เล่าสู่กันฟัง


ค่าเสื่อมราคา

การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร     

สินทรัพย์ย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้นมูลค่าของสินทรัพย์ที่ซื้อมาใหม่ๆ กับสินทรัพย์ที่ใช้งานไปแล้วจึงมีค่าไม่เท่ากัน ผลแตกต่างของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีผลทำให้มูลค่าสินทรัพย์เหล่านั้นลดลง เรียกว่า ค่าเสื่อมราคา ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นฐานปรับมูลค่าของสินทรัพย์ให้มีราคาใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงที่สุด(ราคาตลาด) ปัจจัยในการคำนวณค่าเสื่อมราคาขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ

1.  อายุประโยชน์ (Economic life หรือ Service life) เกิดขึ้นจากการคาดคะเนโดยผู้เชี่ยวชาญโดยปกติมักจะคาดคะเนเป็นระยะเวลาในการใช้งาน เช่น จำนวนชั่วโมง จำนวนเดือน หรือ จำนวนปี หรืออาจวัดเป็นจำนวนผลผลิต เช่น ตัน  ไมล์  กล่อง เป็นต้น

2.  ฐานในการคำนวณค่าเสื่อมราคา (Depreciation Base) หมายถึงราคาทุน (Acquisition Cost)ของสินทรัพย์ หากคาดว่ามีราคาซาก (Salvage value) ที่จะขายได้ หลังเลิกใช้ให้นำมาหักออกจากราคาทุนของสินทรัพย์ เพื่อให้ได้มูลค่าของสินทรัพย์ที่จะใช้อย่างแท้จริง

                 3.  วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา (Depreciation Method) เป็นปัจจัยที่ควรเลือกให้เหมาะสมกับสินทรัพย์นั้น โดยต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งาน และลักษณะความเสื่อมค่าของสินทรัพย์

ประเภทการคำนวณค่าเสื่อมราคา

1.  วิธีคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับสินทรัพย์รายชิ้น เป็นสินทรัพย์ที่ระบุราคาทุนได้แน่นอน ราคาทุนค่อนข้างสูง อายุการใช้งานนาน ได้แก่ อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น

มีวิธีการคำนวณดังนี้.-

1.1 วิธีเส้นตรง (Straight – line method) แบ่งราคาทุนออกเป็นค่าเสื่อมราคาในอัตราเท่าๆ กัน ทุกปี เหมาะกับสินทรัพย์ที่ใช้ประโยชน์สม่ำเสมอตลอดปี เช่น อาคารสำนักงาน เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น

1.2 วิธีชั่วโมงทำงาน (Working – hours  method) กำหนดขึ้นจากการใช้เฉลี่ยตามเวลาเป็นชั่วโมง  ถือว่าผลประโยชน์ที่รับจากการใช้สินทรัพย์แต่ละปีไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับระยะเวลาการใช้สินทรัพย์ เช่น เครื่องจักร เป็นต้น (อัตราค่าเสื่อมราคา =  ราคาทุนสินทรัพย์ / จำนวนชั่วโมงที่คาดว่าจะใช้ได้ทั้งสิ้น เช่น 5 บาท ต่อ ชั่วโมง ถ้าใช้เครื่องจักร 1,000 ชั่วโมง ค่าเสื่อมราคา คือ 5,000 บาท )

1.3  วิธีคำนวณตามผลผลิต (Productive - output method) คล้ายกับวิธีชั่วโมงทำงาน แต่จะใช้จำนวนผลผลิต หรือ จำนวนสินค้าที่จะได้รับจากการใช้สินทรัพย์แทนชั่วโมงทำงาน 

   1.4 วิธียอดคงเหลือลดลง (Declining balance method) ถือว่าสินทรัพย์ที่ซื้อเข้ามาใหม่จะมีประสิทธิภาพใช้งานได้สูงกว่าในช่วงเวลาหลัง ดังนั้นค่าเสื่อมราคาในปีแรกๆ ของการใช้งานควรจะมีจำนวนสูง อาจเนื่องจากราคาตลาดลดลงอย่างมาก เช่นรถยนต์ เป็นต้น ได้จากการนำอัตราร้อยละที่คงที่คูณกับมูลค่าคงเหลือตามบัญชี  (Book value)  ของสินทรัพย์  หรือ อัตราเป็นสองเท่าของวิธีเส้นตรง

ปีที่         ค่าเสื่อมราคา                     ราคาซาก          ค่าเสื่อมราคาสะสม            

1             20% 100,000  =  20,000         -                           20,000

            20% 80,000    =  16,000         -                           36,000

3             20% 64,000    =  12,800         -                           48,800

4             20% 51,200    =  10,240         -                           59,040

5             20% 40,960    =    8,192       32,768                  67,232

1.5 วิธีผลรวมของจำนวนปี (Sum of the year digit  method) เป็นวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาให้มีจำนวนลดลงอย่างสม่ำเสมอ โดยลดลงไปตามส่วนของอายุงานที่เหลือ ต่อ ผลรวมของจำนวนปีที่ใช้งานคูณด้วยราคาทุนหักราคาซาก (ถ้ามี)

ปีที่              อายุใช้งานที่เหลือ          อัตราส่วน                     ค่าเสื่อมราคา1                      5                                       5/15                             5/15*112,500

                                                                                                       =  37,500

2                       4                                      4/15                                  30,000

3                       3                                      3/15                                  22,500

4                       2                                      2/15                                  15,000

5                       1                                      1/15                                    7,500

                          15                                                                           112,500

           1.6 วิธีดอกเบี้ย  (Interest or annuity method) ปรับแนวคิดมาจากมูลค่าปัจจุบัน (Present value) ดังนั้นค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีควรวัดด้วยมูลค่าปัจจุบัน โดยเมื่อใช้ตารางมูลค่าปัจจุบันแล้วจะได้ค่าเสื่อมราคาแต่ละปี

 2.  วิธีคิดค่าเสื่อมราคาเป็นรายกลุ่ม ใช้กับสินทรัพย์ขนาดเล็กที่ซื้อเข้ามาพร้อมกันจำนวนมาก    มีลักษณะเหมือนกัน ราคาทุนเท่ากัน ข้อเท็จจริงความเสื่อมของสินทรัพย์ย่อมไม่เท่ากันทุกชิ้นขึ้นกับการใช้งานจริง แต่เพื่อความสะดวกในการคิดค่าเสื่อมราคา จึงนิยมใช้วิธีคิดค่าเสื่อมราคารวมเป็นกลุ่มเดียวกัน หรืออัตราค่าเสื่อมราคาเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงการใช้งานที่ต่างกัน

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 75485เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอบคุณมากครับ เพราะคำนี้ใช้กับ QA มากพอสมควรครับ "ค่าเสื่อมราคา"

แนะนำให้ปรับชื่อเรื่องบันทึก จาก "เล่าสู่กันฟัง" เป็น การคำนวณค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวร   ค่ะ

เป็นบันทึกที่มีประโยชน์มากค่ะ และบันทึกได้เรียบร้อยสวยงามน่าอ่านทีเดียว  : )

ในเรื่องการคิดค่าเสื่อมราคา ในบริษัทหนึ่งเราสามารถเลือกใช้หลายวิธีเพื่อคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ที่แตกต่างกันได้ใช่มั้ยคะ

 และถ้าหากต้องการใช้วิธีเดียวเช่นวิธีเส้นตรงในทุกๆการคำนวณของสินทรัพย์ทุกชนิดได้มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยนะคะ สำหรับข้อมูล เป็นประโยชน์มากจริงๆเพราะตอนนี้กำลังอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้พอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท