suleewong


การศึกษาชุมชน
suleewong เมื่อ อ. 07 ม.ค. 2550 @ 14:16 (131968)
   จากการลงพื้นที่ศึกษาชุมชนบ้านตะคลองแล้ง  อ.สูงเนิน  ทำให้เราได้ทราบว่าการที่เจ้าหน้าที่จะสามารถรับรู้และเข้าใจปัญหาของชุมชนและแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการของชุมชนนั้น  ความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยแต่บางครั้งเราก็ลืมไปบ้าง  วิธีการที่จะทำให้เราเข้าใจและเข้าถึงชุมชนได้อย่างแท้จริงนั้น  เราต้องใช้  เครื่องมือ 7 ชนิด  ของคุณหมอโกมาตร  ได้เขียนไว้ในวิถีชุมชน  ถ้าเรานำความรู้ที่คุณหมอเขียนไว้มาใช้ในการทำงานชุมชน  เราจะรู้เลยว่าการทำงานชุมชนนั้นไม่ยากเลย  ในที่นี้จะขอกล่าวถึง  การทำแผนที่เดินดิน  คำว่าเดินดินก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าวิธีการทำต้องเดินเข้าไปในชุมชนด้วยตัวของเราเอง  เดินทีละบ้าน  ทีละซอย  จนครบทั้งหมู่บ้าน  หลายท่านอาจคิดว่ากว่าจะเสร็จคงจะนานมาก  ในภาวะที่มีภาระงานมากจนล้นมืออย่างนี้จะทำได้หรือ ? ความจริงแล้วไม่ยากและนานอย่างที่คิดเลย  เราใช้เวลาที่ว่างจากภาระงานประจำ  ลงไปเดินสำรวจเรื่อย ๆ คิดถึงแค่วันนี้  ทำแค่วันนี้อย่าไปคิดว่าเหลืออีกเท่าไหร่จึงจะครบ  อีกนานแค่ไหนจะสำเร็จ  เพราะถ้าคิดแบบนี้  ท่านจะท้อแท้และจะทำให้ไม่มีความสุขในการลงชุมชนและงานของท่านก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ  ลองทำดูก่อนแล้วท่านจะรู้ว่าแผนที่เดินดินเป็นเรื่องที่สนุกและท้าทายมาก ๆ                                     ศุลีวงศ์  สนสุผล                                           สม.4
คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 72735เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
บางชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับชาวบ้านก็มองปัญหาต่างกัน เจ้าหน้าที่ก็จะมองแต่เรื่องสุขภาพ ส่วนชาวบ้าน (บางส่วน) ก็จะมองเรื่องรายได้ สาธารณูปโภคมากกว่า ซึ่งก็ต้องพยายามเข้าใจเขา เหมือนที่อาจารย์เคยสอนว่า นำใจเขามาใส่ใจเรา แล้วถึงที่สุดแล้ว นำใจเราไปใส่ใจเขา ได้ด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท