การประเมินทักษะทางภาษา


แนวคิดและความสำคัญของการประเมินทางภาษา ในการจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
ครูผู้สอนเป็นผู้ที่เสาะแสวงหา  วิธีสอนและเทคนิคการสอน  ภายในชั้นเรียนให้เกิดความรู้  แบบผสมผสาน  โดยคาดหวังว่า.....นักเรียนจะต้องมีความรู้  และทักษะทางภาษา  โดยนำความรู้จากกระบวนการเรียนรู้ทางภาษา  ตลอดจนกระบวนการต่างๆ  มาผนวกเข้ากับความรู้ที่เกิดขึ้นภายในตน  และสามารถใช้ภาษาได้ตามสถานการณ์ต่างๆ  ได้จริง 
ในการประเมินทั่วๆไป  ที่เป็นอยู่  ผู้สอนมักจะประเมินเฉพาะแต่เนื้อหาความรู้  และให้ความสำคัญแก่เครื่องมือการประเมิน  โดยไม่ค่อยได้คำนึงถึงความสามารถที่แท้จริงของนักเรียน 
การประเมินผลจึงยังคงเป็นจุดอ่อน.....ในการจัดการเรียนการสอนเสมอมา  ครูอ้อยจึงจำเป็นที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินผลทางภาษาตามสภาพจริง  และการประเมินตามความสามารถจริงที่ปรากฏ   ซึ่งการประเมินผลทางภาษาสภาพจริงประกอบด้วย 
1.  การประเมินผลทางภาษาตามสภาพจริง  ประกอบด้วยการประเมิน 3 ด้าน  คือ 
1.1  ความคิดรวบยอดทางด้านภาษา  (Language Concept)  ได้เเก่  ศัพท์  สำนวน  ไวยากรณ์  โครงสร้าง  และการออกเสียง   ซึ่งแสดงออกโดยผ่านทางความสามารถด้านภาษา  (Language Practice)  ที่ใช้การสื่อสารตามสถานการณ์ต่างๆ 
1.2  ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้  (Learning  Process Concept)  ต้องประเมินความสามารถที่นักเรียนแสดงออก  ไม่ใช่ประเมินความบกพร่อง  (Imperfections)  ที่นักเรียนแสดงออก
1.3  ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการประเมิน  (Evaluation Concept)   รู้ว่ากำลังประเมินอะไร  ก็มุ่งประเมินในสิ่งนั้น  ไม่นำเอาตัวแปนอื่นมาเกี่ยวข้อง  เช่น  การประเมินความสามารถในการเขียนจดหมายสมัครงาน  ก็ต้องเน้นประเมินที่จดหมายสมัครงาน   ซึ่งนักเรียนสามารถเขียนได้ตามเงื่อนไข  ไม่ควรเข้มงวดกับตัวแปรอื่นๆ  เช่น  ตัวสะกด  เครื่องหมายวรรคตอน 
ความสามารถในการประเมินได้อย่างถูกต้อง  คือ  การสร้างเกณฑ์ในการประเมิน  และความสามารถในการสร้างสถานการณ์เพื่อการสื่อสาร 
ที่จะทดสอบความรู้......หรือประเมินความสามารถทางภาษาของนักเรียนได้  ต้องมีการประเมินผลตามสถานการณ์ที่กำหนดให้  องค์ประกอบในการประเมินผล  จะต้องสอดคล้องกับแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร 
นั่นคือ.....ต้องประเมินทั้งความรู้  ซึ่งหมายถึงเนื้อหาทางภาษาประกอบด้วยคำศัพท์  ไวยากรณ์  เสียง  ประเมินทั้งความสามารถ  หรือประสิทธิภาพ  ซึ่งหมายถึง  ทักษะในการนำความรู้ไปใช้  การเลือกใช้ข้อความได้เหมาะสมสอดคล้องกับความคิด  และประเมินขอบเขตของการใช้ภาษา  ซึ่งก็คือ  สมรรถภาพในการสื่อสาร  นั่นเอง 
คราวต่อไป.....ครูอ้อยจะกล่าวถึง  สมรรถภาพในการสื่อสาร  นะคะ โปรดติดตามนะคะ  ขอบคุณค่ะ
หมายเลขบันทึก: 74441เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2007 03:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท