มอ. ใช้สภาวิชาการทำอะไร


          ผมเคยมีสัมผัสโดยตรงกับสภาวิชาการในมหาวิทยาลัย ๓ แห่ง  คือ มหิดล, มวล.,  และ มอ.

          ผมคิดว่ามอ. ใช้สภาวิชาการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางวิชาการ โดยเฉพาะการเรียนการสอนได้เก่งที่สุด

          ใช้เป็นกลไกสร้างเงื่อนไข/มาตรฐานวิชาการ   โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นแรงหนุน หรือแรงค้ำ   การขับเคลื่อนคุณภาพวิชาการบางด้านทำได้ไม่ง่าย   เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัยมีความเป็นตัวของตัวเอง (individualism) สูง   การจัดการคุณภาพวิชาการจึงไม่ใช่ของง่าย   มีบ่อยมากที่คุณภาพวิชาการมีอยู่เพียงในกระดาษ

          สภาวิชาการของ มอ.   มีอธิการบดีเป็นประธาน   รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษาเป็นรองประธาน   รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการเป็นกรรมการและเลขานุการ   มีผู้แทนสภาอาจารย์เป็นกรรมการ   ผู้บริหารระดับรองอธิการบดีและคณบดีจำนวนหนึ่ง เป็นกรรมการ  และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ๑๐ คน   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ภายในมหาวิทยาลัย ๓ คน

          ผมมองว่า สภาวิชาการ มอ. "ชง" เรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเก่ง   อธิการบดีทำ PowerPoint ใส่ Notebook มานำเสนอภาพใหญ่ในแต่ละประเด็น อย่างน่าประทับใจมาก

          ผมชื่นชมว่า ผู้บริหารของ มอ. มีความตั้งใจในการใช้สภาวิชาการเป็นเครื่องมือในการบริหารวิชาการของมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริงและแข็งขัน

          ผมขอแสดงความชื่นชมท่านอธิการบดี รศ.ดร.บุญสม   ศิริบำรุงสุข

วิจารณ์   พานิช
๗ ม.ค. ๕๐

 

 

หมายเลขบันทึก: 72757เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท