วิบูลย์และอาจารย์จันทวรรณค่ะ ปัญหาของนักศึกษาบางส่วนก็เพราะไม่มีเวลาฝึกเขียน ฝึกอ่าน ฝึกฟัง และฝึกคิดมากพอ เพราะเวลาปกติก็ทำงานประจำ เรียนวันเสาร์-อาทิตย์

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะทำให้หนูมีกำลังใจที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับเบาหวานมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท