ร.ร.เบญมราชาลัยฯ / การเตรียมตัวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย


ร.ร.เบญมราชาลัยฯ 17-1-07

สวัสดีครับ อาจารย์ และนักเรียน โรงเรียนเบญจมราชาลัย ฯ

          วันที่ 17 มกราคม 2550 นี้ ผมได้รับเชิญให้มาเป็นประธานพิธีเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ เรื่อง การเตรียมตัวการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ณ โรงเรียนเบญจมราชาลัยฯ ครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับนักเรียนที่กำลังก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย ที่ต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน  แต่ก่อนอื่นผมอยากให้นักเรียนรู้เป้าหมายในชีวิตของตัวเองก่อนครับ ว่าชอบอะไร และอยากเรียนอะไร  และจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้อย่างไร เพราะเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตอย่างหนึ่งครับ ซึ่งผมคิดว่าจุดเปลี่ยนที่สำคัญของชีวิต มีอยู่ 3 จุดครับ คือ

1. จะเลือกเรียนอะไร 

2. จะทำงานอะไร

3. จะมีชีวิตครอบครัวอย่างไร

          ซึ่งประเด็นที่ผมได้ฝากไว้ คือ ผมอยากให้นักเรียนทุกคนมีสังคมการเรียนรู้ เยอะ ๆ ครับ ไม่ใช่ว่าอ่านหนังสือจากตำราอย่างเดียว ต้องรู้จักหาความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ด้วย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เนต หรือการพูดคุยกับคนเก่ง ๆ รู้จักแลกเปลี่ยนมุมมองกับเพื่อนในมหาวิทยาลัย และต่างมหาวิทยาลัย พยายามสร้าง Connection เยอะ ๆ ครับ เพราะคนเก่งไม่ใช่ว่าเรียนเก่งแล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิต  เมื่อตัวเองเก่งแล้ว ก็ต้องรู้จักทำเพื่อสังคมด้วยครับ

          ส่วนประเด็นที่ผมได้พูดเพิ่มเติมคือ ทฤษฎี 8K’s  ตัวอย่างเช่น

- Human Capital ทุนที่ทุกคน มีอยู่แล้วคือทุนมนุษย์ ใครที่เรียนมหาวิทยาลัย ก็จะมีทุนมนุษย์มากกว่าคนที่จบจากประถม หรือ มัธยม  แต่ที่สำคัญ การได้ปริญญานั้น ไม่สำคัญเท่ากับการมีปัญญา หรือ การต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสังคม

......

-Human Talented  คือทุนแห่งความเป็นอัจฉริยะ เป็นผู้ที่รู้จักตนเอง และรู้จักใช้คุณค่าของตนเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง และสังคม

และทฤษฎี 8H's ตัวอย่างเช่น

- Harmony การเรียนนั้น ต้องมีการเรียนเป็นทีม มีความสามัคคี ต้องรู้จักการสร้าง Network รู้จักกับเพื่อนต่างมหาวิทยาลัย

....................

- Heritage ต้องรู้จักรากเหง้าของตัวเอง รู้ว่าตนเองชอบอะไร และมีพื้นฐานเก่งอะไร  

          แต่อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญต้อง ผมอยากให้นักเรียนทุกคนเรียนรู้จากความจริง(Reality) และมองอย่างตรงประเด็น (Relevance) ครับ ถึงจะสามารถวิเคราะห์สถานการณ์  คิด และมองอย่างมีวิสัยทัศน์ครับ

          นอกจากนั้น ผมได้นำแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาเป็นแนวทางให้กับนักเรียนด้วยครับ เพราะคิดว่าเป็นประโยชน์อย่างสูง ที่นำไปสู่ ความสุข และความยั่งยืน ถ้านักเรียนและทุกคนสามารถน้อมนำไปปฏิบัติครับ

หลัก 3 ห่วง ประกอบด้วย

1 .มีเหตุมีผล  

2. พอประมาณ

3. มีภูมิคุ้มกัน

และ 2 เงื่อนไข ประกอบด้วย

1. การใฝ่รู้   

2. มีคุณธรรม และจริยธรรม

          และก่อนที่ผมจะจบการบรรยายในวันนี้นั้น ผม ได้ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน ร่วม ทำ Workshop  และ มาแสดงความคิดเห็นที่หน้าห้อง ใน 2 ประเด็นเรื่อง

1.    เมื่อฟังวันนี้แล้วได้อะไร และจะปรับตัวอย่างไร

2.    มีอะไรที่จะเสนอแนะในสิ่งที่ผมไม่ได้พูด

    ซึ่งหลังจากที่ผมได้ฟังประเด็นแล้ว ก็รู้สึกภูมิใจ และชื่นชม กับเด็กรุ่นใหม่ ครับ ที่มีความคิด กล้าแสดงออก และเข้าใจว่า การสอบเข้าในมหาวิทยาลัยนั้น ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต  แต่ทุกคน ก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ ถ้ารู้เป้าหมาย มีความพยายาม และ มีนิสัยในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นคนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และทำเพื่อสังคมครับ

           และ ก็อย่างเช่นที่ผ่านมาผมอยากจะให้ความรู้ที่เกิดขึ้นในการบรรยายครั้งนี้ ได้ถูกนำมาประมวลสรุป และถ่ายทอดไปสู่คนอื่น ๆ ในสังคมด้วย ก็ขอให้ใช้ Blog นี้เป็นสื่อกลางด้วยครับ

                      จีระ  หงส์ลดารมภ์

 ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

  เรื่อง "การเตรียมตัวการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย"

หมายเลขบันทึก: 73098เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2007 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
Tips for Campus Life by Prof. Dr.Chira Hongladarom 1. Explore your strengths and preferences.  
  • Do not choose what your parents and friends suggest.
  • Love what you do and you will do it better.
2. Plan your career path. 
  • Be proud of your selected university and major.
  • Learn more about university's history.
  • Get to know other faculties.
  • Learn from facts and have life-long learning culture after graduation.
3. Adjust yourself
  • Do university activities and make more friends.
  • Do not study alone.
  • Stay near your campus to save travel time.
  • Learn and think on your own.
  • Understand what you learn to be able to apply your knowledge to the real situation.
  • Review your lessons or at least 30 minutes a day.
  • Partner with your friends in note-taking.
  • Discuss what you learn with your friends.
  • Go to the library.
  • Read books and take note in your own words.
  • Talk to and learn more from different kinds of people.
  • Talk to your teachers and make a good relationship with them.
  • After graduation, be good at explaining and summarizing in Thai, speaking English and using IT.
  • Think based on reasons and think out of the box.
  • Equally balance your time on study, activities and health.
  • Avoid gambling and other illegal and unethical activities.
  • Apply Sufficiency Economy Philosophy
·         Focus on reasonableness. Use reasons for doing anything.·         Have life-long learning culture.·         Have self-immunity. Be prudent.·         Be a knowledgeable and good person.·         Be hungry for knowledge. 

·        Apply 7-habits

 ·         Be proactive ·         Begin with the end in mind ·         Put first things first ·         Think win-win ·         Seek first to understand then to be understood.  ·         Synergize 

·         Sharpen the saw

 ·        Have 8K's·         Human Capital. The more you study, the more you improve yourself. ·         Intellectual Capital. Think systematically and analytically. ·         Ethical Capital. Be good and smart. ·         Happiness Capital ·         Social Capital. Have more friends and network. ·         Sustainability Capital. Have sustainable knowledge. ·         Digital Capital 

·         Talented Capital

 

·        Have 5K's (new)

 ·         Creativity Capital ·         Innovation Capital  ·         Knowledge Capital ·         Cultural Capital  ·         Emotional Capital 

·        Apply 8H

 ·         Heritage. Learn more about your friends' background. ·         Home ·         Hand. Work successfully. ·         Head. Be smart. ·         Heart. Be good. ·         Happiness ·         Harmony  ·         Health   
สรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยการเตรียมตัว การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
17 มกราคม 2550
ณ ห้องประชุมอาคารเทพรัตน 
โรงเรียนเบญจมราชาลัย
1.   ได้รับอะไรจากการฟังบรรยายและจะปรับพฤติกรรมเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัยเรื่องใดบ้าง
2.   ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
กลุ่ม 1·        มหาวิทยาลัยไม่ใช่สถานที่ที่เข้าไปแข่งขันกัน แต่เป็นชุมชนสร้างมนุษย์ ที่ต้องรวมพลังกันหาความรู้·        ควรคิดนอกกรอบ และมองมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นอีกทางเลือกด้วย
กลุ่ม 2·        ควรแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต ความรู้มีรอบตัวเรามิใช่มีแค่ในห้องเรียน·        ควรนำความรู้ไปปรับใช้กับชีวิต
กลุ่ม 3·        เมื่อเข้าไปใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ต้องมีเพื่อน รู้จักทำกิจกรรมเมื่อจบออกไปจะได้ประสบความสำเร็จในชีวิต
กลุ่ม 4·        การประพฤติตนเป็นคนดี มีคุณธรรมเป็นการทำตนให้มีคุณค่า อย่าเหยียบหัวคนอื่นเพื่อเจริญก้าวหน้าขึ้นไป 
กลุ่ม 5·        บางคนได้ทำงานที่ตนเองพอใจ แต่มองว่าตนยังไม่ประสบความสำเร็จ เขาใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ตอบว่า·        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า ความสมดุล และความสุขคือความสำเร็จ·        นอกจากนี้ความสำเร็จยังวัดจากค่านิยมที่ไม่ขึ้นกับวัตถุอย่างเดียว รู้จักทำประโยชน์ต่อส่วนรวม
กลุ่ม 6·        ไม่ว่าจะเรียนที่ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย อย่ามองแค่เกรด ต้องเรียนเพื่อรู้และทำความฝันให้เป็นจริง เช่น อยากเป็นหมอ ก็ต้องชอบและตั้งใจเรียนวิทยาศาสตร์เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อได้ทำตามความฝัน ก็จะรักและมีความมุ่งมั่นในสิ่งที่ทำและมีความสุข
กลุ่ม 7·        การฟังบรรยายครั้งนี้ทำให้เกิดสติ การเรียนมหาวิทยาลัยทำให้ได้ประสบการณ์ชีวิตซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ต้องไม่ประมาทในการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย
กลุ่ม 8·        ในการเข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัย คือ เลือกคณะที่ชอบและสนใจ และคำนึงถึงตลาดแรงงานด้วย
กลุ่ม 9·        สิ่งสำคัญคือต้องช่วยกัน รู้จักให้ การช่วยเหลือสังคมเป็นการเพิ่มคุณค่าของชีวิตและถือเป็นการเสียสละที่ยิ่งใหญ่
กลุ่ม 10·        ต้องเชื่อตนเอง เลือกสิ่งที่ชอบ อย่าเลือกที่ได้และให้ความสำคัญกับชื่อเสียงมหาวิทยาลัยมากเกินไป
กลุ่ม 11·        การบรรยายครั้งนี้ทำให้คิดเป็นมากขึ้น สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็สามารถไปเรียนที่อื่นได้·        ชื่อเสียงมหาวิทยาลัยก็สำคัญ แต่เวลาจบแล้วไปสมัครงานที่บริษัทบางแห่งก็เลือกรับคนจบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ควรจะทำอย่างไร.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ตอบว่า·        ถ้าสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ควรมองทางเลือกอื่นๆ เช่น ABAC มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยศรีปทุม·        หรือเรียนจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ก็สามารถไปเรียนต่อปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้
กลุ่ม 12·        การเข้ามหาวิทยาลัยได้ เป็นก้าวแรกไปสู่ความสำเร็จ ยังไม่ถือว่าประสบความสำเร็จ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอแนะว่า·        คนเรียนเก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องปรับตัวเก่งและหาความรู้เก่ง
กลุ่ม 13·        การบรรยายครั้งนี้ทำให้ทัศนคติและมุมมองกว้างขึ้น·        คนเรียนเก่งอาจไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ เพราะการเรียนกับการทำงานเป็นคนละเรื่องกัน 
สรุปโดย ทีมงาน ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์  : จิตรลดา  ลียากาศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท