เมนูชูสุขภาพ


อาหารชูสุภาพ

วันนี้ขอเปลี่ยนเรื่องเกี่ยวกับ ด้านการเงิน บัญชี การคลัง ซึ่งเป็นเรื่องที่ปวดหัวมีแต่วิชาการ จึงขอเปลี่ยนบรรยากาศบ้างมารู้จักกับเมนูชูสุขภาพ ซึ่งได้ความรู้มาจากหนังสือที่แฟนไปอบรมมาเกี่ยวกับการรักษาโรคอ้วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ทุกคนไม่ว่าหญิงหรือชายก็หันมารักษาสุขภาพกันทั้งนั้นไม่ว่ารูปร่าง หน้าตา ก็มีการดูแลกันอย่างดี ซึ่งสิ่งหนึ่งทุกคนควรรู้จักที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพในการเลือกบริโค และประกอบอาหารที่มีคุณภาพต่อร่างกาย จึงขอเสนอเมนูชูสุขภาพ ซึ่งบางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าเมนูชูสุขภาพคืออะไร  ก็คือ อาหารสุขภาพ คือ อาหารไทยทั้งประเภทจานเดียว หรือสำหรับที่ปรุงจากอาหารอย่างน้อยครบ  4  หมู่ (ถ้าเพิ่มผลไม้จะครบ 5 หมู่) มีปริมาณไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของการกระจายตัวของพลังงานในอาหารทั้งหมดปรุงจากวัตถุดิบที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ และมีรสไม่เค็มและหวานจัด

มารู้จักกับเมนูอาหารสุขภาพตามกลุ่มต่าง  ๆ ต้องที่เราต้องการที่สามารถเลือกรับประทานได้ ตามที่ต้องการเพื่อเพิ่มกลุ่มสามารถเลือกได้ดังนี้

1. เมนูสุขภาพกลุ่มให้ใยอาหารสูง  เช่น ยำสมุนไพร ยำตระไคร้ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกมะขาม น้ำพริกปลา ลาบเต้าหู้ ยำผักรวม โจ๊กข้าวกล้อง ขนมจีนน้ำยาป่า ขนมจีนปักใต้ แกงแคไก่ แกงขี้เหล็ก แกงเลียง ต้มไก่บ้านมะขามอ่อน แกงหอยขม ปลาช่อนนึ่งอีสาน แกงอ่อมไก่ แกงอ่อมปลาดุก แกงป่าปลาเห็ดโคลน

2. เมนูสุขภาพกล่มให้แคลเซียมสูง  เช่น น้ำพริกกะปิ ปลาทู ยำยอดคะน้า ยำผักกระเฉด ยำปลาทู ลาบเต้าหู้ทรงเครื่อง น้ำพริกปลาร้า ข้าวคลุกกระปิ แกงจืดเต้าหู้ ผัดเต้าหู้ถั่วงอก แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มดอกแค แกงส้มสมุนไพร แกงสัมผักรวม ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

3. เมนูสุขภาพกล่มให้วิตามินเอ และธาตุเหล็กสูง เช่น ยำผักหวาน ยำยอดมะระหวาน ยำยอดกระถิน ยำสะเดา เมี่ยงปลาทู แกงเขียวหวานไก่ เกาเหลาเลือดหมู แกงจึดตำลึงใส่ตับ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวผัดพริกไก่กับเครื่องในไข่ดาว ลาบหมู ลาบเป็ด ลาบเนื้อ ลาบไก่ ผัดผักบุ้งไฟแดง ผัดผักกระเฉด ผัดผักกวางตู้ง ผัดผักรวมมิตร ผัดผักโขมน้ำมันหอย แกงเหลืองหมูกับฟักทอง โจ๊กหมูเครื่องไนใส่ใข่ ก๋วยจั้บ ไข่ตุ๋นฟักทอง ก๋วยเตียวไก่มะระ ก๋วยเตียวรวมมิตร ก๋วยเตียวต้มยำ ซุปฟักทอง ซุปน้ำโพด ตับบด ผัดเปรี้ยวหวานตับ

4. เมนูสุขภาพกลุ่มให้ไขมันต่ำ เช่น ปลากระพงลอกจิ้ม แกงส้มปลาช่อน ต้มยำปลาช่อน ปลาเนื้ออ่อนนึ่งแจ๋ว ลาบปลาดุก ก๋วยเตี๋ยวปลา ปลาช่อนเผา น้ำพริกปลา ข้าวต้มปลา แกงอ่อมปลา ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา แกงไตปลา เกี๋ยวปลา ต้มปลานิลใส่ใบติ้ว ลาบปลา แกงอ่อมกบ แกงแคไก่ ต้มยำกุ้ง ต้มจืดวุ้นเส้น ส้มตำ ตำมะเขือ ยำส้มโอ ก๋วยเตี๋ยวไก่ตุ๋น สุกี้น้ำ น้ำพริกหนุ่มผัดสด

       อีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้จักการประเมินค่าดัชนีมวลกาย หรือที่เรียกว่า BMI  ซึ่งจะทำให้เราทราบน้ำหนักตนเองว่าอยู่ในเกณณ์ที่เหมาะสมต่อสถานะสุขภาพหรือไม่ โดยมีวิธีการคำนวนดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย  =  น้ำหนัก (กิโลกรัม)         

                                  ส่วนสูง(เมตร)Xส่วนสูง(เมตร)

ตัวอย่างการคำนวณ

คุณสมชายมีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม และส่วนสูง 1.6 เมตร (160 เซนติเมตร)

คำนวนได้                  55                =  21.48  กิโลกรัมต่อตาราง ม.

                           1.6 X  1.6

แสดงให้เห็นคุณสมชายมีน้ำหนักตัวปกติ ตามเกณฑ์ข้างล่างนี้

น้อยกว่าหรือเท่ากับ  18.5  ผอมไป อาจจะเกี่ยวกับการมีปัญหาสุขภาพ

18.5-24.9 น้ำหนักตัวเหมาะสมหรือปกติ ถ้ามากกว่า 23 ขึ้นไปเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดแล้ว    ผลทางสุขภาพน้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับคนส่วนใหญ่

25-29.9 น้ำหนักเกิด  ผลทางสุขภาพ มีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้นต่อการเกิดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคอื่น

มากกว่า 30 ขึ้นไป ผลทางสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการมีปัญหาสุขภาพรุนแรงขึ้น

ผู้ที่สนใจก็สามารถคำนวณของตนเองได้นะครับ จะได้ทราบว่าเรามีน้ำหนักว่าเกินไปหรือผอมได้นะครับ และสามารถเลือกอาหารได้ตามที่จะเพิ่มหรือลดตามกลุ่มเมนูอาหารได้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 71949เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2007 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณค่ะคุณจักริน
  • แวะมาชมว่า blog สีสันสวยงามดีค่ะ
  • หวัดดีครับพี่จักร
  • รูปลักษณ์เปลี่ยนแปลง...เนื้อหาเปลี่ยนไป
  • ทั้งสองอย่างเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนไปในทางที่ดี

ขอบคุณครับทั้งสองคนเลยครับที่เข้ามาเยี่ยมก็เรียนรู้จากคนเขียน Blog ครับ แต่ยังเขียนไม่ค่อยดีหรอกครับจะพยายามฝึกหัดต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท