วานร คือ ลิง ...กินนรี คือ สัตว์ครึ่งคนครึ่งนก ...พวกเราก็รู้กันทั่วไป เมื่อดูตามคำแปลจะเห็นได้ว่า วานร นั้น คำไทยมีใช้เฉพาะได้แก่ ลิง แต่เราก็เอาคำบาลีมาใช้ด้วยในภาษาไทย... ส่วน กินนรี ไม่มีคำไทยใช้เฉพาะ...จะเล่าความหมายเดิมตามวิเคราะห์ของสองศัพท์นี้เพราะมีนิทานเหมือนๆ กัน กล่าวคือ...
มีคนกลุ่มหนึ่งไปเที่ยวป่า เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งอยู่ตามต้นไม้ ลงดินก็ได้ แสดงกิริยาอาการก็คล้ายๆ กันคน... ต่างก็สงสัยว่าสัตว์ชนิดนี้เป็นคนหรือไม่ ? ...ใครคนหนึ่งในกลุ่มคนเหล่านี้ จึงพูดขึ้นมาว่า คนหรือ หรือว่าคน ...นี้คือที่มาของชื่อสัตว์ชนิดนี้ ตามวิเคราะห์
นโร วา นโร วาติ วานโร คนหรือ หรือว่าคน ดังนั้น ชื่อว่า วานร (หรือว่าคน) ...วานร ตามรูปศัพท์ วา แปลว่า หรือ ... นร แปลว่า คน (วา+นร=วานร) ดังนั้น วานร จึงแปลว่า คนหรือ ?
คนกลุ่มนี้ก็เดินเที่ยวต่อไป ไปเห็นสัตว์ชนิดหนึ่งร่างกายท่อนบนเป็นคนหญิงบ้างชายบ้าง ส่วนร่างกายท่อนล่างเป็นนกมีขนเหมือนๆ กับนกทั่วไป... พวกเค้าก็สงสัยว่า สัตว์ชนิดนี้จะเป็นคนหรือไม่จึงพูดขึ้นว่า นั่น คนหรือ...นี้คือที่มาของชื่อสัตว์ชนิดนี้ ตามวิเคราะห์
เอส กึ นโรติ กินฺนโร นั่น คนหรือ ดังนั้น ชื่อว่า กินนร (คนหรือ) ...กินนร ตามรูปศัพท์ กึ แปลว่า หรือ... นร แปลว่า คน (กึ+นร=กินนร แปลงนิคคหิตเป็น น.หนู ตามหลักไวยากรณ์) ดังนั้น กินนร จึงแปลว่า คนหรือ ? ...ส่วน กินนรี เพิ่ม สระอี เมื่อใช้กับเพศหญิง (กินนร+อี = กินนรี) นั่นคือ กินนรเป็นเพศชาย ส่วน กินนรีเป็นเพศหญิง ...กินนร ศัพท์นี้คนไทยก็มีใช้ แต่ก็ไม่มักนัก ดังเช่นคนเฒ่าคนแก่ชาวปักษ์ใต้บางคนเรียกว่า ตัวกินหนอน หมายถึง กินนรหรือกินนรี นั่นเอง
สรุปว่า วานร และ กินนรี แปลว่า คนหรือ ? เหมือนกัน แต่บ่งชี้สัตว์ต่างชนิดกัน ...
อีกอย่างหนึ่งเฉพาะคำว่ากินนรหรือกินนรี กึ แปลว่า อะไร ก็ได้ บางท่านจึงบอกว่า กินนรี แปลว่า คนอะไร ? ...ซึ่งก็เป็นไปตามทำนองเดียวกัน...
อนึ่ง มีนิทานในวัดเรื่องหนึ่งว่า มีพระเถระรูปหนึ่งนั่งอยู่ใต้ไม้ และมีพระเถระอีกรูปหนึ่งเดินผ่านมาแล้วก็ทักทายว่า นั่งเหมือน 4 ศอกบรรทม แล้วก็เดินผ่านไป... พระเถระรูปที่นั่งอยู่คิด คิด คิด...แล้วก็ร้องเรียกเสียงดังว่า คุณๆ กลับมาก่อน มาพูดกันให้รู้เรื่อง คุณว่าผมเป็นลิงทำไม ?...
เฉลย 4 ศอก ( วา) + บรรทม (นอน) = 4ศอกบรรทม (วานร) ...และวานร คือ ลิง ...ดังนั้น นั่งเหมือน 4ศอกบรรทม ก็คือ นั่งเหมือนลิง (......)