8 ปัจจัยเสี่ยงโรคปริทนต์จนเสียฟัน


ปีนี้ (2548) เป็นปีแห่งรอยยิ้มของคนไทยที่ไม่มีฟัน เพราะปีนี้กระทรวงสาธารณสุขรับบริจาคเงินเข้าร่วมโครงการฟันปลอมผู้สูงอายุ

ปีนี้ (2548) เป็นปีแห่งรอยยิ้มของคนไทยที่ไม่มีฟัน เพราะปีนี้กระทรวงสาธารณสุขรับบริจาคเงินเข้าร่วมโครงการฟันปลอมผู้สูงอายุ

ผู้เขียนขอถือโอกาสนี้อนุโมทนากับทุกท่านที่ร่วมกันจัดโครงการฯ ตรวจฟัน ทำฟันปลอม และบริจาคเงินทำฟันปลอม

ดร.คาร์ลาฟ เอฟ อัล-ชามมัน อาจารย์มหาวิทยาลัยคูเวตแห่งจาฟนาร่วมกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้ทำการศึกษาสาเหตุของการสูญเสียฟันพบว่า

นอกจากฟันผุแล้ว โรคปริทนต์ (peridontal disease)เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สูญเสียฟัน

โรคปริทนต์หรือโรคเนื้อเยื่อรอบฟันได้แก่ โรคเหงือก(บริเวณใกล้คอฟัน) เยื่อหุ้มฟัน และเยื่อยึดฟันเป็นสาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้สูญเสียฟัน

คณะของท่านได้ทำการสำรวจคลินิกทันตกรรม 21 แห่ง คิดเป็น 1 ใน 4 ของคลินิกทันตกรรมในคูเวตเป็นเวลา 1 เดือน

การศึกษานี้สำรวจจากฟันที่ถูกถอน 3,694 ซี่ จากคนไข้ 1,775 คน เรื่องนี้ได้ลงตีพิมพ์ในวารสารปริทนต์ (journal of periodontology) ฉบับพฤษจิกายน 2548

ผลการวิจัยพบว่า โรคปริทนต์เป็นเหตุให้สูญเสียฟันถึง 30 % ของฟันที่ถูกถอนทั้งหมด เฉลี่ยแล้วทำให้สูญเสียฟัน 3 ซี่ต่อคน ฟันที่สูญเสียเป็นฟันด้านหน้ามากกว่าด้านหลังถึง 3 เท่า

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคปริทนต์(เนื้อเยื่อรอบฟัน)ไม่ดีจนสูญเสียฟันได้แก่

1.      อายุ:

คนที่มีอายุ 36 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่า

2.      เพศ:

เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

3.      บุหรี่:

คนที่สูบบุหรี่หรือเคยสูบบุหรี่มาก่อนมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 56 %

4.      การดูแลเหงือก:

คนที่ดูแลเหงือกบริเวณใกล้คอฟันดีมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่ไม่ดูแลเหงือกบริเวณใกล้คอฟัน

5.      แปรงฟัน:

คนที่แปรงฟันเป็นประจำมีความเสี่ยงน้อยกว่าคนที่ไม่แปรงฟัน คนไข้ที่นั่นเกือบ 60 % ไม่เคยแปรงฟัน หรือแปรงฟันไม่สม่ำเสมอจึงเป็นคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง

6.      รูมาตอยด์:

คนที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 4 เท่า สาเหตุที่คนไข้ข้ออักเสบฯ มีความเสี่ยงมากขึ้นอาจเป็นผลจากโรคนี้ทำให้ข้อนิ้วมือและข้อมือเจ็บ หรือใช้งานได้ดีน้อยลง (ผู้เขียน)

7.      เบาหวาน:

คนไข้ที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 3 เท่า

8.      ความดันเลือดสูง:

คนไข้ที่มีความดันเลือดสูงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น สาเหตุที่คนไข้เบาหวาน และความดันเลือดสูงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากความเสื่อมของเส้นเลือด ทำให้เนื้อเยื่อไม่แข็งแรง (ผู้เขียน)

หมายเหตุ:

  •  การดูแลเหงือกบริเวณใกล้คอฟัน (periodontal maintenance) ที่สำคัญได้แก่ การแปรงฟันให้ถูกวิธี การใช้ไหมขัดฟัน (dental floss) ทุกวัน และการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตแพทย์ทุก 6 เดือน 

แหล่งข้อมูล:

  • ขอขอบคุณ > www.reuters.com > Home > News > Health > Charnicia E. Huggin.  Tooth loss from gum disease: are you at risk? > November 14, 2005.
  • ขอขอบคุณ > อาจารย์ ทพ.สุทธิเวช มาสิงห์ ศูนย์มะเร็งลำปางสำหรับคำอธิบายเรื่อง
    ปริทนต์ (periodontal disease & periodontal maintenance)
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" และการอ้างอิงมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษา > ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
หมายเลขบันทึก: 7284เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท