ข่าวจากทีมประชาสัมพันธ์


สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

ภาควิชาพยาธิ มอ.พัฒนาห้องปฏิบัติการ
หวัง ISO15189 ก้าวสู่ระดับสากล

                                                               

รศ.พญ.ปารมี ทองสุกใส หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เปิดเผยว่า เนื่องจากภาควิชาพยาธิวิทยา มอ. ได้ตั้งเป้าหมายในด้านการบริการของภาควิชาว่า ให้บริการที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ โดยมีเป้าหมายในระยะใกล้ว่าจะนำห้องปฏิบัติการเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ISO15189” หรือ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ตนจึงคิดโครงการ พยาธิ 1 ทีม 1โครงการหรือ ปาโถโอท็อป ซึ่งมาจากคำว่า Patho-Otop” ขึ้นโดยเป็นการประยุกต์แนวทางการจัดการความรู้ (knowledge Management KM) มาพัฒนาเข้ากับโครงการนี้

รศ.พญ.ปารมี เปิดเผยว่า เหตุที่ใช้แนวทางการจัดการความรู้มาใช้เพราะ โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาบุคคลากรที่แตกต่างการพัฒนางานแบบที่ผ่านมา ที่เคยเป็นการมอบหมายงาน และมักให้เป็นความรับผิดชอบด้วยตัวเองเป็นจุดๆ ไม่เชื่อมโยง และได้ผลน้อยเนื่องจากการมีส่วนร่วมน้อย ศักยภาพบุคคลที่มีอยู่ไม่ถูกนำมาใช้ รวมทั้งการพัฒนาไม่เป็นเอกภาพ ขับเคลื่อนสู่เป้าหมายขององค์กรได้ช้า ประกอบกับการที่ตนได้เข้ารับฟังการบรรยายเกี่ยวกับ แนวทางการจัดการความรู้ จาก สภาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) มาหลายครั้งจึงนำเทคนิคและหลักการสำคัญของการจัดการความรู้ มาออกแบบการจัดทำโครงการ ปาโถโอท็อปขึ้น  
รศ.พญ. ปารมี กล่าวต่อไปว่า กรอบแนวคิดโครงการคือ ให้มีการพัฒนางานเป็นทีม โดยเน้นกระบวนการกลุ่มของระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีผู้สมัครเข้าโครงการแล้ว 22 ทีมแต่ละทีมมีพี่เลี้ยง (facilitator) ซึ่งคือหัวหน้า หรือผู้มีประสบการณ์ในหน่วย และมีผู้มีประสบการณ์จากต่างหน่วย เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิด และถือเป็นแหล่งความรู้ภายนอกได้ทางหนึ่ง และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มโดยการนำเสนอ ทั้งในช่วงต้นเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการจัดทำโครงการ และในช่วงปลายคือการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินโครงการ  นอกจากนี้ ในการจัดทำโครงการพัฒนางานของกลุ่มนั้น เน้นการพัฒนาโดยมีจุดเริ่มจากการทบทวนตนเอง เพื่อหาโอกาสพัฒนาทีมต่อไปเรื่อยๆ
            “สำหรับการกำหนดกระบวนการการปรับปรุงแนวคิด จะมีการร่วมคิดในทีม และมีผู้รู้นอกทีมเป็นผู้ให้ความรู้ และทักษะ และประสบการณ์ เมื่อสร้างเป็นโครงการ มีแนวทางแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็นำไปปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับการปฏิบัติอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนนี้เราอาจจะได้วิธีการที่ดีเพื่อนำไปใช้ต่อไป นอกจากนี้ความรู้ที่ได้ในทีมจะนำไปแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างทีมทำให้ทีมมีพลังและมีความกล้าแสดงออกอย่างมาก อีกขั้นตอนหนึ่งก็คือ การสร้างแรงจูงใจ โดยการให้รางวัล ส่วนการการดำเนินงานไปแล้ว เมื่อวันที่ 9 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำโครงการนี้ ได้แก่ งานบริการทางพยาธิวิทยาจะมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาอย่ายั่งยืน เป็นระบบ บุคคลากรเกิดความพึงพอใจในการได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียม และเกิดการบูรณาการกระบวนการจัดการความรู้และการพัฒนางานประจำ รศ.พญ.ปารมี กล่าว  

                                                                *****************

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 750เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 04:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท