สพบ. กับการขับเคลื่อน KM ๒ รูปแบบ


สพบ. มีเป้าหมายว่า ต้องการเป็น “สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ทางด้านการศึกษา” และทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย” ทางด้าน KM เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสถานศึกษาทั่วประเทศ พร้อมทั้ง ดำเนินการหรือส่งเสริมสนับสนุนให้มี “คุณอำนวย” ทางด้าน KM ในทุกๆ โรงเรียน

          ณ  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  วันที่ ๑  กรกฎาคม ๒๕๔๘  สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา  หรือ  สพบ.  โดย ผอ. สันทัด  สินธุพันธ์ประทุม,  อ. วันทนา  เมืองจันทร์   ครูเชี่ยวชาญ  และหัวหน้าโครงการ  KM (๐-๓๔๓๒-๑๔๐๐)  และ ดร.เต็มจิต  จันทคา เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม  ๗ว.  และเลขานุการโครงการ KM   (๐-๑๘๘๐-๑๒๐๐)  ได้เชื้อเชิญ  ดร.บุญดี   บุญญากิจ  ที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ   และ อ.สุวรรณ  เหรียญเสาวภาคย์  ผู้อำนวยการฝ่ายปรึกษาแนะนำและฝึกอบรม  สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ  พร้อมด้วย  สคส. นำโดย  ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช,  ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด และนภินทร ศิริไทย  ร่วมหารือถึงความร่วมมือในการนำ  KM  ไปใช้ในการทำงานของ สพบ.   
          โดย สพบ. มีเป้าหมายว่า  ต้องการเป็น “สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้ทางด้านการศึกษา”  และทำหน้าที่เป็น “คุณอำนวย”  ทางด้าน  KM  เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายสถานศึกษาทั่วประเทศ  พร้อมทั้ง ดำเนินการหรือส่งเสริมสนับสนุนให้มี  “คุณอำนวย”  ทางด้าน  KM ในทุกๆ โรงเรียน


          จากการพูดคุยได้ข้อสรุปว่า  สพบ.  ควรจะต้องดำเนินการขับเคลื่อน  KM  ใน  ๒ รูปแบบควบคู่กันไป  คือ 
รูปแบบที่ ๑  การดำเนินการเพื่อให้  สพบ.  เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้   โดยมีการดำเนินโครงการนำร่องการจัดการความรู้ทางด้าน  ICT  ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของ สพบ.   ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่แล้ว  โดยมีการรวบรวมทักษะ  ICT    ทางด้านการศึกษา   รวบรวมองค์ความรู้และฐานข้อมูลทางด้าน  ICT เพื่อให้สถานศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป   สำหรับในส่วนนี้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นที่ปรึกษาให้
รูปแบบที่ ๒  คือ  สพบ. จะขับเคลื่อนเครือข่ายสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ  ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการความรู้  ตามแนวทางของ สคส.  เป็นเครื่องมือ   คือ  เน้นการเล่าเรื่อง  (Storytelling)  ความสำเร็จ  และเน้นความรู้ที่เป็น  “ความรู้ฝังลึก”  (Tacit  Knowledge)  ที่อยู่ในตัวคนแต่ละคนตามหัวปลาต่างๆ  ที่จะจัดขึ้นต่อไป   พร้อมทั้งบันทึกเป็น “ขุมความรู้”  ”  (Knowledge  Assets)  เพื่อเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อไป
          โดยเริ่มแรก  จะมีการจัดตลาดนัดความรู้  และเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนต่างๆ  เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ให้แต่ละคนมาเล่าเรื่องความสำเร็จ  ความภาคภูมิใจ   ตามหัวปลาแรก  คือ  “การสนับสนุนการเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา”   และจะมีการบันทึก  “ขุมความรู้”  (Knowledge  Assets)  จากการเล่าเรื่องตามหัวปลาดังกล่าว  พร้อมทั้งจะสกัดออกมาเป็น  Core Competenc  การสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  และจะนำขึ้นเผยแพร่ในช่องทาง  ICT  ตามการดำเนินงานของรูปแบบที่  ๑  ต่อไป   ซึ่งวิทยากรหลักตามรูปแบบที่ ๒  นี้ จะเป็นวิทยากรของ  สพบ.  เอง  ส่วน  สคส. ขอทำหน้าที่พี่เลี้ยงให้ เนื่องจาก สพบ.  มีบุคลากรที่เป็นวิทยากรทางด้านการจัดการความรู้อยู่แล้วจำนวนกว่า  ๑๐  คน  แต่สำหรับในการจัดตลาดนัดครั้งแรกนี้  ทาง สพบ.  ขอให้ทาง  สคส.  เป็นวิทยากรให้ก่อน  เพื่อที่ สพบ.  จะได้เรียนรู้และสามารถเป็นวิทยากรเองในครั้งต่อๆ ไป


          โดย  สพบ.  จะเป็นผู้เชื่อมโยงการดำเนินการจัดการความรู้ทั้ง ๒  รูปแบบเข้าด้วยกัน  ที่สำคัญทาง สพบ.  จะทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวก ผลักดัน สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ให้มีการนำการจัดการความรู้  ซึ่งถือเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่ง    เข้าไปอยู่หรือเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ  ทั้งในส่วนงานของ  สพบ.  เอง และส่วนงานของสถานศึกษาทั่วประเทศ   โดยจะมีการนำ  ICT  ในรูปแบบต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็น  Internet,  Intranet,  Weblog  หรือ  blog,  หรือเครื่องมืออื่นๆ  มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นหลัก  และจะจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเห็นหน้าค่าตากันจริงๆ  บ้างตามแต่โอกาสจะอำนวย เพื่อทบทวนความรู้หรือแก่นความรู้ที่ได้อย่างต่อเนื่อง
          หากสามารถดำเนินการได้ตามแบบนี้  เชื่อแน่ว่า  สพบ.  จะกลายเป็นหน่วยงานแห่งการเรียนรู้ทางด้านการศึกษา   ที่ขับเคลื่อนควบคู่ไปกับเครือข่ายสถานศึกษาทั่วประเทศที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เช่นเดียวกัน   ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวงการศึกษาของไทย  เพราะสถานศึกษาทั่วประเทศจะสามารถนำความรู้ต่างๆ   ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ตรง  ความรู้เทคนิคเฉพาะตัวหรือเคล็ดลับเฉพาะของแต่ละบุคคลในเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารหรือการสนับสนุนสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความรู้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากมายเหล่านั้น   ไปปรับใช้ตามบริบทของตนเอง  เพื่อพัฒนาให้สถานศึกษาแต่ละแห่งเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ต่อไปในอนาคต   และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่รู้จบสิ้น  เกลียวความรู้ในเรื่องนี้ก็จะกลายเป็นความรู้ที่เพิ่มพูนพลังมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ  

          ซึ่งหากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมอย่างไร  จะรายงานให้ทราบต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 751เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2005 04:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท