Follow up โรงเรียนกุ้งชีวภาพ


งานบางอย่างธกส.ก็คิดดีได้ แต่จะให้ได้ดั่งใจ เรา ต้องเข้าไปช่วย

เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ที่ผ่านมา ทีมประชาสัมพันธ์โดยคุณ ตุ่ม น้ำ อาทิตย์ และทีมสคส. คุณอ้อ และน้องสาวที่ตัวใหญ่กว่า เดินทางไปดูงานของ กลุ่มโรงเรียนกุ้งชีวิภาพ ที่อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

ขอสรุปบางแง่มุมที่ดิฉันพอจะจับมันได้ดั้งนี้ค่ะ ส่วนผู้ร่วมเดินทางคนอื่นๆ เห็นอย่างไร ช่วยกันเติมเต็มด้วย

โรงเรียนกุ้งชีวภาพ แห่งนี้นับเป็นโครงการที่คิดขึ้นโดย ธกส. และที่อ.บ้านสร้างนี้ก็เป็นโรงเรียนนำร่อง เขาตั้งเป้าไว้จะตั้ง 5 โรงเรียนแต่ขณะนี้ตั้งไปได้ 2 โรงเรียน อีก 3 โรงเรียน ยังขาดน้ำอยู่ เรียนจบมาแล้ว 1 รุ่น ขณะนี้รุ่นที่ 2 กำลังเรียนอยู่

เหตุที่มีรุ่นที่ 2 ก็เพราะว่าต้องการจะยืนยันว่าการเลี้ยงกุ้งแบบชีวภาพมันทำได้จริงๆ และเป็นการยืนยันว่า นักเรียนรุ่นที่ 1 ไม่ได้ฟรุ๊กที่ทำสำเร็จ

เวลาที่นัดการมาเรียนคือ เดือนละ 2 ครั้ง และจะมีการประชุมวงใหญ่ทุกโรงเรียนทุกๆ เดือน เดือนละ 1 ครั้ง

แหล่งความรู้ที่นร.กุ้งไปเอามา คือ (อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตเป็นเจ้าหน้าที่โครงการหลวงของในหลวง แต่เมื่อออกมาก็สนใจเรื่องสมุนไพร ที่ใช้ในการเกษตร ท่านจึงมีสูตรสมุนไพร และหน้ำหมักหลายๆ สูตร เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรกรหลายแห่งในภาคตะวันออก)

นอกจากนี้ก็มีแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ที่ อ.ขรุง จ.จันทบุรี มีนางมาลัย เป็นหัวหน้ากลุ่ม เขาไปดูเรื่องการทำอาหารกุ้งกัน กลับมาก็มาทำให้ใหญ่กว่ากลุ่มที่จันทบุรี แล้วกลุ่มจันทบุรี ก็มาดูงานที่ บ้านสร้างบ้าง ก็ได้ไอเดีย ก็กลับไปปรับปรุงให้ใหญ่และดีกว่าที่บ้านสร้างไปอีก (ดูเหมือน 2 ที่นี้จะเรียนรู้และปรับใช้ความรู้ซึ่งกันและกัน)

ความรู้ที่ได้ระหว่างเรียน อาทิ นายสายัณห์ หลังจากไปได้สูตรสมุนไพรจา อ.วิวัฒน์ แล้วยังคิดยาใหม่ๆ ขึ้นเองเพื่อแก้ปัญหาโรคกุ้ง เช่นเอาขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจรมาใช้ป้องกันไวรัส, ใช้ยาเขียวที่คนกินใช้แก้โรคจุดขาวเบื่ออาหาร

เสลดพังพอน ฟ้าทลายโจร เปลือกมังคุดใช้ป้องกันไวรัส , บรเพร็ช บำรุงตับกุ้ง หรือขมิ้นชัน และลูกยอก็บำรุงตับกุ้งเช่นกัน

โรงเรียนกุ้งที่เราไปดูงานนี้มีสมาชิกทั้งสิ้น 7 คน มีนางบังอร มั่งมี เป็นหัวหน้ากลุ่ม มีสมาชิกอีก 6 คนประกอบด้วย นายสายัณห์ มั่งมี, นายประทุม เทพศาสตรา, นายประจวบ โหงมาลัย (ไม่มา), นายสำราญ เขียวฉอ้อน, นางหลอด มันหอม (ไม่มา), นางสมบัติ แหลมผึ้ง(ไม่มา) และนนายชาลี เกษจรัส

นายสายัณห์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่ธกส. จะเข้ามาสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ร่วมกันเป็นแบบโรงเรียน ตนเองและภรรยาก็ได้ทดลองใช้สมุนไพรมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยได้ความรู้จากลูกสาวที่เรียนรู้มาว่าสารเคมีในการทำนากุ้งจะสะสมในร่างกายอย่างไร ประกอบกับครอบครัวก็ล้มป่วยกันทั้งครอบครัว จึงมีความระมัดระวังเรื่องนี้มากขึ้น เมื่อก่อนต่างคนต่างทำไม่รู้ว่าสูตรเพื่อนบ้านเป็นอย่างไร แต่ตอนนี้ได้มาเข้าโรงเรียนก็มีความรู้เยอะขึ้น ไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย

บุคคลเด่น คือ "นางบังอร มั่งมี" เธอมีลักษณะของคนช่างสังเกต ช่างค้นคว้า เห็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นนักเล่าเรื่องที่ละเอียดมากๆ เธอจะจับรายละเอียดได้ทุกมุมกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว บางเหตุการแม้จะนานเธอก็สามารถเล่าให้เราฟังได้อย่างละเอียด (จนทีมของเรา พูดไม่ออก,ไม่รู้จะแทรกตอนไหนต้องปล่อยให้แกเล่าไปจนสุดอารมณ์ของแก)

ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่เราได้นั่งคุยกับนางบังอร เห็นคำพูดบางคำที่รู้สึกดี เช่นแกฝากถามไปยัง เจ้าหน้าที่ธกส.ไปถึงหัวหน้ากลุ่มของโรงเรียนกุ้งชีวภาพอีกแห่งหนึ่งว่า ไม่เห็นมาบอกกันบ้างเลย ได้เรียนรู้อะไรไปแล้วไม่เห็นมาเล่ามาบอกให้ฟังบ้าง ไอ้เราก็อยากรู้น่ะว่าเขาทำอะไร ได้ผลอย่างไรบ้าง ดีไม่ดี ก็น่าจะมาบอกกันบ้าง

แล้วก็เล่าถึงตัวเธอเองว่า เธอเองทดลองทำอะไรไปแล้วยังบอก ดีไม่ดีก็บอก ไม่ได้ผลล้มเหลวก็บอก เป็นนักเลงพอ และคิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร"

ปล.ตอนนี้น้ำนึกได้แค่นี้ ใครนึกถึงอย่างอื่นได้ หรือน้ำนึกได้ตอนหลังจะมาเขียนต่อค่ะ

 

นายสายัณห์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่ ธกส. จะ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 754เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 05:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 อ้อ ได้เขียนมุมมองของอ้อ ไว้ที่ blog เรื่อง "วิกฤต" เหตุผลักดัน "การเรียนรู้" แล้วค่ะ

รู้สึกว่าสิ่งที่เราเขียนลงไปมันลงมาไม่หมดน่ะ

(ต่อ) นายสายัณห์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่ธกส. จะเข้ามาแนะนำให้เรียนรู้กันใน โรงเรียนกุ้งชีวภาพ ตนเองก็ได้ทอลองเรียนรู้ด้วยตนเองมาแล้ว จากคำบอกเล่าของลูกที่เรียนมาว่าสารเคมีที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งมีสารตกค้าง ประกอบกับตนเองและครอบครัวล้มป่วยกันหมดจึงเลิกใช้สารเคมีมาก่อนหน้าที่ ธกส.จะเข้ามาสนับสนุนแล้ว แต่ตอนนั้นเป็นการเรียนรู้แบบต่างคนต่างทำ ไม่มีเพื่อน ไม่มีใครบอกในเรื่องที่เราไม่รู้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท