ทิศทางการบริหารการศึกษาไทยในอนาคต


การปฏิรูปการศึกษา ๗ ปี ที่ผ่านมามีหลักการให้แล้วไม่ค่อยทำกัน ที่ทำก็ทำกันอย่างกระพร่องกระแพร่งและกระโผลกกระเผลก

     

             วันนี้วันเสาร์ที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๙ ตั้งแต่ ๐๘.๐๐ น. เป็นต้นไป ผมได้เข้าสัมมนาเรื่อง ทิศทางการบริหารการศึกษาไทยในอนาคต  ณ ห้องบอลล์รูม    โรงแรมรามา     การ์เด็นท์ กทม. โดยมีศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ผมจึงเก็บความสาระที่รมต.ศธ ได้พูดในส่วนที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเปิดประเด็นให้ แสดงความคิดเห็นกันต่อไปได้แก่
       ๑. การปฏิรูปการศึกษา ๗ ปี ที่ผ่านมามีหลักการให้แล้วไม่ค่อยทำกัน ที่ทำก็ทำกันอย่างกระพร่องกระแพร่งและกระโผลกกระเผลก ตัวอย่างอาชีวะศึกษาก็เป็นเรือนร่างที่ไร้วิญญาณ รูปแบบใหม่ๆอาชีวะศึกษายังไม่ออก การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อนก็ยังเรียกว่าการศึกษานอกโรงเรียนอยู่นั่นแหละทั้ง ๆ ที่การศึกษานอกโรงเรียนไม่มีแล้ว เอาไปพักไว้ที่สำนักงานปลัด และได้ให้ไปแก้เป็นการศึกษานอกระบบและอัธยาศัยแล้ว ทางการศึกษาเอกชนก็เป็นส่วนสำคัญแต่พรบ.ก็ยังไม่ออก  นี่เป็นตัวอย่างที่ระบบรองรับเอกภาพก็ยังไม่ทำเป็นส่วนใหญ่
        ๒. การกระจายอำนาจไปเขตพื้นที่ กับสถานศึกษา เขียนไว้ชัดไม่มีอะไรชัดไปกว่านี้แล้ว ให้กระจายไป ๔ ด้าน และกำหนดไว้ว่าหลักเกณฑ์การกระจายอำนาจให้เป็นไปตามกฏกระทรวง มัวแต่ตีความเลยไม่ทำอะไรเลย กลายเป็นกฏกระทรวงหวงอำนาจ เรื่องนี้ได้ตั้งคณะกฏหมายที่รู้การปฏิรูปร่างเรียบร้อยแล้ว เมื่อผ่านการตรวจสอบจากกฤษฎีกาและจะปฏิบัติได้ในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
        ๓. มีปัญหากับท้องถิ่นเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการขั้นตอนการกระจายอำนาจ ถ้าอปท.มีสิทธิ์จัดการศึกษาทุกประเภท มีทั้งสิทธิ์และส่วน  จำเป็นแล้วหรือต้องใช้วิธีเดียวโดยการถ่ายโอน มีวิธีอื่นอีกตั้งร้อยวิธี การถ่ายโอนโรงเรียนมีปัญหาและมิได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
        ๔. นักบริหารอย่าคิดแบบแผ่นเสียงตกร่อง อย่าคิดเอาความคิดของตนเองมาเป็นข้อจำกัด คิดให้กว้างไกล กล้าคิดกล้าทำจะมีอะไรมาอีกเยอะ
        ๕. การศึกษา ๑๒ ปี ฟรีจริงหรือเป็นการผลักภาระสู่ผู้ปกครอง
        ๖. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลแห่งความจริง ไม่ใช่รัฐบาลแห่งความฝัน ต้องหันมา Back to the basic.

หมายเลขบันทึก: 73661เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เห็นด้วยกับเนื้อหาข้างบนว่า กศน.ไม่จำเป็นที่จะถ่ายโอนไปท้องถิ่นเลย  ทางรัฐบาลควรจะหาวิธีดำเนินการแก้ไขที่ดีกว่านี้ จะได้Happyกันทั้ง 2 ฝ่าย 

แวะมาอ่าน  รู้สึกว่าไม่มีอะไรที่แน่นอนได้เลย  จะหาความมั่นคงอันใดได้เล่าสำหรับชาวกศน.

 

Back to the basic  แล้วจะไปในทิศทางไหนกันหล่ะนี่

 

ศบอ.บางน้ำเปรี้ยว
 ความเปลี่ยนแปลงย่อมมีปัญหาตามมา 
ก็ว่ากันไปตามที่อำนาจจะยังคงอยู่  แต่น้องๆ หนูๆ  ครูรากหญ้า  ชาวบ้าน  ชาวนา  ลุง ป้า น้า ระอากับปัญหา..........
ชูวิทย์ ศบอ.บางปะกง
    อิสรภาพ  ของ กศน.คือความหวังและโอกาสทางการศึกษาของประชาชน  ปรัชญาการจัดการศึกษานอกโรงเรียนยึดเอาชุมชนเป็นฐาน(Community  based  approach)  เพื่อสร้างเครื่อข่ายการเรียนรู้ในชุมชน  กระบวนการที่ใช้เน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นสำคัญ  โดยให้ความสำคัญกับความรู้จากประสบการณ์ (Experience  knowledge)  การอำนวยประโยชน์และสร้างความก้าวหน้าให้กับประชาชน  และผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทยที่ยังรอคอยโอกาสยังมีอยู่มาก  นั่นคือ  ทิศทางการบริหารการศึกษาไทยในอนาคต
ห้องสมุดประชาชนจ.ฉะเชิงเทรา
การศึกษาไทยทุกวันนี้ คงอยู่บนพื้นฐานของความไม่แน่นอน และเมื่อไหร่ความแน่นอนถึงจะเกิดขึ้นสักที

     จุดที่ต่ำที่สุดของมนุษย์ที่ทุกคนมีโอกาสประสบเป็นได้ทั้งจุดจบและบทเรียนที่ดี 

      วันนี้คงต้องนำปัญหามาเป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขในส่วนที่ขาด หรือด้อยจากเดิมโดยการพัฒนาและหาทิศทางการบริหารการศึกษาไทยเพื่ออนาคตที่ดี    ความประมาทเป็นบ่อเกิดแห่งความล้มเหลวนะคะ  เป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นจุดสำคัญยิ่ง  ดังนั้นควรแก้ปัญหาด้วยความเหมาะสมกับหน่วยงานนั้นๆ ด้วย  ไม่แก้ไขเชิงบังคับควบคู่กับทางออกที่ดีที่สุด  เพื่อจะประสบความสำเร็จในการบริหารการศึกษาไทยในอนาคตที่ดียิ่ง

นายเสน่ห์ อุ่นนาวงษ์ ศบอ.พนมสารคาม
        นโยบายการศึกษาของประเทศอย่างไร เราชาว   กศน.ก็จัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน  การศึกษาตามอัธยาศัย ให้เต็มที่เต็มกำลังความสามารถแด่ผู้ที่พลาดและขาดโอกาสทางการศึกษาต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท