การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวนา (๙)


ทำนาแบบล้มตอซัง เป็นการทำนาที่ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการทำนาแบบปกติ การทำนาตามปกติจะต้องมีต้นทุนอันเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆในหลายๆเรื่อง ได้แก่ เรื่องการไถ การทำเทือก ซื้อยาคุม – ฆ่าหญ้า ค่าจ้างแรงงานหว่านข้าว หว่านปุ๋ย แต่การทำนาแบบล้มตอซังไม่ต้องหนักใจที่จะคิดเรื่องต้นทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายที่มีน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยเคมีที่สามารถลดลงได้เท่าตัวหรือครึ่งหนึ่งของการใส่ปุ๋ยตามปกติ

การเรียนรู้ตลอดชีวิตของชาวนา (๙)


ขอนำรายงานของมูลนิธิข้าวขวัญ ตอนที่ ๙ มาลงต่อนะครับ กิจกรรมโรงเรียนชาวนามีเป้าหมายต่อชาวนา ๒ เรื่องใหญ่ๆ คือ “สองลด หนึ่งเพิ่ม” ลดต้นทุน กับลดความเจ็บป่วย และเพิ่มความสุข ลองอ่านต่อไป จะเห็นว่าการทำนาล้มตอซังช่วยลดต้นทุนอย่างไร


ตอนที่ 9 ทำนาล้มตอซัง : ช่วยลดต้นทุนการผลิต

ในท้องทุ่งนา หลังจากที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ได้ข้าวอันเป็นผลผลิตตามใจหมายแล้ว ในนาข้าวจึงคงเหลือไว้แต่กองฟางกับตอซัง ชวนให้ชาวนาทั่วไปน่ารำคาญใจอยู่มิใช่น้อย ถ้าหากถิ่นใดได้เลี้ยงวัวควายควบคู่กันไปกับการทำนาด้วย ฟางข้าวและตอซังก็จะมีประโยชน์สำหรับสัตว์เลี้ยง แต่ถ้าไม่ได้เลี้ยง ฟางข้าวและตอซังในนาก็อาจจะต้องทำลายด้วยวิธีการง่ายๆทั่วๆไปนั่นก็คือ เผา ทว่าการเผาตอซังอาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด


จากกรณีศึกษาตัวอย่างของนักเรียนชาวนาในโรงเรียนชาวนาบ้านโพธิ์ กลุ่มนักเรียนบ้านไผ่แขก หมู่ 5 ตำบลดอนโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถเป็นตัวอย่างของ การจัดการตอซังในนาข้าว ซึ่งเป็นทางออกที่ดีสำหรับการทำนาในรอบต่อไป และเป็นทางออกที่ดีสำหรับการลดต้นทุนการผลิตข้าวในระยะยาวได้


ทำนาแบบล้มตอซัง เป็นการทำนาที่ทำให้ต้นทุนต่ำกว่าการทำนาแบบปกติ การทำนาตามปกติจะต้องมีต้นทุนอันเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆในหลายๆเรื่อง ได้แก่ เรื่องการไถ การทำเทือก ซื้อยาคุม – ฆ่าหญ้า ค่าจ้างแรงงานหว่านข้าว หว่านปุ๋ย แต่การทำนาแบบล้มตอซังไม่ต้องหนักใจที่จะคิดเรื่องต้นทุน เพราะมีค่าใช้จ่ายที่มีน้อยกว่าปกติ โดยเฉพาะเรื่องปุ๋ยเคมีที่สามารถลดลงได้เท่าตัวหรือครึ่งหนึ่งของการใส่ปุ๋ยตามปกติ



ภาพที่ 57 แปลงนาที่ใช้เทคนิคการทำนาล้มตอซัง สภาพเท่าที่เห็นอาจจะดูไม่แตกต่างจากแปลงนาทั่วไป แต่ผลผลิตที่ได้นั้นต่างกัน
ภาพที่ 58 สภาพของดิน ในดินที่ข้าวเจริญเติบโตอยู่อย่างไร้ตอซัง

การทำนาแบบล้มต่อซังก็มีวิธีการทำที่ง่ายๆ แต่ก็ต้องมีเงื่อนไขว่า สามารถใช้เทคนิคนี้ได้เฉพาะบางพื้นที่ ไม่ได้เหมารวมถึงพื้นที่ทุกรูปแบบ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันไปก่อน ลักษณะพื้นที่ที่จะสามารถทำนาแบบล้มต่อซังได้นั้น ต้องเป็นแปลงนาที่มีพื้นสม่ำเสมอและไม่มีหญ้าขึ้น


จะล้มตอซัง ก็จะเริ่มตั้งแต่การเกี่ยวข้าวเลย เน้นไปถึงเรื่องการเลือกรถเกี่ยวข้าว จำต้องเลือกใช้รถเกี่ยวข้าวที่มีที่กระจายฟางติดกับรถด้วย เพราะจะช่วยให้ฟางข้าวที่รถเกี่ยวเกี่ยวได้ไม่เป็นกองเป็นแนว ฟางข้าวจะต้องกระจายไปทั่วทั้งแปลงนาที่มีพื้นสม่ำเสมอ


พอในวันรุ่งขึ้น หลังจากที่ได้เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะต้องสูบน้ำเข้านา แล้วนำรถย่ำเข้าไปย่ำให้ตอฟางข้าวล้มไปในทางเดียวกัน หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ต้นข้าวแตกต้นใหม่ออกจากตอข้าวเดิม


เทคนิคดังกล่าวนี้จะ อาจจะทำให้บริเวณพื้นดินตรงที่รอยเกี่ยวหมุนนั้น ดินจะจมลึกลงเป็นเป็นร่องเป็นรอยไปบ้าง แต่ที่สำคัญก็คือจะไม่มีตอซัง


การทำนาแบบล้มตอซัง จึงเป็นทางออกทางเลือกอีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งนักเรียนชาวนาได้ทำกันมา เมื่อล้มต่อซังได้ ก็ลดการใช้ปุ๋ยลงได้ ต้นข้าวจะสามารถดูดซึมสารอาหารที่อยู่ในดินโดยไม่ต้องพบกับสิ่งกีดขวางที่กั้นอยู่ในดิน อันเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวอย่างง่ายให้เลือกเป็นทางออก


เนื้อเรื่องตอนนี้สั้นไปหน่อยนะครับ แต่ก็ชัดเจนในวิธีการ ว่าประหยัดสองต่อ คือประหยัดค่าปุ๋ย กับประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ผมเคยดูวีซีดีของกลุ่มสันติอโศกที่สิงห์บุรี เห็นต้นข้าวในแปลงนางามมาก โดยไม่ได้หว่านหรือดำ และไม่ได้ใส่ปุ๋ยเลย


วิจารณ์ พานิช
๕ มิ.ย. ๔๘

</strong>

หมายเลขบันทึก: 743เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 02:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2015 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท