kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

เด็กอายุ 1 ขวบกว่า ๆ มีฟันหน้าผุจะทำอย่างไรดี


ปัญหาการผุในฟันเด็กเล็ก เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งเด็ก ทันตแพทย์ และผู้ปกครอง

เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสเข้าไปใน เวป พันทิพย์ ห้องสวนลุม  มีคนถามว่าลูกอายุ 1.5 ปี มีฟันหน้าผุจะทำอย่างไรดี ?

เด็กอายุขนาดนี้  ส่วนใหญ่พบฟันหน้าผุ สาเหตุมาจากการดูดนมไม่ถูกต้อง (ทั้งนมแม่และนมขวด) ที่สำคัญคือการดูดนมขวดที่หวาน  

แล้วถ้าเจออย่างนี้ ผู้ปกครองควรจะทำอย่างไร?   ผู้ปกครองควรพาเด็กไปหาหมอฟัน เพื่อขอคำแนะนำ  หมอจะดูว่าฟันที่ผุมากน้อยขนาดไหน  ผูตรงไหนบ้าง และรุนแรงเท่าไร เพื่อให้คำแนะนำได้ถูกต้อง โดยการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง พฤติกรรมเด็ก และตัวทันตแพทย์เอง 

เริ่มจากการดูความรุนแรงของโรคฟันผุ หากผุไม่มาก ยังไม่มีอาการปวดหรือเสียวฟัน ทันตแพทย์อาจให้รอไปก่อน แต่ผู้ปกครองต้องทำความสะอาดฟันเด็กให้ได้และยกเลิกพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฟันผุ จากนั้นรอให้เด็กอายุมากพอ (ประมาณ 3 ปีขึ้นไป)  แต่ถ้าหากเด็กมีปัญหาเรื่องความเจ็บปวด ทันตแพทย์ก็จะทำการรักษาให้ ซึ่งแนวทางการรักษานั้นขึ้นอยู่กัยพฤติกรรมเด็กและผู้ปกครอง บางครั้งอาจจำเป็นต้องส่งตัวไปให้ทันตแพทย์สำหรับเด็ก ซึ่งจะมีความเชี่ยวชาญมากกว่าในการรักษา

วิธีการรักษา ประการแรกต้องคุยกับผู้ปกครองก่อน ว่าต้องการแนวการรักษาอย่างไร เพราะทันตแพทย์มีแนวการรักษาได้หลายแบบ อาทิ การรักษาแบบเฉพาะซี่ที่เป็นปัญหา  หรือการรักษาปัญหาทั้งหมด  หรือการรักษาแบบเป็นทันตแพทย์ประจำมีการติดตามหลังการรักษาเป็นระยะ ๆ  อีกอย่างหนึ่งคือพฤติกรรมเด็ก หากเด็กไม่ยอม (ปกติแล้วเด็กวัยนี้จะไม่ยอม) ทันตแพทย์อาจทำฟันโดยวิธีปกติไม่ได้ อาจจำเป็นต้องใช้กรรมวิธีเฉพาะซึ่งมีตั้งแต่การจับ การรับประทานยานอนหลับ การดมยาสลบ ซึ่งประการนี้ต้องคุยกับทันตแพทย์เด็กที่มีประสบการณ์มากพอ สุดท้ายตัวทันตแพทย์ผู้รักษาเองมีแนวคิดในการรักษาอย่างไร ทันตแพทย์บางท่านอาจจะเห็นเด็กแล้วไม่อยากทำก็อาจจะปฎิเสธการรักษาโดยส่วนใหญ่จะให้ยากลับไปทานก่อน  ทันตแพทย์บางท่านอาจทำการรักษาให้ โดยเฉพาะทันตแพทย์สำหรับเด็ก ก็ต้องมีการตกลงกันระหว่าผู้ปกครองกับทันตแพทย์เอง

แนวทางการรักษาก็มีตั้งแต่การอุดฟัน กรณึที่ผุเล็กน้อย  หากผุมากเป็นลักษณะการกร่อนทั้งซี่แต่ไม่ปวดอาจต้องทำการครอบฟันซึ่งมี 2 ชนิดคือครอบสีเหมือนฟัน (ซึ่งแตกหักได้) และครอบฟันโลหะ  และถ้าหากมีอาการปวดหรือทะลุโพรงประสาทฟันแล้วทันตแพทย์ต้องทำการรักษารากฟันก่อน แล้วครอบฟันต่อให้ (แนวการรักษาอาจมีการเปลี่ยนแปลงแล้วแต่ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ท่านนั้น ๆ) 

อย่างไรก็ตามการรักษาฟันในเด็กเล็กต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครอง เด็ก และทันตแพทย์ โดยเฉพาะผู้ปกครอง เพราะถ้าผู้ปกครองยังมีทัศนคติต่อการรักษาฟันน้ำนมที่ไม่ถูกต้อง ไม่เห็นความสำคัญของฟันน้ำนม ก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการรักษา อีกประการหนึ่งหาก รักษาจนเสร็จไปแล้ว ผู้ปกครองไม่ดูแลต่อ เด็กก็จะกลับมาผุได้อีก ทำให้หมอฟันไม่ตกงานซักที ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญ   .......  สุดท้าย การป้องกันไม่ให้ฟันผุ ดีกว่ามาแก้ปัญหาเมื่อฟันผุแล้ว และถ้าหากเด็กมีฟันผุแล้ว ผู้ปกครองก็ต้องมีหน้าที่จะรักษาไม่ให้เด็กเกิดความทุกข์ทรมาณ ซึ่งสาเหตุไม่ได้มาจากตัวเด็กเอง    

 
หมายเลขบันทึก: 74459เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • น่าสงสารเด็กที่ฟันผุที่อายุยังน้อย คงทรมานนะคะ
  • ขอบคุณกับเรื่องราวดี ๆ ค่ะ

จำได้ว่าตอนท้อง เคยเห็นเด็กเล็กต้องครอบฟันสีเงินๆ เทาๆ (ดูน่าเกลียดมากเลยในความคิดดิฉัน) แต่รู้มาว่าเป็นวิธีการป้องกันรักษาฟันผุในเด็ก เมื่อคลอด ดิฉันระวังรักษาเรื่องฟันลูกอย่างมาก (ทำให้เขาคุ้นกับการถูกบังคับให้ต้องถูเหงือก ถูฟัน ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกยังไม่ขึ้นดีเลย) เพราะในมุมมองดิฉันเอง ฟันมีหน้าที่สำคัญที่บางคนไม่สนใจพอ ถ้าฟันหลุดร่วงก่อนวัยอันควร คนๆ นั้นก็จะขาดความสุขทางปาก (ในการกิน) ไปได้ ลูกถูกบังคับให้ต้องแปรงฟัน ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ เช้าเย็น จนตอนนี้เขา 4 ขวบครึ่งแล้ว เขาเรียนรู้แปรงฟันเองโดยไม่ต้องบังคับอีกต่อไป (ดีใจที่ทำได้ค่ะ เสียเวลา 4 ปีที่อดทนกับเรื่องนี้)

แต่ก็อีกน่ะค่ะ แปลกใจที่พ่อแม่บางคนไม่แคร์เรื่องฟันลูก ทำไมคะ  

ขืนใจลูกทุกเช้าในการแปรงฟันให้เค้าค่ะร้องทุกครั้งที่แปรงเลย เฮ้อ สงสาร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท