เท่าที่ทราบพระไทยปลิดชีวิตโดยการเผาตนเองน้อยมาก


คือช่วงนี้ผมสนใจเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าตัวตายหน่ะครับ มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ผมหาข้อมูลไม่เจอ เพราะนานมาแล้วที่ทราบว่าใครพอจะมีข้อมูลหรือคำแนะนำบ้างครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง

เท่าที่ผมทราบจากประวัติศาสตร์พระไทยที่จะเผาตัวเองเมื่อคิดว่าตนเองบรรลุ เป็นอรหันต์แล้วมีน้อยมาก รายที่ผมได้ยินบ่อยๆ คือสมัยร.5-6 อีกครั้งก็สัก 10 กว่าปีก่อนที่ทางเหนือหรือเปล่า (ไม่แน่ใจครับ) ขณะที่ทางมหายานเขาทำกันเยอะกว่า
ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้จะพอให้ข้อมูลในเรื่องนี้ได้ไหมครับ ผมเองก็จนด้วยเกล้า ไม่รู้จะไปหาที่ไหน  เอาเฉพาะเรื่องพระฆ่าตัวตายในปัจจุบัน (รัตนโกสินทร์) เพราะคิดว่าบรรลุนะครับ หรือถ้ามีแหล่งที่คิดว่าผมจะสืบค้นได้ก็กรุณาแนะนำด้วยครับ

thanks in advance

หมายเลขบันทึก: 75622เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2007 00:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
คุณหมอคะ...ไม่มีข้อมูลค่ะ แต่จะลองถามให้ แวะมาทักทายค่ะ

ขอบคุณครับ ดีใจครับที่เจออ.ลูกหว้าคอยตรวจตราพี่ๆ น้องๆ ให้พวกเราอุ่นใจ

^O^

คุณหมอ...

เข้ามาอ่านนะครับ ปรกติก็เข้ามาอ่านบันทึกคุณหมอประจำ โดยเฉพาะเรื่องการนอน เรืองการจัดประเภทคนก็เคยเข้าไปอ่าน

ไม่ค่อยได้ทราบข่าวตามคุณหมอว่า เคยอ่านเรื่องพระญวนเผาตัวเองในสมัยก่อนมีเยอะ แต่เป็นด้านการเมือง มิใช่เรื่องเข้าใจผิดว่าบรรลุธรรม...

ประวัติศาสตร์ทางพระพุทธศาสนา เท่าที่พบมาก็มีน้อยมาก พอจะนึกได้ก็เรื่องพระอานนท์ ที่ท่านเข้าเตโชสมาบัติเผาตัวเอง โดยอธิษฐานจิตให้พระธาตุของท่านแบ่งออกเพื่อประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ... (จำไม่ค่อยได้แล้ว)

เจริญพร

ท่านBM.chaiwut ครับ ช่วงนี้ผมจะเขียนเรื่องพุทธศานากับการฆ่าตัวตายครับ เท่าที่อ่านตอนนี้ได้ข้อมูลดีๆ เยอะเลยครับ ต้องขอบคุณ  internet--google จริงๆ ทำให้เรื่องที่ถ้าเมื่อก่อนผมต้องเสียเวลาเป็นสัปดาห์ไปขอเรื่องตามที่ต่างๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง  ตอนนี้แค่อยู่บ้าน กดๆ ข้อมูลก็วิ่งมาหาเราแล้ว 
ที่ต้องขอบคุณที่สุดคือ ผู้ที่มีใจปรารถนาดีอยากให้คนอื่นได้รับรู้ข้อมูลดีๆ เพราะถ้ามีแต่ google แต่ไม่มีเนื้อให้หาก็ ... จบ...

พอค้นไปค้นมาก็เจออยู่สองเรื่องที่น่าสนใจจากพระธรรมปิฎก _/l\_  (ถ้าเป็นสมัยผมเรียนอยู่จะต้องไปคุ้นที่มหาจุฬาลงกรณ์ อย่างน้อยสัก 2-3 วัน คัดลอกลงสมุดมา

ในพระธรรมปิฎกฉบับดับทุกข์ , ธรรมรักษา จัดทำ ,สำนักพิมพ์สติ จัดพิมพ์จำหน่าย

1.คนที่ฆ่าตัวตายแล้วไปนิพพานก็มี พระวักกลิท่านเป็นโสดามาก่อน ภายหลังท่านเจริญฌาน พอออกจากฌานแล้ว ท่านก็เอามีดเชือดคอคนเอง แล้วก็เอาทุกขเวทนานั้นแหละเป็นอารมณ์เจริญวิปัสนา จนบรรลุเป็นพระอรหันต์และนิพพานเลย

อีกรายคือท่านฉันนะ นี่ก็มีรายละเอรยดเยอะเหมือนกัน

 

การฆ่าตัวตายไม่บาปหรอครับ แล้วจะช่วยให้นิพพานได้จริงๆหรอครับ เพราะถ้าเราเป็นคนที่รักของใครซักคน(เช่นคุณพ่อ คุณแม่) แล้วฆ่าตัวตาย ซึ่งส่งผลให้ พ่อ แม่ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของลูกเสียใจ ผมว่าน่าจะบาปหนาและไม่น่าบรรลุไปนิพพานได้ครับ

  • เท่าที่เคยอ่านเจอ พระพุทธเจ้าตำหนิพระที่ฆ่าตัวตายครับ

ผมคัดลอกมานะครับ  ...

             [๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ ความเป็นผู้ไม่ควรตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ ฯ             สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตำหนิอยู่ ฯ             [๗๕๓] พ. ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ดูกรสารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ฉันโนวาทสูตร ที่ ๒

 

  • ตอนเด็ก ๆ เคยอ่านเจอที่เขาเขียนถึงกรณีพระฆ่าตัวตายหมู่ในยุคพุทธกาลนะครับ เหมือนกับไม่ได้มีเพียงกรณีนี้ เป็นกรณีที่มีผลตามมามาก แต่ผมจำไม่ได้แล้ว..
  • ไม่อย่างนั้นจะ "งดงามในเบื้องต้น เบื้องกลาง และเบื้องปลาย" ได้หรือครับ ?
  • มารับทราบเป็นความรู้ค่ะ
  • แต่เดิมมา ไม่มีข้อมูล หรือความรู้เรื่องเหล่านี้เลยเช่นกัน
  • ขอบคุณค่ะ ^__^

ในประเด็นที่คุณหมอกำลังศึกษา และตั้งคำถามอยู่ในบันทึกนั้น ไม่มีข้อมูลให้ค่ะ

 

แต่จะขอน้อมบอกคุณหมอด้วยความเคารพ  ด้วยการอัญเชิญพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสกับพระอานนท์มาอีกทีว่า

 

"ธรรมอันใด ก็ไม่อาจทำให้แจ้งไปได้ ด้วยการถาม ตอบ  แต่จะต้องน้อมนำมาปฏิบัติเองให้เข้าใจ แล้วจะหายสงสัย"

 

ที่ตอบอย่างนี้  เพราะกำลัง "สงสัย" ตะหงิด ๆ น่ะค่ะว่า  เราถกกันไปจนโลกแตก  ก็อาจจะไม่มีวันเข้าใจนัยยะ ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสกับพระสารีบุตร  และทรงเข้าใจกันเอง

 

เพราะนั่นเป็นวิสัยที่ผู้ที่มีสติปัญญาเต็มรอบแล้ว สนทนากัน

 

เรายังปัญญาทึบอยู่ขนาดนี้  ต่อให้ยกคำพูดมาทั้งกระบิ  ก็ไม่มีวันที่จะเข้าใจกระจ่างแจ้งหรอกค่ะ

 

อุปมาเหมือนยกสูตรทฤษฏีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์มา  ใคร ๆ ก็ทราบว่า มันเขียนออกมาหน้าตาอย่างไรใช่ไหมคะ  อี เท่ากับ เอ็มซี กำลังสอง

 

เสร็จแล้วก็นั่งมองสูตรกันตาแป๋วไปมา  หรือไม่ก็มองตาปริบ ๆ

 

เข้าใจแล้วใช่ไหมคะ (ว่าทำไมเราถึงยังไม่เข้าใจ)

 

ฉันใด ก็ฉันนั้น

 

ส่วนตัวนั้น สันนิษฐานตามระดับคนปัญญาหนาว่า กรณีนายฉันนะ  อาจจะคล้าย ๆ กับที่ท่านธรรมปิฎก อธิบายไว้ค่ะ

 

นั่นก็คือ อาจจะใช้เวทนา  เป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา  จนร่างกายธาตุขันธ์แตกดับไป

 

แต่พระไตรปิฎกบันทึกไว้เพียงว่า  นำเอาศาสตรามา "ฆ่าตัวเสียแล้ว"

 

เหมือนกับอ่านสำนวนบันทึกคดีฆาตกรรมน่ะค่ะ  ต้องตีความ

 

ในการอ่านพระไตรปิฎก  ท่านให้ไปอ่านอรรถกถาตีความเอาน่ะค่ะ

 

ถ้าไม่กระจ่างพอ  ก็ไปดูฎีกาอีกที

 

ถ้ายังไม่พอ  ก็ว่ากันไปถึงอนุฎีกามั้งคะ  ถ้าจำไม่ผิด

 

แต่อย่าลืมนะคะว่า  เป็นการตีความในเชิงปริยัติ  ถึงแม้ว่า จริงอยู่ ท่านผู้เขียน หลายท่านอาจบรรลุธรรมขั้นสูง

 

แต่เราผู้อ่าน ก็ยังปัญญาทึบอยู่ดี (ส่วนมากน่ะนะคะ เหมาเอา)

 

เพราะการ เอาศาสตรามา "ฆ่าตัว" นั้น มีนัยยะอย่างลึกซึ้งได้อีกเยอะน่ะค่ะ  ถ้าศึกษากันไปจริง ๆ แล้ว

 

พระพุทธองค์เองก็ทรงเอ่ยอยู่ในที่คุณหมอยกมาน่ะนะคะ

 

เช่น "...บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่"

 

ฟังดูเหมือน  ฉันนะภิกษุ  ท่านเข้าข่ายบรรลุธรรมในขณะที่ดับขันธ์น่ะค่ะ  เพราะ ทิ้งกายนี้แล้วไม่ยึดมั่นกายอื่นต่อ  และคงเป็นอรหันต์ในลักษณะที่เจริญเวทนา คือ พอเวทนาดับปุ๊บ กิเลสดับปั๊บ สำเร็จเป็นอรหันต์ พร้อมธาตุขันธ์ดับไปด้วยเลย  อย่างนี้ในสมัยพุทธกาลก็มีเยอะค่ะ  มีคำบาลีเรียกเฉพาะด้วย  แต่ลืมไปแล้วค่ะ อยู่ในข้อสอบนักธรรมโทนานแล้ว แหะ ๆ  ขี้เกียจไปค้นหนังสือ  คุณหมอไปค้น Google เอาเองนะคะ  เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้กองสอบบาลีสนามหลวงมีเวบไซต์

 

ประเด็นฆ่าตัวตายของคุณหมอนั้น  ขอไม่ตอบแล้วกันนะคะ  แต่จะเล่าให้ฟังเฉย ๆ ว่า  พระภิกษุที่บรรลุธรรมชั้นสูงนั้น  ท่านสามารถอธิษฐานจิตให้ร่างกายท่านเกิดเตโชธาตุ "ขึ้นได้เอง" ค่ะ  ไม่ต้องไปจุดไฟเผา  และโดยมากมักจะอธิษฐานให้เกิดขึ้นหลังจากดับขันธ์ไปแล้ว  หรือเข้าเตโชสมาบัติ  เหมือนที่พระคุณเจ้าท่านยกตัวอย่างพระอานนท์  ซึ่งนับว่าเป็นการเข้าปรินิพพานที่ spectacular ที่สุดเมื่อเทียบกับพระอรหันต์องค์อื่น ๆ เลยล่ะค่ะ  คือจากไปด้วย firework เลยทีเดียว  เพราะไม่ต้องการให้ญาติ ๆ ทั้งสองฝ่ายแย่งอัฐิกันนั่นเอง 

 

ถ้าคุณหมออยากทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ เตโชสมาบัติ  พร้อมกับตัวอย่างจริง จากพระในสมัยไม่กี่ร้อยปีนี้ มีอะไรอย่างไรบ้าง  มาฟังในคอร์สที่วิปัสสนาเชียงใหม่ได้ค่ะ  จะอยู่ในธรรมบรรยายเรื่อง "วิปัสสนาวงศ์" เช้าวันที่ ๒ ของการปฏิบัติ  อ.ศิริพร กรรณกุลสุนทร  ภรรยาอ.พิชัย จะเป็นผู้บรรยายค่ะ

 

จริง ๆ แล้ว ต่อให้เป็นคนธรรมดา ที่มีศีล ๕ บริสุทธิ์  ถ้าเดินป่าไปเห็นโครงกระดูกอยู่  แล้วอยากทราบว่า  นี่เป็นโครงกระดูกของพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ มาเจริญความเพียรจนร่างกายดับธาตุขันธ์ไปหรือเปล่า  ก็อธิษฐานได้ค่ะ  ถ้าใช่  ไฟก็จะลุกเอง

 

เชื่อไม่เชื่อ  ก็ต้องพิสูจน์เองน่ะค่ะ  ของอย่างนี้  เขามีไว้ให้พิสูจน์  ไม่ได้มีไว้ให้ถก

 

แต่รับรองว่าปฏิบัติธรรมอย่างถูกวิธี แค่ ๗ วันนี้ เข้าใจเรื่อง เตโชธาตุที่มีอยู่ในตัวแน่นอน โดยไม่ต้องเปิดดิคของท่านธรรมปิฎก

 

อย่าไปเผลอสติเล่นกับ เตโช ในตัวก็แล้วกันค่ะ  เขาถึงว่า วิชานี้ต้องมีครูบาอาจารย์คอยช่วยปรับอินทรีย์

 

เพราะว่า เล่นกับไฟนั้น มันร้อนน่ะค่ะ 

 

การที่มีบางท่าน บางรูป ฆ่าตัวตายไปจริง ๆ หรือเพี้ยน ๆ ไป  ก็เพราะไม่ได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์เวลาฝึกเจริญภาวนานี่แหละค่ะ

 

สตินั้น สำคัญฉะนี้  (หาใช่สมาธิ อย่างที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจไม่)

 

ขอให้คุณหมอได้ข้อมูลอย่างที่ต้องการนะคะ  แต่ว่าถ้ามีโอกาส  ลองมาฝึกเจริญสติก่อน  ก็จะเยี่ยมมากเลยค่ะ  เพราะจะได้อะไรออกไปต่อยอดที่คุณหมอมีอยู่แล้วอีกเยอะ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

นักเรียนอนุบาล วิชาว่าด้วยการฝึกใจของพระพุทธเจ้า

ขอบคุณครับสำหรับข้อคิด
สำหรับ ข้อความที่ว่า

 ... แต่พระไตรปิฎกบันทึกไว้เพียงว่า  นำเอาศาสตรามา "ฆ่าตัวเสียแล้ว" เหมือนกับอ่านสำนวนบันทึกคดีฆาตกรรมน่ะค่ะ  ต้องตีความ ในการอ่านพระไตรปิฎก  ท่านให้ไปอ่านอรรถกถาตีความเอาน่ะค่ะ ..

ผมค้นดูแล้วครับ มีหลาย version มากเขียนไม่ตรงกันในรายละเอียด ของฉบับภาษาอังกฤษก็ไม่ตรงกับไทย เขาเขียนว่า

The Buddha said, "For whoso Sariputta, lays down one body and takes up another body, of him I say, "he is to blame." But not so with the brother Channa. Without reproach was the knife used by the brother Channa." (Ibid)

เพราะฉะนั้นเอาเนื้อหาการเขียนมาตีประเด็นแบบภาษากฎหมายคงไม่ได้ ผมถามเป็นประเด็น for academic interest ส่วนในการปฏิบัติจริงๆ เรื่องนี้คงไม่เป็นสาระสำคัญอย่างที่คุณณัชรพูด

จริง ๆ แล้วถ้าจะศึกษาพระไตรปิฎกจริง ๆ  จะต้องศึกษาจากต้นฉบับ คือ พระบาลีน่ะค่ะ  คิดว่าไม่สามารถเทียบเอาจากไทย หรือ อังกฤษ ได้  เพราะติดขัดด้านเงื่อนไขทางภาษา

 

ประโยคสุดท้ายที่ภาษาอังกฤษแปลมา  ฟังราวกับว่า  มีดนั้นไม่สมควรถูกตำหนิอย่างนั้นน่ะค่ะ 

 

จริง ๆ แล้ว ถ้าเป็นต้นฉบับภาษาบาลี  พระไตรปิฎกจะไพเราะ และ กระชับมากนะคะ 

 

หลายส่วนยิ่งกว่าบทกวีอีก  เพราะไม่ใช่แค่ภาษาสวย  แต่เนื้อหาสวยยิ่งกว่า

 

แต่ความยากก็ไม่ต้องพูดถึง  โดยเฉพาะในส่วนพระอภิธรรม ซึ่งว่ากันว่า  เป็นธรรมระดับเทวดานู่น 

 

เพราะและต่อให้เป็นบาลีเอง  อย่างที่ว่า  พระไตรปิฎกเอง  ก็ลึกซึ้งขนาดท่านต้องมีอรรถกถาออกมาอธิบาย  แล้วก็มีฎีกาออกมาขยายอรรถกถาอีกที  อย่างนี้เรื่อยไป

 

สภาวะจิตที่คุณหมอศึกษา สำหรับกรณีพระฆ่าตัวตายโดยเฉพาะนี่  จะเอาเฉพาะอารมณ์เผาตัวเองหรือคะ?

 

เพราะจะทำเป็นกรณีศึกษาเพื่อเทียบเคียงกับข้อมูลที่บอกว่าหาได้ง่ายกว่าในมหายานน่ะหรือคะ?

 

จริง ๆ แล้ว ตัวเองไม่ได้มีความรู้อะไรเรื่องนี้เลยล่ะค่ะ แต่เดาเอาว่า จิตที่หดหู่ ผลักไส ไม่เอาแล้วนี่ น่าจะสงเคราะห์เป็น โทสะจริตทั้งหมด

 

บวกกับโมหะไปอีก  คือหลงว่า ตายไปแล้วจะดีขึ้น

 

คือกิเลสนั้นส่วนใหญ่แล้ว  ไม่ว่าจะอารมณ์ไหน  น่าจะมีโมหะผสมไปด้วยเสมอน่ะนะคะ  เดาเอา

 

คือประมาณว่า หลงเข้าใจผิดไปนั่นเอง

 

ไม่ว่าจะฆ่าตัวตายด้วยการเผาตัวเอง  หรือว่า ด้วยวิธีใด  ก็ "น่าจะ" เป็นไปด้วยสองตัวนั้น  

 

นั่นคือกรณีที่ว่าตามป้ายคำหลักของคุณหมอน่ะนะคะ  ที่ว่า ภาวะอารมณ์เศร้า

 

แต่ถ้าเป็นอาการที่คิดว่าบรรลุนั้น  มันซับซ้อนแนบเนียนมากน่ะค่ะ

 

หลอกได้แม้นกระทั่งกับพระ  ว่ากันขนาดนั้น

 

ถึงว่าวิชานี้  ต้องอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์

 

เพราะเรื่องใจนั้น  ใครนึกว่าอยู่กับตัว  แล้วรู้จักใจตัวดีแล้วนั้น  ก็หาเป็นเช่นนั้นไม่

 

น่ากลัวขนาดใจตัว หลอกให้ฆ่าตัวได้นี่  ก็นึกเองแล้วกันค่ะว่า  น่ากลัวขนาดไหน

 

จากผู้ที่ฝึกจิต  เพื่อจะไป "ฆ่ากิเลส" ด้วยซ้ำ

 

วิบากของพระท่านที่ปฏิบัติด้วยตนเอง  แล้วเกิดวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมา แล้วเกิดจุดไฟเผาตนเองไปนั้น  เราก็ไปวิพากษ์ก็ไม่ได้หรอกค่ะ

 

เรื่องกรรมของแต่ละนั้น ลึกซึ้งเหลือเกิน  ท่านสร้างเรามาอย่างไร  เราก็ไม่ทราบได้

 

แต่สิ่งที่เราเรียนรู้ได้ ก็คือ  แรงใด เสมอด้วย แรงกรรม นั้นไม่มี

 

ซึ่งดูเหมือนประโยคนี้ คำบาลี จะไพเราะ และ กระชับกว่าด้วยซ้ำ

 

ว่าแล้วยกมาเสียหน่อย  

 

นัตถิ กัมมัง สะมะ พลัง

 

ท้ายที่สุดแล้ว ทุกคำตอบ ของการฆ่าตัวตาย  ไม่ว่าจะพระ หรือฆราวาส  ไม่ว่าจะยุคนี้ หรือยุคไหน  ก็คือประโยคนี้นั่นเองล่ะค่ะ

 

สวัสดีค่ะ,

 

ณัชร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท