วันนี้มีโอกาสไปที่หน่วยรังสีวิทยา พบภาพพี่ฟ้ง (คุณกานดาวศรี) พยาบาลประจำหน่วยนี้กำลังอ่านจดหมายบรรยายความรู้สึกของผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งซึ่งเขียนถึงเธอให้ผู้ป่วยมะเร็งคนอื่นๆที่มานั่งรอพบแพทย์ และฉายแสงฟัง ข้าง ๆพี่ฟ้ง มีญาติที่เคยดูแลผู้ป่วยเป็นมะเร็งนานกว่า 20 ปี คอยเสริมประสบการณ์จากการดูแลผู้ป่วยเป็นระยะ สีหน้าของผู้ป่วยที่นั่งฟังแสดงถึงความตั้งอกตั้งใจฟังอย่างดี ไม่มีกิริยาที่บ่งบอกถึงความรำคาญหรือเร่งรีบ หรือเบื่อหน่าย บางช่วงบางตอนก็จะเห็นผู้ป่วยนั่งยิ้ม บางคนก็หัวเราะ เป็นภาพที่ดึงดูดให้พี่จุดต้องเดินเข้าไปเพื่อร่วมบรรยากาศในขณะนั้นด้วย <blockquote> พี่ฟ้งอ่านจดหมายจบ พี่ฟ้งก็เชิญคุณชาลี ครูสอนดนตรีของคณะแพทย์ สีไวโอลินให้ผู้ป่วยฟัง 2 เพลง เดาว่าเป็นเพลงสากล ผู้ป่วยคงไม่คุ้ยกับเพลงนี้เท่าไรนัก หลังจากนั้นก็เปลี่ยนมาตีระนาดเล่นเพลงลูกกรุงให้ผู้ป่วยฟังอีก 2 เพลง ขณะที่พี่จุดร่วมนั่งฟังเพลง ก็ได้ยินผู้ป่วยหญิงมุสลิมคนหนึ่งรำพึงขึ้นมาว่า “เพราะจัง รู้อย่างนี้มาทุกวัน” พี่จุดฟังแล้วก็ยิ้ม ดีใจที่ผู้ป่วยมีความสุข ตัวพี่จุดเองก็ยังเผลอร้องคลอเบา ๆ ในคอ และแล้วพี่จุดก็ต้องหยุดร้องคลอกะทันหัน เพราะมีผู้ป่วยชายสูงวัยคนหนึ่งร้องคลอเป็นทำนองตามเสียงดนตรีออกมาให้ทุกคนได้ยิน เสมือนอยู่คนเดียว ไม่สนใจว่าใครจะรู้สึกอย่างไร ตั้งหน้าตั้งตาร้องคลออย่างเดียว พี่จุดจึงกวาดสายตามองไปรอบๆเพื่อสังเกตความรู้สึกของผู้ป่วยที่ร่วมกิจกรรมด้วย พบสายตาของผู้ป่วยที่ส่งสายตามองลุงคนนั้นด้วยแววตายิ้มน้อยยิ้มใหญ่ พี่ฟ้งจึงรีบหยิบไมค์โครโฟนยื่นส่งให้ แต่ลุงแกก็ไม่สนใจ ตั้งหน้าตั้งตาร้องอย่างเดียว พี่ฟ้งจึงต้องถือไมค์โครโฟนให้แทน ช่างเป็นภาพที่งดงามในความรู้สึกของพี่จุดอย่างมาก ถ้าใครได้พบเห็นก็คงจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่แหละเป็นภาพที่เขาบอกว่าดูแลผู้ป่วยแบบจิตวิญญาณ ทำให้พี่จุดต้องหยิบกล้องออกมาถ่ายเพื่อเก็บภาพนี้ไว้ เพราะเป็นภาพที่ผู้ป่วยด้วยโรคร้าย แต่เปี่ยมด้วยความสุข คนร่างกายดี ๆ บางคนยังไม่มีความสุขเท่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้เลย ต้องขอบคุณพี่ฟ้ง พยาบาลผู้แสนดีที่สร้างความสุขเหล่านี้ให้ผู้ป่วยได้ ทำให้พี่จุดนึกถึงเพลงมาร์ชพยาบาล</blockquote><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="left"> “อันความกรุณาปราณี </p> จะมีใครบังคับก็หาไม่ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> หลั่งมาเองหมือนฝนอันชื่นใจ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> จากฟากฟ้าสุราลัย สู่แดนดิน” </p><p> หลังจากเพลงจบ ผู้ป่วยทั้งหลายต่างก็แยกย้าย บางก็ไปฉายแสง บางก็กลับบ้าน พี่จุดถือโอกาสนี้เข้าไปนั่งคุยกับผู้ป่วยหญิงมุสลิมคนที่นั่งฟังเพลงแล้วพูดว่า “เพราะจัง” พร้อมสามีของเธอ และผู้ป่วยชายชาวมุสลิมอีกหนึ่งคนด้วย เพราะอยากทราบว่าผู้ป่วยมุสลิมที่เป็นมะเร็งจะมีความคิดเห็น/การดูแลตนเองแตกต่างจากชาวพุทธหรือไม่ และเพื่อจะได้ดูแลผู้ป่วยมุสลิมได้ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย พี่จุดจึงขอนำบทสนทนากับผู้ป่วยมุสลิมมาเล่าสู่ให้ฟัง จะได้ช่วยให้พวกเราสามารถดูแลผู้ป่วยด้วยความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น ช่างบังเอิญจริง ๆ ที่ผู้ป่วยทั้งคู่ป่วยด้วยโรคร้ายเดียวกัน กล่าวคือ เธอทั้งสองเป็นมะเร็งเนื้องอกที่สมอง ผู้ป่วยหญิงเป็นมาแล้ว 8 ปี ผ่าตัดไปแล้ว 2 ครั้ง ส่วนผู้ป่วยชายเป็นมา 5 ปี ผ่าตัดแล้ว 1 ครั้ง </p><blockquote><p>ผู้ป่วยหญิงเล่าว่า อาการนำที่ทำให้เธอมารักษาที่โรงพยาบาล คือ ตามองเห็นลาง ๆ มีอาการง่วงมาก หนังตาหนัก </p></blockquote><p> ผู้ป่วยชายเสริมว่า “ผมรู้สึกมีกลิ่นปากด้วยครับ ซื้อยามาอมก็แล้ว แปรงฟังก็แล้ว แต่ก็ยังมีกลิ่นปาก รู้สึกผิดปกติ จึงมาโรงพยาบาล หมอบอกว่า เป็นเนื้องอกที่สมอง ขนาด 10 เซนติเมตร และก้อนนี้โตจนทับโพรงจมูกด้วยครับ” </p><blockquote><p>เมื่อพี่จุดถามถึงการดูแล / การปฏิบัติตัวที่บ้าน </p></blockquote><p>ผู้ป่วยหญิงเล่าว่า “ก็กินอาหารเหมือนปกติทุกวัน แต่จะไม่กินเนื้อ ไม่กินไก่ กินพวก ปลาแทน และ กินผักเยอะ ๆ ” </p><blockquote><p>พี่จุดถามว่า “ทำไมไม่กินเนื้อหรือไก่ค่ะ” </p></blockquote><p>สามีตอบแทนว่า เพราะเราถือว่าการกินเนื้อ จะทำให้ มะเร็งงอกเร็วยิ่งขึ้น”แล้วสามีก็เล่าต่อว่า “มีพวกขายตรงที่พยายามมาขายพวกอาหารเสริม หรือสมุนไพร เพื่อรักษาโรค เขามาติดต่อผมและภรรยา เพื่อโฆษณาถึงสรรพคุณต่างๆของอาหารเสริม ผมก็ซื้อพวกอาหารเสริมให้เมียผมกินเพราะอยากให้เธอหาย สงสารเธอครับ ค่าใช้จ่ายเฉพาะอาหารเสริมตกเดือนละ 4,600 บาท ผมซื้อมาให้กินประมาณ 3 ปี หมดเงินไปมากกว่า 150,000 บาท แต่ไม่หายครับ มีคนมาโฆษณาเกี่ยวกับยาสมุนอีกไพร ผมก็ซื้อยาสมุนไพรเป็นยาหม้อให้กินอีก กินไป19 หม้อ ตกหม้อละ 1,000 บาท คือ รวมค่ายาและค่ารถ แต่ไม่เป็นไปตามที่เขาโฆษณาครับ แถมเขาไปบอกคนอื่นๆว่าผมซื้อยาเขากินแล้วหาย เอาผมไปอ้าง </p><blockquote><p> พี่จุด “คุณทราบได้อย่างไรล่ะค่ะว่าไม่หาย”</p></blockquote><p>สามีผู้ป่วย “ก็จากผล X-ray ครับ ปรากฏว่าเนื้องอกโตขึ้นมาอีก หมอชี้ให้ผมดูในฟิล์ม หมดเงินไปเปล่า ๆถ้ากินแล้วสุขภาพดี อาจจะใช่ครับ แต่กินเพื่อให้โรคนี้หาย ก็ไม่ใช่ ครับ” </p><blockquote><p>ช่วงจังหวะที่สามีเล่าถึงตอนนี้ ผู้ป่วยหญิงก็มาสะกิดพี่จุดและถามว่า “พี่…พี่ คิดว่ากินเห็ดหลินจือหายมั๊ย” </p></blockquote><p>พี่จุดจึงตอบว่า ถ้าคุณกินแล้วคุณสบายใจ พี่ก็ไม่ห้าม แต่หากจะถามว่า หายมั๊ย พี่ตอบไม่ได้ค่ะ เพราะพี่หาเอกสารที่เขาบอกว่ากินแล้วหายมาสนับสนุนหรือยืนยันว่าหายไม่ได้ค่ะ” ทั้งสามีและภรรยาฟังคำตอบแล้วต่างพยักหน้ารับ ไม่พูดว่าอะไร </p><blockquote><p>พี่จุดเว้นจังหวะหน่อยหนึ่ง เมื่อไม่มีใครพูดว่าอะไรพี่จุดจึงถามผู้ป่วยต่อว่า “คุณรู้สึกอย่างไรบ้างค่ะช่วงนี้ เบื่อ ท้อแท้ หมดกำลังใจบ้างหรือเปล่าคะ”</p></blockquote><p> ผู้ป่วยหญิงตอบว่า “ไม่ค่ะ เฉย ๆ ” </p><blockquote><p>พี่จุด “เพราะอะไรหรือคะ” </p></blockquote><p>ผู้ป่วยตอบ “เพราะพระเจ้ากำหนดไว้แค่นั้น ถ้าตายก็ตาย ไม่ว่าหมอ ไม่ว่าพยาบาล เพราะหมอและพยาบาลรักษาดีอยู่แล้ว” </p><p>พี่จุดหันมาทางสามี สามีตอบว่า “ผมรู้สึกเหนื่อยครับ เพราะผมทำให้ภรรยาหมดเลย ทั้งขายของ เลี้ยงลูก ทำงานบ้าน ทำกับข้าว ทำทุกอย่าง เขาไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ก็ไม่เบื่อ ไม่ท้อแท้ครับ เพราะนึกถึงพระเจ้า พระเจ้าให้มาอย่างนั้นก็ต้องยอมรับ”</p><blockquote><p> ผู้ป่วยชายเสริมว่า “ผมไม่มีปัญหาครับ เวลาเมียผมหงุดหงิด ผมก็จะเดินออก สงสารที่เขาต้องเฝ้าดูเรา ถ้าอยู่โรงพยาบาล เขาเบื่ออยากกลับบ้านก็ให้เขากลับ เดี๋ยวเขาคิดถึง เขาก็กลับมาเองครับ หรือบางครั้งเวลาผมน้อยใจ ผมก็จะบอกเขา เขาก็จะไม่กลับ หรือถ้าเขากลับไป พอเขาคิดได้ เย็นเขาก็กลับมาเองครับ”</p></blockquote><p> พี่จุด “หากเวลาคุณมารักษาที่โรงพยาบาล คุณต้องการให้พยาบาลดูแลคุณอย่างไรบ้างค่ะ”</p><blockquote><p>สามี “คุณก็ดูแลภรรยาผมดีอยู่แล้ว ผมไม่ต้องการอะไรแล้วครับ หากจะหายก็หาย ถ้าไม่หายผมก็ไม่โทษหมอหรือพยาบาลครับ” </p></blockquote><p>พี่จุด “พี่ทราบว่าการละหมาดเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับชาวมุสลิม จะให้พี่ดูแลผู้ป่วยเรื่องนี้อย่างไรบ้างมั้ยค่ะ” </p><blockquote><p>สามี “การละหมาดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวมุสลิมครับ แต่ศาสนาไม่ได้บอกว่า การละหมาดต้องไปมัสยิด ผู้ป่วยที่ขยับตัวไม่ได้ ก็สามารถทำละหมาดบนเตียงไดครับ ไม่จำเป็นต้องไปที่ห้องละหมาดเหมือนคนสบายดี” </p></blockquote><p>พี่จุด “พี่จะสังเกตได้อย่างไรค่ะว่า ผู้ป่วยกำลังละหมาดอยู่ พี่จะได้ไม่รบกวนขณะทำ ละหมาด และหากพี่ไม่ทราบว่าเขากำลังละหมาด ถ้าพี่เข้าไปเพื่อทำกิจกรรมการพยาบาล พี่จะบาปหรือไม่ค่ะ” </p><blockquote><p>สามี “การทำละหมาด พี่อาจสังเกตปากผู้ป่วยก็ได้ครับ ถ้าเขาทำปากขมุบขมิบ แสดงว่าเขากำลังละหมาดครับ หรือพี่ควรหลีกเลี่ยงเวลาตอนตี 5 เพราะเป็นเวลาที่เขาทำละหมาดครับ นอกจากนี้ถ้าเป็นไปได้ เวลาละหมาดไม่ควรจะถูกเนื้อ ต้องตัว ผู้ป่วย เขาห้ามครับ ยกเว้นลูกและ พ่อ แม่ เท่านั้น สามีหรือภรรยาก็ถูกไม่ได้ครับ หากจะจับต้องตัวผู้ป่วย ให้จับบริเวณที่มีผ้า ไม่ควรจับตัวผู้ป่วยนะครับ สำหรับเรื่องบาปหรือไม่นั้น ถ้าพี่ไม่รู้ว่าเขากำลังละหมาดอยู่ พี่ไปกวนเขาก็ไม่ บาปครับ แต่ถ้าพี่รู้ว่าเขากำลังทำละหมาด ก็บาปครับ </p></blockquote><p>พี่จุด ขอสรุปประเด็นที่ได้จากบทสนทนาเพื่อดูแลผู้ป่วยในวันนี้ว่า</p><p>1. ด้านความเชื่อ ผู้ป่วยมุสลิมเชื่อในพระเจ้า</p><p>2. ควรเอื้ออำนวยให้ผู้ป่วยได้ทำละหมาด ( ที่เตียงหากผู้ป่วยลุกไม่ได้ )</p><p>3. ควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมพยาบาลช่วงเวลาที่ต้องทำละหมาด เช่นเวลา 05.00 น.</p><p>4. ไม่ควรถูกเนื้อต้องตัวผู้ป่วยขณะละหมาด หากจำเป็นควรจับบริเวรที่เป็นเสื้อผ้า</p><p>5. หากต้องสิ้นชีวิต ผู้ป่วย/ครอบครัว ยอมรับได้ เพราะเป็นไปตามที่พระเจ้ากำหนด </p>