แนวทางจัดการ ระบบ บล็อก เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก


ต้องมีการจัดการ กระตุ้น และให้รางวัล
แนวทางจัดระบบการใช้ บล็อก ในการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก
           หัวใจของ KM คือการแลกเปลี่ยนความรู้จากการปฏิบัติ  (Knowledge Sharing)    โดยมี “พื้นที่” สำหรับการแลกเปลี่ยน (Sharing Space)     ทั้งที่เป็น “พื้นที่จริง” และ “พื้นที่เสมือน”    บล็อก เป็นเครื่องมือเพื่อการแลกเปลี่ยนบน “พื้นที่เสมือน”  (B2B – Blog to Blog)
           วิธีการใช้ บล็อก อย่างเป็นระบบเพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร หรือในเครือข่าย ต้องมี การจัดการ    การจัดการ บล็อก ประกอบด้วยปัจจัยต่อไปนี้
1.
        มี ผู้จัดการ บล็อก    ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
·        ก่อตั้ง บล็อก ชุมชน ใน
www.gotoknow.org  โดยตั้งชื่อชุมชนอย่างเหมาะสม    เช่น บล็อก ชุมชนของเครือข่ายจัดการความรู้ของ รพ. ใน จ. สงขลาอาจใช้ชื่อ SHKM (Songkhla Hospital KM)  บล็อกชุมชนจัดการความรู้จังหวัดชุมพร อาจใช้ชื่อ Chumphon KM  เป็นต้น
·        กำหนด key word ของชุมชน เพื่อแสดงจุดเน้นความรู้ที่ต้องการให้มีการแลกเปลี่ยนกันในชุมชนนั้น    จะยิ่งดีถ้าผู้จัดการ บล็อก จัดให้มีการระดมความคิดกันในหมู่สมาชิกชุมชน ว่าควรมี key word อะไรบ้าง     การมีส่วนร่วมจะทำให้สมาชิกลง key word ในการ post แต่ละครั้ง
·        เชิญชวน ให้ผู้ปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ เขียน บล็อก และสมัครเป็นสมาชิกชุมชน
·        คอยตรวจสอบการสมัครเป็นสมาชิกชุมชน    และตอบอนุญาต หรือไม่อนุญาต
·        คอยสรุปภาพรวมของชุมชน  เช่น ขณะนี้มีสมาชิกกี่คน, ในเดือนที่ผ่านมา มีการ post กี่ครั้ง,   ใครเป็นคนที่ post บ่อยที่สุด,    ใครเป็นคนที่ post มีคุณภาพที่สุด,   ใครได้รับการแสดงข้อคิดเห็นมากที่สุด,   key word ไหนมีการ post และ comment มากที่สุด,    มีความรู้ใหม่อะไรบ้างที่โผล่ขึ้นมาจากการ post และการแสดงความคิดเห็น,   เป็นต้น  
·        ทำหน้าที่จัดกิจกรรม F2F (face to face) meeting เป็นครั้งคราว  อย่างน้อยปีละครั้ง
2.        มี “พ่อยก / แม่ยก” ซึ่งหมายความว่า มี “คุณเอื้อ”  (CKO) ของระบบ KM คอยไต่ถามความก้าวหน้า และปัญหา     และจัดสรรทรัพยากรสนับสนุน
3.        มีการจัด “สิ่งเร้าใจ” (incentive) สร้างความคึกคักภายในชุมชน   และผู้เข้ามาร่วมแจมจากภายนอกชุมชน   เช่นจัดรางวัล Blogger of the Month,   รางวัล Commenter of the Month  เป็นต้น
4.        มีการรวบรวม “ความรู้ชัดแจ้ง” หรือ “ความรู้เชิงทฤษฎี” จากเรื่องราวของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน บล็อก พิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือหรือเอกสาร
5.        มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคย   ซึ่งจะต้องมีการพบหน้าและทำกิจกรรมที่ชื่นชอบร่วมกัน     อาจเกี่ยวกับสาระใน บล็อก หรือไม่ก็ได้ 

ข้อคิดเห็นนี้คงจะไม่ครบถ้วน    ขอเชิญชวนให้ “นักเขียน บล็อก” ช่วยกันเพิ่มเติมแก้ไข    เพื่อทำให้สังคมไทยมีการใช้ บล็อก เป็นเครื่องมือสร้างพลังการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ไปสู่การเป็นสังคมเรียนรู้ / สังคมที่มีความรู้เป็นฐาน    เกิดพลังของ การเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ
วิจารณ์ พานิช
๓ กค. ๔๘
คำสำคัญ (Tags): #it
หมายเลขบันทึก: 752เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 05:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขออนุญาตนำเข้าแพลนเน็ตครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท