เด็กที่โลกลืม


                          คุณสุเรียน จาก ศบอ.ได้รับมอบหน้าหน้าที่จาก ผอ.กฤษดา ศบอ.เวียงสา และ ศนจ.น่าน ประสานงานในพื้นที่ เพื่อศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน รายการนพ.ชาตรี เจริญศิริ  คุณหมอนำเรื่องมาสื่อในรายการ 12 ม.ค.2550 ว่า พระเทพนันทาจารย์ และคณะจะไปจัดงานวันเด็กให้เด็ก เยาวชนตองเหลืองวันนี้ครับ 

                         มีคำพูดว่าในรายการเช้านี้ ( อุษาพาชื่น 0630-0700 น.สวท.น่าน วันศุกร์ ที่ 12 ม.ค.2550 คลื่น เอฟ เอ็ม94.75 ) ว่าเด็กฯ กลุ่มนี้ไม่น่าจะด้อยโอกาส หากแต่เป็นเด็กที่โลกลืม  เรียนว่า ภาคีจิตอาสาฯ ได้เข้ามาร่วมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยจิตใจบริสุทธิ์  เพื่อให้โลกรับรู้ว่า เราชาวไทยและชาวโลกไม่ทอดทิ้งกัน นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งแห่งการพัฒนาที่นำมาบอกเล่าให้ร่วมรับรู้

คำสำคัญ (Tags): #ส่งเสริม
หมายเลขบันทึก: 72220เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2007 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีคะเด็กไทยที่น่ารักทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนตองเหลือง

ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกจงอำนวยพรให้เด็กไทยทุกท่านและทุกหย่อมหญ้ามีสุขภาพพลานามัยทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรง ร่าเริง มีสติปัญญาและสมองแจ่มใส ฉลาดและมีเหตุมีผล มีความกตัญญูรู้คุณแด่พ่อแม่และครูบาอาจารย์มีอนาคตที่ก้าวหน้า และเป็นตัวแทนภาพพจน์ที่ดีของประเทศไทยในปี ๒๕๕๐ และชั่วกาลนานเทอญ

อย่างที่เคยเล่าว่าในประเทศฝรั่งเศส กฏหมายคุ้มครองเด็กนั้นรุนแรงมาก การที่ไม่ไม่ได้เฉลิมฉลองในวันเด็กนั้น เพราะเขาให้ความสำคัญกับเด็ก ๆ ในแต่ละวันแล้วนั่นเอง เด็กฝรั่งเศสตั้งแต่ชั้นอนุบาล ทางโรงเรียนจะนำออกไปศึกษานอกสถานที่เพื่อเรียนรู้ว่าอาหารหลักที่ทานกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คือ ขนมปังนั้นทำมาจากอะไร และขั้นตอนการผลิตเป็นอย่างไร ผลไม้หลักก็เช่นกันต้องรู้ว่าตัวต้นไม้มีรูปร่างหน้าตา
และให้ดอกออกผลอย่างไร กว่าจะมาถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้าย และเด็กก็ต้องไปลองผลิตเองด้วย อ้าว ! เขียนถึงตรงนี้ไม่ทราบว่าเด็ก ๆ
ไทยจะรู้จักการทำนาปลูกข้าวหรือเปล่า ?

การนำเด็กออกไปทัศนศึกษานอกโรงเรียนนั้น จะต้องมีครู ผู้ใหญ่ที่มีความรู้และประสบการณ์ หรือพ่อแม่ของเด็กที่อาสานำเด็ก ๆ ออกนอกสถานที่ร่วมไปกับโรงเรียนด้วย โดยกำหนดเด็ก ๖ คนต้องมีผู้ใหญ่ดูแลรับผิดชอบ ๑ คน ถ้ามีเด็ก ๓๐ คนก็ต้องมีผู้ดูแล ๕ คน

แนวความคิดเรื่องให้ความสำคัญหรือคุ้มครองเด็กกับระบบการบริหารประเทศนี้บางทีก็สวนกับกระแสความคิดและลักษณะหรือระบบการปกครองโดยรวมของประเทศซึ่งแต่ละประเทศก็จะมีแนวความคิดที่เหมาะสมเป็นของตนเอง คือประเทศยุโรป ประชาธิปไตยก็จะเบ่งบานเต็มที่ เด็ก ๆ จึงมีอิสระจนเกินขอบเขตก็มี แต่ทั้งนี้ แนวความคิดเดิม ๆ ของการเลี้ยงดู อบรม ปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงามของพ่อแม่ของเด็กแต่ละครอบครัวก็ยังพอมีหลงเหลืออยู่บ้างแต่น้อยเต็มที ประเทศฝรั่งเศสเมื่อ ๘๐ กว่าปีก่อนก็เหมือนเมืองไทยเมื่อ ๒๐ ปีก่อน คือ ประชาธิปไตยในครอบครัวยังไม่เบ่งบานขนานหนักเหมือนในปัจจุบัน เด็กไทยยังมีความเคารพ มีสัมมาคาระวะต่อผู้ใหญ่หรือครูบาอาจารย์ และยังนึกถึงความกตัญญูรู้คุณตอบแทนพ่อแม่อยู่ แต่เด็ก ๆ ในยุคนี้คงไม่ค่อยได้นึกถึงเรื่องเหล่านี้มากนัก

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงต้องกล่าวถึงพ่อแม่ที่ให้การอบรมบ่มนิสัยลูกอย่างไร เพราะเคยได้ยินพ่อแม่คนไทยต่อว่าต่อขานกันอยู่ว่า "เธอเลี้ยงดูลูกแบบโลกตะวันตกเลยนะ " คือ ให้อิสระ ตามใจลูกมาก ลูกอย่างได้อะไรก็ต้องจัดหามาให้ทุกอย่าง หรือลูก ๆ ไม่เคยนึกถึงความเหนื่อยยากของพ่อแม่ก็มี ลูกไม่ช่วยพ่อแม่ทำอะไรเลยเหมือนพ่อแม่เป็นคนใช้ของลูกก็มี จึงคิดว่าอยู่ที่พ่อแม่ของเด็กเป็นสำคัญด้วย

เด็ก ๆ ก็เปรียบเหมือนผ้าขาวบริสุทธิ์ที่พ่อแม่จะแต่งแต้มบรรจงให้สีที่กลมกลืนหรือความเหมาะสมและความสวยงามนั่นเองเด็ก ๆ ฝรั่งเศสจะอ่านหนังสือมาก และเข้าห้องสมุดมาก หนังสือหรือตำราเรียนทาง
รัฐโดยสถาบันการศึกษาจะจัดบริการให้ยืมและส่งคืนปลายปีการศึกษาก่อนปิดเทอม ห้องสมุดกลาง และห้องสมุดชุมชนจึงมีความทันสมัยมากและสะดวกต่อการค้นคว้าและเรียนรู้ การศึกษาในประเทศฝรั่งเศสจะเป็นการให้บริการของรัฐ ค่าเรียนไม่แพงมากมายเหมือนในประเทศไทย  เรียนปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกเราจ่ายกันเพียงปีละประมาณ ๒๐๐ ยูโรหรือ ๑ หมื่นกว่าบาทเท่านั้น

และถ้าพ่อแม่รายได้ไม่ถึง รัฐก็จะให้ทุนการศึกษา และรวมถึงค่าเดินทาง ค่าอาหารกลางวัน โดยมิต้องจ่ายคืนแต่ทั้งนี้ ก็เป็นเพราะระบบภาษีและการจ่ายคืนให้แก่สังคมของพ่อแม่หรือคนที่มีรายได้ในประเทศฝรั่งเศสสูงมาก คือในแต่ละเดือนที่ผู้มีรายได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนนั้นทางรัฐจะหักไปแล้วจำนวนเท่ากับเงินเดือนเพื่อเป็นเงินเกษียนตอนที่จะไม่ได้ทำงานแล้ว และเงินเดือนที่ได้รับจริงยังจะต้องนำมาจ่ายคืนรัฐเพื่อบำรุงสังคมโดยมวลรวม และภาษีด้วย เช่น จ่ายเพื่อช่วยคนตกงานทุกคน จ่ายค่าสวัสดิการเด็ก จ่ายค่าสวัสดิการคนสูงอายุ หรือจ่ายช่วยค่าที่พัก เป็นต้น จึงเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าระบบแบ่งปันให้แก่สังคม และทำนุบำรุงคนในประเทศทางอ้อมนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ ก็มิได้หมายความว่าเด็ก ๆ ฝรั่งเศสจะดีกว่าเด็กไทย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการปรับประยุกต์ให้พอเหมาะพอควรกับสภาพของแต่ละสังคม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่วิชาที่เลือกเรียนในระดับเริ่มมัธยมปลายจนจบก็มีให้เลือกหรือรองรับความสามารถความถนัด สติปัญญา หรือศักกายภาพของเด็กอย่างมากมาย และระหว่างเรียน เด็กก็จะต้องฝึกงานจริงตามบริษัทต่าง ๆ ที่ทางสถาบันการศึกษาจัดหาให้ แบบเรียน ๒ อาทิตย์ และออกฝึกงานจริง ๒ อาทิตย์

คุณมาร์คนั้น นอกจากจะเป็นอาจารย์สอนหนังสือที่ดีเด่นติดต่อกันถึง ๑๓ ปีแล้ว ยังเป็นบรรณรักษ์หอสมุดของมหาวิทยาลัยครูด้วยเมื่อคุยกันเรื่องการถ่ายทำภาพจำลองชีวิตของพี่น้องตองเหลืองตั้งแต่เมื่อวานนี้ มิตรต่างแดนจะขอผนึกความคิดร่วมกับนักศึกษาไทยอีก ๒ คนที่กำลังทำปริญญาเอกอยู่ในประเทศฝรั่งเศสเรื่องกฏหมายและสิทธิคุ้มครองชนกลุ่มน้อย และการให้การศึกษาแด่ผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย

ขอฝากกำลังใจ ความเคารพในความเมตตา และคำขอบพระคุณไปยังคณะผู้ใหญ่ใจดีคณะจิตอาสา และผู้ที่มีความเข้าใจและมีความเมตตาต่อพี่น้องมราบรีทุกท่าน"แขนงไม้เมื่อรวมกันหลาย ๆ อันก็จะไม่มีวันที่ใครจะหักได้"
                          

                                                                      ยุวดี  บุตรไวยวุฒิ
http://gotoknow.org/blog/gotonan/72506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท