6 วิธีลดน้ำหนักแบบอาจารย์ชุมศักดิ์


วิธีลดน้ำหนักแบบอาจารย์ชุมศักดิ์

ท่านอาจารย์พลตำรวจตรี นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ซึ่งเป็นอาจารย์หมอผ่าตัดที่เกษียณราชการจากโรงพยาบาลตำรวจเขียนเรื่อง “เคล็ดลับช่วยลดน้ำหนัก” ไว้ในหนังสือ “ผมเขียนหนังสือใช้ได้ แต่ไม่ดัง”

ท่านแนะนำว่า ยังไม่มีการลดน้ำหนักที่ได้ผลชะงัด ส่วนใหญ่ต้องอาศัยมาตรการหลายๆ อย่างทำพร้อมกันไป

สาระสำคัญมากที่ควรนำไปใช้ (practical point) ที่อาจารย์ท่านแนะนำไว้ดีมากๆ คือ การลดน้ำหนักนั้น... ไม่จำเป็นต้องลดจนผอมเหมือนหุ่นนางแบบ ขอเพียงลดให้ได้ 10 % ของต้นทุนที่มีอยู่เดิมก็ดีกับสุขภาพ และลดความเสี่ยงต่อเบาหวานด้วย

ขอนำบางส่วนมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้...

1.      กินโยเกิร์ต                                                         

มหาวิทยาลัยเทนเนสซีวิจัยพบว่า คนที่ลดอาหารลงวันละ 500 แคลอรี่ และกินโยเกิร์ตวันละ 3 เวลา จะลดน้ำหนักลงได้ 6 กก.ภายใน 12 สัปดาห์ ลดได้มากกว่ากลุ่มที่ลดอาหารลงอย่างเดียว

2.      ออกกำลังและกินแอปเปิ้ล                                 

คนในเมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในรัฐวอชิงตัน สหรัฐฯ 366 คนใช้วิธีออกกำลังกาย กินอาหารสมดุล(อาหารครบทุกหมู่) และกินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผลทุกมื้อเย็น ลดน้ำหนักได้เฉลี่ยคนละ 7.73 กก.ใน 3 เดือน

คนที่นั่นบอกว่า แอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารมาก ทำให้อิ่ม

3.      สั่งอาหารจานเล็ก                                              

มหาวิทยาลัยนอร์ธ แคโรไลนาแนะนำว่า ปัจจุบันภัตตาคารทำอาหารจานหลักใหญ่ขึ้นถึง 25 % แม้แต่เครื่องดื่มก็ใช้แก้วใหญ่ขึ้น

ถ้าไปกินข้าวนอกบ้าน อย่ากินให้หมด หรืออาจจะสั่งอาหารจานเล็กแทน เน้นพวกพืชผักแทนอาหารจานใหญ่

4.      ดื่มน้ำมากๆ                                                       

บ่อยครั้งที่คนเราเข้าใจผิดคิดว่าหิวข้าว จริงๆ แล้วไม่ใช่หิวข้าว แต่เป็นความรู้สึกหิวน้ำ ถ้าต้องการลดน้ำหนักให้ลองกินน้ำดูก่อนว่า หายหิวหรือไม่ ถ้ากินน้ำเข้าไปมากแล้วไม่หายหิวค่อยกินข้าว ถ้าเบื่อน้ำเปล่าก็ลองบีบน้ำมะนาวผสม เพื่อให้รสชาดดีขึ้น

5.      ยืนแทนนั่ง                                                         

คนเราจะเผาผลาญพลังงาน 100 แคลอรี่ต่อชั่วโมงเวลานั่ง และ 140 แคลอรี่ต่อชั่วโมงเวลายืน ถ้ายืนทำงานเพิ่มขึ้นวันละ 2 ชั่วโมงจะทำให้น้ำหนักลดลงปีละ 2.73 กก.

6.    นอนให้พอ                                                           

วารสารการแพทย์แลนเซทรายงานว่า ถ้านอนให้พอจะลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น การนอนหลับๆ ตื่นๆ จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโซน หรือฮอร์โมนตอบสนองต่อความเครียด ทำให้หิวเร็วและกินจุ นอกจากนั้นการอดนอนยังทำให้ร่างกายใช้แป้งและน้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานน้อยลง ทำให้เกิดการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น

คำแนะนำ:

น้ำผลไม้:                                                            

หลังดื่มน้ำผลไม้ เช่น มะนาว ฯลฯ ควรรีบบ้วนปาก แล้วรอประมาณ 15 นาทีก่อนแปรงฟัน เนื่องจากน้ำผลไม้มีส่วนทำให้เคลือบฟันอ่อนลงชั่วคราว

ถ้าแปรงฟันทันที ใช้แปรงสีฟันขนแข็ง หรือแปรงแรงจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะเคลือบฟันสึก ซึ่งอาจทำให้เสียวฟัน หรือฟันผุได้ง่าย ควรใช้แปรงขนอ่อน และแปรงเบาๆ ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

ปัจจัยเสี่ยงต่อเส้นเลือดดำขอดที่ขา:                           

ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดดำขอดที่ขาได้แก่ พันธุกรรม ฮอร์โมนเพศหญิงผิดปกติ การตั้งครรภ์ และอาชีพ

อาชีพที่ต้องยืนนานๆ เสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป 3-4 เท่า วิธีทำให้ความเสี่ยงลดลงได้แก่ ควรเดินสลับยืนแทนการยืนนานๆ ขยับขาไปมาบ่อยๆ ในท่ายืน หรือเดินออกกำลังกายแทนการยืน

โยเกิร์ต:                                                                        

โยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวเมืองไทยใส่น้ำตาลมาก ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ (low fat) หรือชนิดไม่มีไขมัน (nonfat) ไม่ควรกินเกินวันละ 1 ถ้วย หรือเลือกชนิดไม่ใส่น้ำตาล (plain yoghurt) แทน

วิธีเลือกโยเกิร์ตควรดูฉลากอาหารด้านข้าง เลือกชนิดที่มีไขมันน้อย ไขมันอิ่มตัวน้อย และน้ำตาลน้อยไว้ก่อน ควรกินต่างยี่ห้อกันบ้าง เพื่อให้ลำไส้ใหญ่มีเชื้อท้องถิ่นหลายชนิด

    แหล่งที่มา:                                      

  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์ พลตำรวจตรี นพ.ชุมศํกดิ์ พฤกษาพงษ์. ผมเขียนหนังสือใช้ได้ แต่ไม่ดัง. บริษัท เมดิ เจอร์นัล จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ 2548: 101,103-105.
  • ขอขอบพระคุณ > กองบรรณาธิการ. เฉพาะโรค: Endovenous Laser: ทางเลือกของหลอดเลือดดำขอดที่ขา. บทสัมภาษณ์ ผศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ. วงการแพทย์ (16-31 ตุลาคม 2548). ฉบับ 208 ส่วนแทรกระหว่างหน้า 26-27.
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" และการอ้างอิงมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษา > ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
หมายเลขบันทึก: 7282เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2005 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท