เวที่วงเรียนรู้เขารู้เรา


แสวงหาผู้นำที่มีใจเที่ยง

      เมื่อวันที่29 ม.ค. 2550 ผมได้ร่วมทำเวที่ชาวบ้านกับน้องๆเจ้าหน้าที่ร่วมงานของผม มีครูสัจจมาศ กัลยาณโพธิ์  (ครูต้อย) ครูอนุชา  นิลวานิล (ครูบาว) ม.12 ต.ช้างช้าย  อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช มีชาวบ้านมาร่วม ประมาณ 30คน มีผู้นำ (โดยธรรมชาติแต่ชาวบ้านเชื่อถือ)2คน คือคุณปรีชา อุ้ยสั้ว และคุณเกษม ชูศิลป์ ฃึ่งเคยเป็นคุณกิจแกนนำจากโครงการการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ปีงบ 2549  ได้มาร่วมเป็นทีมเสวนาพูดจาประเด็นเนื้อความกัน  เวทีนี้เป็นประเด็นหาข้อมูลในการที่จะจัดงบประมาณสนับสนุนการจัดอบรมอาชีพเพื่อเป็นอาชีพเสริมพยุงเศรษฐกิจในครัวเรือน เน้นทำแบบไม่รีบร้อนแต่มั่นคงค่อยเดินแต่ต้องสร้างความมั่นใจและมั่นคง ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เน้นธุรกิจพ่อค้าในระยะเริ่มแรก  จุดประสงค์อีกประการหนึ่งต้องการให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมอาชีพเสริมแบบเป็นทีม  แจมความคิด แจมความรู้ แจมความร่วมกันรับผิดชอบ ใช้กลยุทธ์สอนแทรกฃึมด้านการจัดการบริหารกลุ่ม ให้เกิดขึ้นในองค์กรเล็กๆของตน  ส่วนมากเกือบทุกเวทีที่ผมร่วมลงทำเวทีชาวบ้านในชุมชนแถวบ้านเรา(หมายถึงพื้นที่ที่ผมปฎิบัติงานขณะนี้/และตามที่ผมเคยร่วมกิจกรรมมา อันนี้พูดตามความรู้สึกส่วนตัวของผมคนเดียวนะ) ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยกล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นมากนัก  ยังไม่ค่อยกล้าแสดงความรู้สึกในทางสร้างสรรค์(ขอเน้นคำว่าในทางสร้างสรรค์) ผมบอกชาวบ้านเขาว่าอย่าถือศักดินาว่าผมเป็นข้าราชการที่มาประชุมท่านให้นั่งฟังนั่งเสวนาแบบสบาย  พวกผม(หมายถึงในนาม กศน.พระพรหม)มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนร้ รับประโยชน์ฃึ่งกันและกันจากท่านทุกคน ท่านได้งบประมาณจัดกิจกรรมจากผมได้ทุนไปทำอาชีพเสริม พวกผมได้ประโยชน์ในการเรียนรู้ปัญหาอุปสรรคในการทำงานจากท่านและข้อมูลในหมู่บ้านและข้อมูลความรู้ภูมิปัญญาจากทุกท่าน

           โดยสรุปภาพรวมและขอสังเกตของการทำเวทีครั้งนี้หรือหลายๆครั้งที่ผ่านมา

- ชาวบ้านยังแสดงความกล้าด้านความคิดเห็นข้อเสนอแนะยังน้อย หรืออาจจะไม่กล้าพูดมากเพราะถือว่าข้าราชการมาประชุม ภาษาปักษ์ใต้เรียกว่า "หมั่งๆ" ไม่กล้าจะพูดมากสักเท่าไร

- การเข้าไปทำกิจกรรมในชุมชน หมู่บ้าน ควรหาชาวบ้านที่เป็นตัวนำหลัก(หมายถึงผู้ที่มีจิตใจสาธารณะที่จะช่วยเหลือชุมชนในหมู่บ้านของตนเองด้วยใจ/จริงใจ)เป็นแกนนำร่วมด้วย อาจเป็นผู้นำโดยจัดตั้งหรือธรรมชาติก็ได้ และต้องสังเกตดูความใจเที่ยงของผู้นำคนนั้นด้วย(ใจเที่ยงคือไม่เลือกปฎิบัติพวกเขาพวกเราให้ความเที่ยงธรรมกับทุกคนโดยเฉพาะคนในชุมชนของตน  พวกฉันเอา ไม่ใช่พวกฉันๆไม่สนใจเท่าไร แบบนี้ ถือว่าใจไม่เที่ยง) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดกิจกรรมอย่างคุ้มค่ากับเวลาที่ต้องมาร่วมและได้ความรู้สึกดีๆประทับใจกลับไป

- ผู้ดำเนินการทำเวทีชาวบ้านควรยกประเด็นหนึ่งประเด็นใด(อย่าให้มากประเด็น)มาพูดคุยในแต่ละครั้ง ถ้ามากประเด็นสมาชิกจะเกิดการโต้ตอบกันมากและกว้าง อาจหาข้อยุติได้ยากเพราะหลากหลายเกินไป

   สรุปนี้เป็นเพียงข้อสังเกตคราวๆในมุมมองของผม  แต่ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำวเทีชาวบ้านมามากอาจพบประเด็นอื่นๆหรือมีมุมมองต่างไปจากผมก็ได้  มีประสบการณ์ความรู้ใดที่หลากหลายเพื่อเรียนรู้ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อการพัฒนางานและชุมชนก็แชร์ความรู้กันบ้างนะครับ

หมายเลขบันทึก: 75262เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2007 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ยินดีต้อนรับ ผอ.จรัญ ผอ.กศน.อำเภอพระพรหมนะครับ นับว่าเป็น ผอ.อำเภอคนแรกที่เขี่ยลูก Kick off เขียนบล็อกเล่างานกัน คงจะเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ทั้งลูกน้องและเพื่อนผู้บริหาร ชื่นชมจริงๆครับ
  • อ่านแล้วได้ความรู้และประสบการณ์ดีมาก สนุกสาน ปนสาระครับ อยากให้ลูกน้องท่าน เพื่อนร่วมงานท่าน แบบเพื่อนเรียนรู้ ช่วยกันเขียน จะเป็นคุณอำนวยพื้นที่มใดก็ได้ จะได้คลังความรู้ของอำเภอพระพรหมมากมาย
  • มีคนเขียนถึง ผอ.จรัญอยู่ที่บันทึกนี้ลิ้งค์อ่าน และบันทึกนี้ ลิ้งค์อ่าน
  • คงจะได้อ่านงานกันสนุกก่อนที่เราจะได้พบหน้าค่าตากันครับ
  • มีเพื่อนคุณลิขิตจาก กศน.อำเภอต่างๆ เขียนเล่างานที่ทำกันเยอะมากขึ้นแล้วครับ ลองท่องดูในgotoKnow ดูนะครับ อย่าลืมดึงบล็อกเหล่านั้นเข้าแพลนเน็ตของท่าน ผอ.นะครับ

สวัสดีครับ...ท่าน ผอ.จรัญ

        ยินดีด้วยครับ...กับสมาชิก gotoknow  คนใหม่ ดีจังเลยครับที่ท่าน ผอ. ได้บันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คิดว่าโอกาสต่อไปน้ีคน กศน. น่าจะได้พัฒนาวิธีการเรียนรู้ร่วมกัน  ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกดีๆที่นำมาเล่า  ผมชอบมาก กับคำว่า "เน้นทำแบบไม่รีบร้อนแต่มั่นคงค่อยเดินแต่ต้อง สร้างความมั่นใจและมั่นคง ยึดแนวเศรษฐกิจพอเพียง" โดนใจจริงๆครับ...

                 ด้วยความเคารพ

                          ครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ
 

          
 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท