แนะนำโครงการธาลัสซีเมีย


Thalassemia Research Center - Mahidol University

โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย

http://www.st.mahidol.ac.th/thalassemia/


ปณิธาน:
สถาบันฯ มุ่งวิจัยให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นเลิศ
ส่งเสริมนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ สร้างบุคลากรที่มีความสามารถเฉพาะทาง
เพื่อประโยชน์แก่สังคมและการพัฒนาประเทศ

 

คำขวัญ:
"พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"

ประวัติ
โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย

          โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ ประเวศ วะสี เป็นผู้อำนวยการโครงการวิจัยธาลัสซีเมียเป็นคนแรก การดำเนินงานทั้งงานวิจัย และงานบริการในระยะแรกทำอยู่ที่สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ต่อมามีการขยายขอบเขตของงานวิจัย และมีความจำเป็นต้องมีสถานที่ปฎิบัติงานวิจัยเพิ่มขึ้น จึงได้ขยายงานมาที่ตึกสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาลายา ในปี พ.ศ. 2539 งานวิจัยมีทั้งทางกว้างและทางลึก เกี่่่ยวกับการตรวจรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ศึกษาเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยาที่เปลี่ยนไป การตรวจทางโลหิตวิทยา และการศึกษาครอบครัวผู้ป่วย ตลอดจนการศึกษาทางด้านอณูชีววิทยา และการศึกษาเกี่ยวกับธาตุเหล็ก งานวิจัยหลายอย่างจะทำเป็นเครือข่ายร่วมกับนักวิจัยในสังกัดสถาบันอื่นและนักวิจัยจากต่างประเทศ ทำให้สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ผ่านมาที่หลากหลายและเ็ป็นประโยชน์ นำมาใช้รักษาผู้ป่วยและช่วยในการวางแผนงานควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมียในระดับประเทศ

งานที่ได้รับผิดชอบอยู่ในปัจจุบัน แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้:

1. ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ตั้งแต่ระดับคลีนิกจนถึงระดับโมเลกุล มีการศึกษาพยาธิวิทยาของโรคและพัฒนายาที่ขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายชนิดรับประทาน หรือยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก และศึกษาผลของยาที่ช่วยกระตุ้นการสร้างฮีโมโกลบินเพื่อให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น

2. ศึกษาวิธีการให้บริการการตรวจ รักษา และแนะนำแก่คนไข้โรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งครอบครัว ร่วมกับโรงพยาบาลต่างๆ ทั่งที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงสาธารณสุข

3. ศึกษาวิธีการควบคุมและวางแผนการควบคุมโรคนี้ในระดับประเทศ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และมูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. ให้การฝึกอบรมแก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากภายในประเทศและจากประเทศอื่นในภูมิภาค

--------------------------------------------- 

ติดต่อได้ที่:
โครงการวิจัยธาลัสซีเมีย
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
999 ถ. พุทธมณฑลสาย 4 ต. ศาลายา อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม 73170
โทรศัพท์: 02-889-2557-8
โทรสาร: 02-889-2559
อีเมล์: [email protected]

คำสำคัญ (Tags): #iron#thalassemia
หมายเลขบันทึก: 72687เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 09:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมอยากทราบสถานการ์ปัจจุบันของโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียบครับ

อยากทราบ ็ Hb S คือเท่าไหร่และค่าปกติในเด็ก1 ปีคือเท่าไหร่ค่ะ

_นางสาวอรอุมา คุณสิงห์

เรียน  ศ.พญ. ท่านผู้หญิง   เพ็ญศรี     ดิษฐทรงจรรย์  ภู่ตระกูล

           ดิฉันตั้งท้องได้  21  สัปดาห์แล้ว   ตรวจเลือกเจอพาหะโรคธารัสสิเมียทั้งพ่อและแม่    อยากทราบว่าโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้มีสุงหรือไม่คะ 

             อยากทราบว่าอาหารเสริมประเภทไหนบ้างที่ควรรับประทานเพิ่มเลือดให้บุตรในครรภ์

 

                                                  ขอขอบคุณมากคะ

 

                                                          อรอุมา (อร)

พอดีแฟนผมท้องหมอตรวจเลือดเจอพาหะธาลัสซีเมีย แล้วก็เรียกผมเข้าไปตรวจด้วยผมก็เป็นพาหะเหมือนกันผมกังวลมาก .เพราะผมไม่รู้ว่าลูกที่อยู่ในท้องแฟนผม จะเป็นโรคนี้ ไม่รู้ว่าเขาจะเป็นโรคนี้อย่างรุนเเรงรึเปล่าหมอที่ผมพาแฟนไปฝากท้องเลยได้เขียนใบส่งตรวจทีศิริราช ผมเรยกังวนมากว่ามันยังมีวิธิรักษา แล้วอย่างนี้ลูกของผมเข้าจะแข็งแรงและสุขภาพดีเหมือนเด็กคนอื่นๆมั๊ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท