ความรู้คู่คุณธรรม


แนวทางการพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
ความรู้คู่คุณธรรม
แนวทางพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
สภาพปัญหาของสังคมไทยในปัจจุบัน  เราจะเห็นว่าสถิติการเพิ่มขึ้นของจำนวนคดีอาญาที่เข้าสู่ระบบกระบวนการยุติธรรมที่มีจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะคดีอาญาในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจากจำนวน 503,805 คดีในปี พ.ศ. 2541 เป็น 559,763 ในปีพ.ศ. 2545  ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย เช่นปัญหาการแก้ไขฟื้นฟูพฤติกรรม, งบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู    และแนวโน้มอาชญากรรมที่เข้าสู่ระบบยุติธรรมใน 20 ปีข้างหน้า จึงแนวโน้มมากขึ้นและมุ่งกลุ่มผู้มีความรู้ ผู้หญิงและเด็กเยาวชนมากขึ้นตามลำดับ    อีกทั้งปัญหาของข้าราชการที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมมีพฤติกรรมการคอร์รัปชั่น ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรข้ามชาติตามมามากมาย   ตามข่าวสารรากฐานไทย ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาประเทศกล่าวว่า  ประเทศไทยเป็นสวรรค์ของแก๊งอาชญากรข้ามชาติ เพราะคนของรัฐส่วนหนึ่งเห็นช่องทางรวยลัดแสวงรายได้จากการตรวจตรา เมื่อพบคนต่างด้าวที่เป็นอาชญากรข้ามชาติ ซึ่งเป็นบุคคลต้องห้ามเหล่านี้ ใช้กฎหมายเป็นอาวุธเป็นเครื่องต่อรองแลกเอาผลประโยชน์เงินทอง โดยยอมให้พวกเหล่านั้น ใช้เงินซื้อข้าราชการชั่วผู้ถือกฎหมาย เรียกว่ามาเฟียเหนือมาเฟีย” นอกจากนี้ยังมีข่าวปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์มากมาย  เช่น การโกงเงินของบริษัทโดยผู้บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้า หรือที่นายธนาคารมหานคร ที่ถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและฟอกเงินยึดทรัพย์  ก็ถือว่าเป็นการกระทำความผิดของผู้มีความรู้ ซึ่งเมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นแล้วก็มีการลงโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม เช่นยึดทรัพย์, จำคุก, ประหารชีวิตฟื้นฟูแก้ไข เป็นต้น อันเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ ที่ต้องรอให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อนจึงแก้ไขแล้วทั้งสิ้น                              จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นข้างต้น ทำให้มองเห็นหรือสะท้อนถึงความเสื่อม หรือความถดถอยของสังคมไทย ที่มีต่อคุณธรรม บ่งบอกถึงการหายไปของหลักการยึดมั่นในคุณธรรมของสังคมแนวทางในการสร้างความรู้คู่คุณธรรมจึงเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกแถลงกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน  เพราะดูจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะมาเป็นตัวช่วยในการกำหนดพฤติกรรมให้คนในสังคมไทยได้สำนึกในความเป็นไทย, สำนึกต่อประเทศ และสังคม นอกเหนือจากการเป็นเพียงแค่คนเก่งแล้วต้องเป็นคนดี  อันนับว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุเป็นการป้องกันอย่างแท้จริง.แนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพและอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีสงบสุขได้นั้น  จึงเกิดแนวคิดว่าจะต้องพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงควบคู่กับการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมั่นคง  ไม่หวั่นไหว พร้อมทั้งพัฒนาสมองให้มีวิชาความรู้มีสติปัญญา มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามจึงจะงอยร่วมกันได้อย่างสงบสุข              สภาพปัญหาทั้งหมดดังกล่าวข้างตน  ไม่ใช่เกิดในเมืองไทยเท่านั้นในต่างประเทศเองก็ประสบปัญหาการมีแต่คนเก่งแต่ขาดคนดีด้วยกันทั้งสิ้น   โดยมีพื้นฐานปัญหาคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม  ศาสนา  และปัญหาโรคภัย  ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เราจะเห็นได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เองบ้าง  จากภัยธรรมชาติบ้าง  โดยประเด็นปัญหาที่สำคัญสรุปได้เป็น 2  ประเด็น คือ1.   ปัญหาทางกายภาพหรือปัญหาภายนอก  เช่นปัญหาขาดปัจจัยสี่  หรือปัญหาที่เกี่ยวกับร่างกายชองเราเองหรือเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นและสิ่งอื่น2.   ปัญหาในหรือปัญหาทางด้านจิตใจ  เป็นปัญหาที่ทำให้จิตใจเป็นทุกข์วิตกกังวลเศร้าโศรกเสียใจหรือปัญหาเกิดจากจิตใจที่คิดผิดและปัญหาสมองที่เกิดจากความรู้ผิด เห็นผิด แนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องนั้นจะต้องแก้ที่ใจก่อน  ตั้งสติคิดพิจารณาด้วยสติปัญญา  เมื่อจิตใจมีสติ  สมาธิ ปัญญา  จึงหาวิธีแก้ปัญหาภายนอกด้วยจิตใจที่สติปัญญาและเข้มแข็งอดทน   หากสุดวิสัยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ต้องวางใจเป็นอุเบกขาวางใจเป็นกลางซึ่งจะเห็นได้ว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ  พัฒนาจิตใจให้มีความรู้คู่คุณธรรมพัฒนาจิตใจของตนให้เป็นมนุษย์ทั้งกายและจิตใจ   อันดับแรกต้องมีมนุษยธรรมคือ  ศิล 5 มีการฝึกอบรมจิตใจให้มีสติ สมาธิ ปัญญา มีเมตตา กรุณา เป็นการป้องกันไม่ให้คนหลงผิดคิดชั่ว ไม่ทำความชั่วทั้งทางกาย วาจาและใจ  ประเด็นนี้นักพัฒนาไม่ควรมองข้าม  การพัฒนาให้คนเป็นมนุษย์และใจได้นั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้มีการพัฒนาชีวิตในทางที่ดีเป็นคนดี  และมีความดี 5 ประการในตน  ได้แก่  ความรู้ดี  ความสามารถดี  ความคิดดี  ความประพฤติดีและความมีจิตใจที่ดีงาม  โดยการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานในเด็กซึ่งได้แก่1.      ความขยันหมั่นเพียร   2.      ความฉลาดมีสติปัญญา รู้จักแก้ปัญหาในการทำงานและรู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง3.      ความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น4.      ความเสียสละต่อส่วนรวม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เสียสละต่อผู้อื่น สังคมและประเทศชาติ5.      ความมีวินัย  เคารพกฎหมาย กฎกติกาของสังคม จึงจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข6.      ใจเมตตา  มีความรักความปรารถนาดีต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นทั้งด้วยกาย วาจา ใจ7.      ความสามัคคี  รู้จักให้อภัย8.      หนีความชั่ว  มีหิริ  ความละอายต่อบาปต่อความชั่วไม่ทำผิดไม่ทำชั่ว9.      กลัวความผิด  มีโอตตัปปะปะความเกรงกลัวต่อบาป10.  คิดช่วยศาสนา  เมื่อมีการศึกษาดี สร้างตน มีฐานะหลักฐานพอสมควรแล้วก็ให้ทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นแนวทางการปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐานให้แก่เด็ก1.      การทำซ้ำ ๆ   การปลูกฝังคุณธรรมโดยการทำซ้ำๆ นับเป็นหัวใจสำคัญของความจำ ซึ่งเป็นคำของนักปราชญ์ ที่มีมาแต่โบราณ ในสอนแก่บุตรหลานให้รู้จักทำดี  ซึ่งหมายถึง การที่จะให้มนุษย์สามารถจดจำได้อย่างดีนั้น ต้องสอนหรือให้กระทำซ้ำๆหรือบ่อยๆ ในเรื่องเดิมหรือในเรื่องที่ต้องการจะให้จดให้จำ ดังนั้นหากต้องการที่จะปลูกฝังค่านิยม หรือความคิดใดๆให้กับใครๆไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็ใช้วิธีการซ้ำๆซากๆด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่านิทาน, การใช้ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เครื่องบันทึกเสียง, การตั้งความหวัง, การยกคำพูดผู้อื่นมาอ้าง, การอธิบาย การเทศนา การตักเตือน, การยกย่อง สรรเสริญ ชมเชย, การแก้ไขวิจารณ์ข้อบกพร่อง, การตัดสิน และให้รางวัล การให้คะแนน การประกวด การประเมินค่า, ระเบียบข้อบังคับ, เกณฑ์, การสาบาน, พิธีกรรมต่างๆ ขนบธรรมเนียมประเพณี, การใช้วิธีปลูกฝังค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม เดือนละเรื่อง, การใช้สัญลักษณ์, ป้ายประกาศ, คำขวัญ คำคม คำพังเพย สุภาษิต, อบรมคุณธรรม ค่านิยม จริยธรรม, ให้อธิบายคำถามทางจริยธรรม, สอนจริยศาสตร์สอนเด็กให้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, หาวิธีให้เด็กรู้คุณค่าของตนเอง เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น 2.      สอดแทรกคุณธรรมลงในกระบวนการเรียนรู้            กระบวนการเรียนรู้สามารถพัฒนาคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้โดยไม่ต้องมีวิชาคุณธรรมให้เรียนเป็นพิเศษ เช่น การฝึกทดลองทำงานร่วมกับผู้อื่น ฝึกทดลองด้วยตนเอง เพราะการทำงานร่วมกับผู้อื่นต้องมีความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา ความอดทน ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ สุจริต หากทำได้มากๆ บ่อยๆ ก็จะกลายเป็นเจตคติ เป็นความเชื่อ หากปฏิบัติอยู่เสมอก็จะกลายเป็นความเคยชิน เป็นสำนึกที่จะต้องปฏิบัติเช่นนั้นอยู่เสมอ            การปลูกฝังคุณธรรม  ต้องเลือกว่าจะปลูกฝังเรื่องใดแก่ใครก่อน แล้วจึงออกแบบวิธีการต่างๆข้างต้น สุดท้ายจึงนำไปฝังให้กับบุคคลเป้าหมาย โดยผ่านทางประสาทตา หู หรือประสาทสัมผัสอื่นๆ เพื่อให้เข้าไปอยู่ในบันทึกความทรงจำของสมอง โดยการทำซ้ำๆซากๆ กลายเป็นความทรงจำ ความเชื่อ และสำนึก  

ความรู้คู่คุณธรรม

พัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง
พัฒนาคนให้เป็นคนดี
ความรู้ดี
ความสามารถดีดี
ความคิดดี
ความประพฤติดี
จิตใจดี

ปลูกฝังคุณธรรม 10

ประการ

 

- ความขยันหมั่นเพียร

- ความฉลาด

- ความซื่อสัตย์

- ความเสียสละ

- ความมีวินัย

- ใจเมตตา

-  ความสามัคคี

- หนีความชั่ว

-  กลัวความผิด

-  คิดช่วยชาติ ศาสนา 
โดย
ศิล
สมาธิ
ปัญญา
การทำซ้ำ
การสอดแทรกคุณธรรมในกระบวนการเรียนรู้
วิธีการ
กรอบแนวคิดการพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม
                        

สุดท้ายการพัฒนาจิตใจให้มีความรู้คู่คุณธรรมนั้นก็ต้องพัฒนาผู้ใหญ่ควบคู่กันไปไม่ว่าจะเป็น  พ่อแม่ ครูอาจารย์  ข้าราชการ นักการเมือง  ต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้คู่คุณธรรม และผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็ก สื่อมวลชนต้องเสนอข่าวคนดีที่เป็นตัวอย่างที่ดี  ยกย่องคนดีอย่าส่งเสริมสิ่งที่ยั่วยวนให้กำเริบซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นปัญหาสังคมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน  เราต้องช่วยกันเผยแพร่คุณธรรมเข้าสู่จิตใจประชาชน  เมื่อคนในสังคมรู้ธรรมและมีศิลธรรมประจำใจจะเป็นเหตุให้คิดดี  ทำดี  พูดดี  ความสุขสงบจะเกิดขึ้นในครอบครัว ในสังคม  อย่างแน่นอน    ................................................................................... 
หมายเลขบันทึก: 74829เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท