บันทึกครั้งที่ ๑๔/๒ ความคิดเห็นด้านกฎหมายต่อปัญหาภัยที่มากับเทคโนโลยี


การออกกฎหมายควรต้องจำแนกประเภท แต่มองครอบคลุมกระบวนการที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อใช้ป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม และในขณะเดียวกันควรมีมาตรการอื่นเสริม

ข้อความต่อเนื่องจาก บันทึกครั้งที่ ๑๔/๑ ครับ 

อย่างไรก็ตาม ใน ร่างพระราชบัญญัติความผิดที่เกียวกับคอมพิวเตอร์ ฯ (ที่ร่างกันมาเกือบจะ 8 ปีแล้ว แต่ไม่ออกเป็นกฎหมายสักที...ไม่ง่ายเหมือน ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 แฮะ) เราพบ ข้อกำหนดให้ความคุ้มครองเด็ก และเยาวชน ในเรื่องนี้แล้วครับ ดังที่กำหนดไว้ใน มาตรา 13 วรรคสอง ประกอบ (4) (5)  จึงย่อมเท่ากับว่า ถ้าประเทศไทยประสงค์จะคุ้มครองในเรื่องนี้ต่อเด็กเมื่อไหร่ ก็หมายถึง เด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ครับ... แต่แม้กระนั้นก็ตาม จากบทบัญญัติดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การคุ้มครองเด็กและเยาวชนของเรา ก็ยังมีปัญหาในเรื่องของบทบัญญัติที่ไม่ครอบคลุม , ยังผูกติดแนวคิดเดิม ๆ ในมาตรา 287 ป. อาญา และยังแตกต่างจากมาตรฐานในการคุ้มครองเด็กของประเทศอื่น ๆ อยู่อย่างสำคัญทีเดียว อาทิเช่น สิ่งที่แสดงว่า เราคุ้มครองเด็กเพิ่มขึ้นมีแค่ "โทษที่เพิ่มให้หนักขึ้น" หากภาพที่นำมาเผยแพร่เป็นภาพเด็กเท่านั้น ไม่มีบทกำหนดความผิดต่อการมีภาพลามกเด็กไว้ในครอบครอง และไม่มีมาตรการควบคุม หรือเอาผิดเป็นพิเศษ กับคนที่นำภาพลามกมาเผยแพร่โดยไม่จำกัดอายุผู้ดู ปล่อยให้ "เด็กและเยาวชน" เข้าถึงสิ่งลามกทั้งหลายได้โดยง่าย สาเหตุที่เป็นแบบนี้ ก็เพราะ กฎหมายฉบับนี้ ยังคงมองเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ต้องควบคุม (ไม่ใช่คุ้มครอง) การเข้าถึงโดยรวม ต่อ "ประชาชนทั่วไป" แบบที่กำหนดไว้ในมาตรา 287 ป.อาญา อยู่นั่นเอง

ดังนั้น นอกจาก รัฐต้องพยายามทำให้ประชาคม และประชาชนทั่วไป เห็นความร้ายแรง และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการปล่อยให้การ แพร่ภาพดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างเสรีแล้ว หลาย ๆ ประเทศ ยังพยายาม จำแนกประเภท ของบริการที่จำเป็นต้องควบคุม ออกจากบริการที่ควรปล่อยให้เป็นเสรีภาพของผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต ให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อลดกระแสการต่อต้านที่อาจเกิดขึ้น ด้วย

แนวคิดเรื่องสื่อลามกเด็กบนอินเทอร์เน็ต ถูกพูดถึงในระดับโลกครั้งแรก ในการประชุมระดับนานาชาติเรื่องการกระทำทารุณทางเพศต่อเด็กที่กรุงสต็อกโฮม ประเทศสวีเดน ราวเดือนสิงหาคม ปี 2539 มีรัฐบาลรวม 122 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ร่วมลงนามยอมรับ Agenda for Action ตกลงกันที่จะพัฒนา ปรับปรุง และบังคับใช้กฎหมายในประเทศ เพื่อสร้างความรับผิดชอบทางอาญาให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ลูกค้า และผู้เป็นสื่อกลาง ในเรื่องของ สื่อลามกเด็ก รวมทั้งการ มีสื่อลามกเด็กไว้ในครอบครอง ด้วย  จากนั้น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ (U.N, Convention on the Rights of Child) ซึ่งประเทศทั่วโลก (ยกเว้นโซมาเลีย และสหรัฐอเมริกา) ลงนาม และให้สัตยาบัน ก็มีบทคุ้มครองเด็กในเรื่องดังกล่าวกำหนดไว้โดยเฉพาะใน มาตรา 34 รัฐต่าง ๆ ทั่วโลก จะต้องหามาตรการที่เหมาะสมทั้งในระดับชาติ และระหว่างชาติในการป้องกันการหาประโยชน์อันมิชอบจากเด็กในการถูกใช้เป็นวัตถุแสดงภาพสื่อลามก  และปัจจุบันดังกล่าวไปแล้วแต่ต้น ๆ ครับว่า กลุ่มประเทศในยุโรป ก็มีมาตราทางกฎหมาย และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองเด็ก และเยาวชนในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ออกมาอีกมากมาย อาทิ สนธิสัญญาว่าด้วยอาชญากรรมอินเทอร์เน็ต หรือ กรอบความร่วมมือสหภาพยุโรป เป็นต้น   เรื่องนี้ หากมองในแง่ของการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ย่อมไม่มีปัญหาในประเด็นเด็กต้องตกเป็นเหยื่อในฐานะ ผู้แสดงหรือประเด็นการกระตุ้นให้เกิดการละเมิดทางเพศต่อเด็ก เพราะผมหมายเฉพาะภาพลามกผู้ใหญ่ ...ทำนองเดียวกัน หากมอง ในแง่ของการป้องกันเด็กจากการ เผชิญหน้ากับสิ่งลามกอนาจาร ก็ด้วยมาตรการสมัครสมาชิก การขอหมายเลขบัตรเครดิต เราก็น่าจะถือเป็นมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่พอรับได้ และยังถือเป็น แนวทางการป้องกัน และปราบปราบ ที่มีมิติแห่งการประนีประนอมระหว่าง กฎหมาย กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้วย 


และอีกเวปไซด์ที่ขอนำข้อมูลบางส่วนมาเสริม  http://www.judiciary.go.th/phkjc/low_child.html   ซึ่งได้กล่าวถึง

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  Convention on the Rights of the Child       สิทธิเด็ก เป็นสิทธิสากล (Universal Rights) และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย   จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา   ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ และไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถาบันทั่วโลก  ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางสังคม วรรณะ เพศ    เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปี .. 2533 และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ .. 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน .. 2535   มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรก เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ  14 ข้อหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้ เด็กในความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้   หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นผู้ที่แต่งงานถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ 

   สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก ข้อ 3. สิทธิในการพัฒนา   (Right  of  Development)   ในเรื่องการเข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม

สรุป

จากข้อมูลที่ผมได้นำมาแสดง จะเห็นได้ว่า ข้อดีของเทคโนโลยีมี แต่ใช้ในทางที่ถูกต้องหรือไม่ และใครเป็นผู้ใช้ มีผลกระทบกับใคร  ดังนั้นการออกกฎหมายควรต้องจำแนกประเภท แต่มองครอบคลุมกระบวนการที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นจนจบ  เพื่อใช้ป้องกันและปราบปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม  และในขณะเดียวกันควรมีมาตรการอื่นเสริม ดังเช่นข้อมูลจาก  http://biolawcom.de/?/blog/401  กล่าวมาตรการและวิธีการไว้ว่า   เป็นการประนีประนอมระหว่าง กฎหมาย กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้วยมาตรการสมัครสมาชิก การขอหมายเลขบัตรเครดิต เราก็น่าจะถือเป็นมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนที่พอรับได้ และยังถือเป็น แนวทางการป้องกัน และปราบปราบ ที่มีมิติแห่งการประนีประนอมระหว่าง กฎหมาย กับพัฒนาการทางเทคโนโลยีด้วย

หมายเลขบันทึก: 74824เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เพิ่มเติม 

ร่างพระราชบัญญัติความผิดที่เกียวกับคอมพิวเตอร์ ฯ

มาตรา 13 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ดังต่อไปนี้

...(4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันมีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้


(5) เผยแพร่ หรือ ส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่า เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) และ (4)

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันลามก ตาม (4) เป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปี ถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

มาตรการที่คุณเสนอมานั้นจะให้ออกเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับ

1. เจ้าของเวปไซต์ต้องทำระบบ login โดยอิงกับ เลขที่บัตรเครดิต

2.ผู้ที่จะเข้าไปในเวปไซต์ดังกล่าวจะต้องมีบัตรเครดิตเพื่อจะสันนิษฐานไว้ว่าผู้มีบัตรเครดิตต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีขั้นไป

จะเห็นได้ว่ามาตรการนี้คล้ายคลึงกับมาตรการของการควบคุมเกมออนไลน์เมื่อ 3 ปีที่แล้ว

โดยการให้ผู้ที่ต้องการเล่นเกมออนไลน์ให้ไปลงทะเบียนกับไปรษณีย์อ้างอิงกับเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน หากมีอายุ เกิน 18 ปีก็สามารถเล่นได้ทั้งวัน แต่หากเป็นเด็กเล่นได้วันละ 2 ชั่วโมง

ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเห็นว่าเป็นมาตรการที่ดีแต่ก็มีวิธีการขายเลขที่บัตรประชาชน โดยเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หรือเด็กเอาบัตรประชาชนของผู้ปกครองมา login แทน โดยที่ผู้ปกครองไม่ทราบเรื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท