downstream management


ชุดโครงการผู้สูงอายุ เครือข่ายวิจัยสุขภาพ

    หายไปนาน  มาเที่ยวนี้มีความสำเร็จเล็กมาเล่าค่ะ   เมื่อต้นปีที่แล้วดิฉันได้รับการชักชวนจากคุณหมอสมศักดิ์  เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติผู้รับผิดชอบงานเครือข่ายวิจัยสุขภาพสกว.ให้มาเป็นผู้จัดการชุดโครงการผู้สูงอายุ  โดยให้ทำในส่วนของ downstream management คือเอาผลงานวิจัยที่ออกมาแล้วมาใช้ประโยชน์   ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องผู้สูงอายุเลย เพราะเป็นหมอENTเด็ก   จึงต้องทำการศึกษา  อ่านงานวิจัย และพูดคุยกับนักวิจัยเรื่องนี้อย่างหนัก  ดิฉันได้ตัวช่วยคือเพื่อนร่วมรุ่นรามา พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจนซึ่งเป็นหมอเวชศาสตร์ผู้สูงอายุมาเป็นผู้ทบทวนองค์ความรู้ทั้งหมดและสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายว่ามีประเด็นหลักๆอะไรบ้างที่ต้องไปขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฎิบัติ  ก็ได้มา 3-4 ประเด็น  ดิฉันจึงเริ่มที่2 เรื่องคือเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยด้านอาคารสถานที่สำหรับผู้สูงอายุ โดยผศ.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ เป็นนักวิจัยหลักซึ่งมีการต่อยอดทำต้นแบบส้วมสาธารณะแล้วมีการนำไปใช้สร้างในวัด กรมอนามัยนำไปเป็นต้นแบบเผยแพร่และจัดนิทรรศการส้วมโลก  อีกเรื่องคือเรื่องระบบการดูแลระยะยาว ซึ่งนักวิจัยหลักคือรศ.ศศิพัฒน์  ยอดเพชร ซึ่งนับว่าเป็น champion ทำงานด้านผู้สูงอายุมาอย่างยาวนานถึง 20 ปี ได้สนับสนุนให้อาจารย์และเพื่อนดิฉันทำการสังเคราะห์ต่อยอด ได้รูปแบบศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุในชุมชนและรูปแบบการดูแลสุขภาพต่อเนื่องครบวงจรที่บ้าน  ผ่านการประชุมใน 2 วงคือในเชิงวิชาการเพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ชัดเจนและถูกต้องและวงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  แล้วนำไปจัดเวทีใหญ่เพื่อขับเคลื่อน  เป็นเวทีภาคีผู้สูงอายุเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ   เวทีนี้ได้เชิญรองนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการผู้สูงอายแห่งชาติมาเปิด   ทีแรกดิฉันก็ไม่คิดว่าท่านจะสนใจ  ก็นัดหมายกับเลขาและส่งโครงการไปให้ดู   ต่อมาก็มีโทรศัพท์ตามมาว่าขอให้ส่งรายละเอียดโครงการ  วาระการประชุม ตลอดจนรายชื่อผู้ที่รับเชิญทั้งหมดไปให้ดูก่อน  ซึ่งเราทำเสร็จเรียบร้อยก่อนการประชุมสัก 3 สัปดาห์   ในที่สุดท่านก็ตอบรับมา   ก่อนการประชุมใหญ่นี้เราเตรียมการประมาณ 2-3 เดือน  มีการหารือระหว่างอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ดิฉัน และเจ้าหน้าที่มสช.ในการกำหนดเป้าหมาย  รูปแบบ  วิธีการนำเสนอ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่จะเชิญมา   ดิฉันต้องลอบบี้คนที่เราคิดว่ามีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน 2 เรื่องนี้ให้เขาสามารถมาได้  สิ่งที่ดิฉันดีใจคือหลังการประชุม 1 สัปดาห์ รองนายกให้เลขาโทรมาขอสรุปการประชุมการอภิปรายกลุ่มย่อยทั้งหมดส่งไปให้เพื่อนำเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ   หลังจากนั้นคณะกรรมการฯก็ประกาศเป็นนโยบายจัดทำโครงการนำร่องต้นแบบศูนย์เอนกประสงค์ฯขึ้นใน 5 ภาคๆละ 1 จังหวัดๆละ1 แห่ง  โดยกระทรวงพม.เป็นเจ้าภาพหลัก ในการดำเนินการ    ล่าสุดนี้เครื่อข่ายวิจัยสุขภาพได้รับการประเมินจากผู้ประเมินภายนอกสกว.   ผลการประเมินผ่านในระดับดีโดยมีผลงานเด่นคือชุดโครงการผู้สูงอายุและโครงการ Hospital OS    จึงเห้นว่าเป็นความสำเร็จเล็กๆที่จะนำมาเล่าสู่กันถึงวิธีการทำงาน   เพราเราคงเข้าใจกันอย่างดีว่าความสำเร็จที่แท้จริงของงานวิจัยคือการทำให้งานวิจัยได้นำไปใช้จริง   มีการพัฒนาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 74757เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2007 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท