Km 97บทบาทของ อบต.จะหนุนเครือข่ายอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ของชาวบ้านได้อย่างไร


การพึ่งตนเองของชุมชนน่าจะเกิดขึ้นให้เห็นจากการที่ชาวบ้านได้ลงมือปฏิบัติเองเรียนรู้ เพื่อค้นหาความรู้เป็นความรู้ของแต่ละท้องถิ่นเพื่อความอยู่รอดของเขาเอง

          องค์การบริหารส่วยตำบล (อบต.)  เป็นองค์กรการปกครองท้องถิ่นที่เริ่มมีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านมาก  และจะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ  ในอนาคต  อบต.เรามีศักยภาพและทรัพยากร ในการที่จะทำงานมากมาย  มีความรวดเร็วในการตัดสินใจ  มีอำนาจ ทางการเงินและการคลังที่สามารถหนุนเสริมโครงการ หรือกิจกรรมในชุมชนได้อย่างรวดเร็ว  และมีประสิทธิภาพ

          โครงการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่พันธ์  CA  ซึ่งเป็นพันธุ์ไทยแท้  ที่เหมาะกับชนบทโดยเฉพาะภาคอีสานที่ทนต่อ ความร้อน เลี้ยงง่ายและเลี้ยงได้ดีในโรงเรือนเปิดทั่ว ๆไป  ไข่ดก (277 ฟอง / ตัว / ปี) ต้นทุนการผลิตไข่  ต่อฟอง 1.50 บาท

เงื่อนไขพิเศษของโครงการนี้ (6 เดือนแรก)

  • กลุ่มแรกนำไก่สาวพร้อมไข่ไปทดลองเลี้ยง 13  คน ๆ ละ 30  ตัวเพื่อค้นหา.ศักยภาพของไก่ไข่กับเงื่อนไขที่แตกต่างของคนเลี้ยง  ลักษณะโรงเรือน  สิ่งแวดล้อมเพื่อเปรียบเทียบอัตราการกินอาหารกับการตกไข่ว่าสอดคล้องกับสภาวะในห้องทดลองหรือไม่อย่างไร
  • เพื่อตรวจสอบ "ผู้กล้า" ที่จะเข้าสู่กระบวนการของเครือข่ายผลิตไข่ไก่ของแต่ละตำบลที่ครบวงจรตั้งแต่ผู้ผลิตไก่เล็ก  ผู้ผลิตไก่รุ่น  ผู้เลี้ยงไก่ไข่(ผลิตไข่)  ผู้จำหน่ายหรือแม้แต่เป็นได้เพียงผู้บริโภคไข่เท่านั้น
  • เงื่อนไขการผลิตอาหารไก่สำเร็จรูปจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนจากราคาในท้องตลาด  13  บาทต่อกิโลกรัมเหลือ  7  บาทต่อกิโลกรัม

         ถวามว่า  :  จะจัดการกับผลผลิตของเกษตรกรเช่นข้าว ข้าวโพด  ถั่วที่ราคาตกเพื่อนำมาเพิ่มมูลค่าโดยการนำมาผลิตเป็นอาหารไก่ไข่อย่างไร

          ตอบ  :  อบต.  ซึ่งมีหน้าที่ต้องบำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฏร  ตามมาตรา  23 วงเล็บ5  ของพรบ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลสามารถให้การสนับสนุนทั้งด้านการจัดการและทุนดำเนินการไนเบื้องตน

         โจทย์  :   เมื่ออบต  กระโดดเข้ามาร่วมกับโครงการนี้จะเกิดอะไรขึ้น

  • เกิดกระบวนการพัฒนาอาชีพของชาวบ้านจากไก่ไข่อย่างเดียวเป็นหลากหลายอาชีพ เช่นคนผลิตไก่เล็ก  คนเลี้ยงไก่ไข่คนขายไข่  คนกลุ่มปลูกพืชเพื่อนำมาผลิตเป็นอาหารไก่  กลุ่มผลิตอาหารไก่  กลุ่มขายอาหารไก่ไข่และอีกมากมายหลายอาชีพ
  • เกิดอาหารคุณภาพดีราคาถูกในชุมชน ที่คนจนธรรมดาก็เข้าถึงได้
  • สร้างรายได้สร้างงานให้กับคนในชุมชนส่วนกำไรกลับมาหมุนเวียนภายในชุมชนของตนเอง

           การพึ่งตนเองของชุมชนน่าจะเกิดขึ้นให้เห็นจากการที่ชาวบ้านได้ลงมือปฏิบัติเองเรียนรู้ เพื่อค้นหาความรู้เป็นความรู้ของแต่ละท้องถิ่นเพื่อความอยู่รอดของเขาไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้หรือเปล่า    หรือท่านผู้รู้มีความเห็นเป็นเช่นใด ครับ    

หมายเลขบันทึก: 72824เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียน อาจารย์แสวงที่เคารพ

  • มีสัญญาณจากหลายฝ่ายเห็นว่า วิทยานิพนธ์ ของผมน่าจะใช้ โครงการส่งเสริมการเลียงไก่ไข่ เป็นพระเอกในการเดินเรื่อง
  • วันนี้ผมได้หารือกับครูบาในการเชื่อมโยง และบทบาทของ อบต.ในเรืองนี้ว่าน่าจะเป็นอย่างไร
  • ครูบาไห้ความเห็นว่าเราไม่ควรไปบีบบังคับไห้เขาทำ แต่ควรหาแนวทางหรือวิธีการ ให้ อบต. อยากเข้ามาร่วมทำเอง.....อาจารย์มีความเห็นอย่างไรครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท