เรียนรู้จากการเข้าร่วมสัมมนา "World University Ranking"


          ในการสัมมนาเมื่อวันที่ ๑๕ ม.ค. ๕๐  ซึ่งจัดร่วมกันระหว่างบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล กับบริษัท QS ที่วิทยาลัยนานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  ผมได้เรียนรู้ว่า

  • University Ranking ไม่ใช่ตัวเป้าหมาย   แต่เป็นเครื่องมือสำหรับขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบอุดมศึกษา   ดังนั้น ประเทศไทยต้องฉลาดพอที่จะกำหนดเป้าหมายของระบบอุดมศึกษาของประเทศ   แล้วจัดระบบ University Ranking เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของระบบของเราเอง
  • ระบบ Ranking ภายในประเทศควรละเอียดกว่าระดับโลก   เพราะเราสามารถหาข้อมูลสำหรับใช้เปรียบเทียบได้แม่นยำกว่าระดับโลก
  • มหาวิทยาลัยในแต่ละประเทศควรมีหลายกลุ่ม  เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม   ใช้เกณฑ์ต่างกัน
  • ผมติดใจคำวิจารณ์ของ ผศ.นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ   แห่ง มศว.  ว่าในประเทศไทย   เราถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรเพื่อผลประโยชน์ทางสังคม (social profit organization) ไม่ใช่ non-profit organization   ดังนั้น การเปรียบเทียบจึงควรดูที่การสร้างคุณค่าให้แก่สังคม   เป็นความท้าทายที่สังคมไทยเราจะคิดตัวชี้วัดด้านนี้   ให้ไทยเป็นผู้นำ   ไม่ใช่คอยเป็นผู้ตาม ทำตาม คิดตามประเทศอื่นอยู่เรื่อยไป

          เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง www.topuniversities.com, www.topmba.com และ www.qsapple.org

วิจารณ์   พานิช
๑๕ ม.ค. ๕๐

 

 

หมายเลขบันทึก: 74182เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท