โครงการสุขการสบายใจด้วยการออกกำลังกาย


เป้าหมาย : ต้องการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ (ทั้งหมู่ 5 และหมู่ 6) ให้แข็งแรง รวมทั้งสร้างสุขภาพจิตให้มีความร่าเริงแจ่มใส ด้วยการออกกำลังกายร่วมกัน และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการรวมตัวกัน ใช้เวลาร่วมกัน

(2) โครงการสุขการสบายใจด้วยการออกกำลังกายในท่ารำมโนราห์ประกอบดนตรีพื้นบ้านและการทำสมาธิ 1.      คำสำคัญ    : ออกกำลังกาย มโนราห์ ผู้สูงอายุ 2.      จังหวัด       : สงขลา 3.      กลุ่มเป้าหมาย  : ผู้สูงอายุ หมู่ 5 และหมู่ 6 บ้านท่านางหอม ต.น้ำน้อย อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 4.   เป้าหมาย   : ต้องการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่ (ทั้งหมู่ 5 และหมู่ 6) ให้แข็งแรง รวมทั้งสร้างสุขภาพจิตให้มีความร่าเริงแจ่มใส ด้วยการออกกำลังกายร่วมกัน และกิจกรรมอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการรวมตัวกัน ใช้เวลาร่วมกัน 5.   สาระสำคัญของโครงการ  : เนื่องจากแกนนำทั้ง 2 ท่านทำงานด้านสุขภาพผู้สูงอายุมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ตอนทำงานในชมรมผู้สูงอายุ ของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี โดยการผลักดันให้มีการตั้งชมรมผู้สูงอายุในหมู่บ้านที่มีความพร้อม ทั้งนี้เพราะเห็นว่าผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ ทำให้ร่างกายและจิตใจทรุดโทรม ขาดความสดชื่น ทั้งจากปัญหา การไม่มีงานทำ การไม่ได้ออกกำลังกาย ลูกหลานไม่ดูแล และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย จึงทำให้เกิดความสนใจที่จะผลักดันกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เมื่อได้เข้าไปที่บ้านท่านางหอมก็พบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังขาดรายได้ ห่อเหี่ยว และไม่มีความกระตือรือร้นเรื่องสุขภาพ จึงได้หาแกนนำและจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นในหมู่บ้านเมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 หลังจากตั้งชมรม จึงขอรับทุนจาก สสส. เพื่อมาจัดกิจกรรมให้กับชมรม โดยเน้นเรื่องการออกกำลังแบบที่ตนเองมีความถนัด 6.   เครื่องมือที่ใช้ : มีกิจกรรมหลัก 4 ส่วน คือ (1) การคัดเลือกรูปแบบการออกกำลังกายที่ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน และจัดทำ VCD. เพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการออกกำลังในหมู่บ้าน (2) การฝึกแกนนำในการนำออกกำลังกาย (3) ดำเนินกิจกรรมรณรงค์ออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (4) กิจกรรมเสริมคือการเข้าค่ายฝึกจิต ทำสมาธิ และการอบรมทำดอกไม้จันทน์เพื่อหารายได้ให้ชาวบ้าน 7.   การจัดระบบ โครงสร้าง กระบวนการทำงาน  : เมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มผุ้สูงอายุขึ้น และได้รับทุนจาก สสส. แกนนำได้พูดคุยกับชาวบ้านเพื่อเลือกการออกกลังกายที่ชาวบ้านสนใจ โดยชาวบ้านได้เลือกการรำมโนราห์ประยุกต์ เพราะชาวบ้านมีความคุ้นเคยกับศิลปะพื้นบ้านประเภทนี้ หลังจากเลือกการรำมโนราห์ประยุกต์ แกนนำได้เชิญผู้มีความรู้ด้านการออกกำลังจากสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬา มาดูแลเรื่องท่าออกกำลังไม่ให้หนักเกินไปสำหรับผู้สูงอายุ จากนั้นจึงให้แกนนำมาร่วมฝึกท่าออกกำลังตามที่กำหนด พร้อมทั้งอัด VCD. ไว้โดยมีบุคคลต้นแบบเป็นผู้สูงอายุของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เพื่อให้แกนนำไปฝึกต่อให้กับผู้สูงอายุในหมู่บ้าน และเปิด VCD. ไปด้วย โดยได้รับการสนับสนุนสถานที่และเครื่องเสียงจากทางวัดท่านางหอม และ อบต. ผู้สูงอายุจะมาออกกำลังด้วยท่ารำมโนราห์ประยุกต์อาทิตย์ละ 3 วัน (จันทร์ พุธ ศุกร์) วันละประมาณ 30 นาที และมีการแทรกกิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาสุขภาพจิตไปพร้อม ๆ กัน 8.   ขอบเขตและระยะเวลาดำเนินโครงการ  : ดำเนินการ 1 ปี (15 มีนาคม 2547-15 มีนาคม 2548) โดยดำเนินการกับผู้สูงอายุจำนวน 40 คน 9.   การประเมินผลและผลกระทบ  : โครงการมีการดำเนินการด้านการประเมินผล ด้วยการตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุก่อนทำโครงการได้แก่ ข้อมูล ส่วนสูง น้ำหนัก ไขมัน ความดันโลหิต อัตราการเต้นหัวใจ แรงบีบมือ แรงเหยียดหลัง แรงเหยียดขา และความอ่อนตัวด้านหน้า หลังจากดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น ได้มีการตรวจสุขภาพอีกครั้งหนึ่ง พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพที่ดี และแข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังได้มีการทำแบบประเมินอย่างเป็นทางการในงานเลี้ยงปิดโครงการ โดยเป็นการประเมินผลกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ 3 ประเด็นคือ (1) ประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงการ (2) ประเมินความพึงพอใจวันเข้าค่ายฝึกจิต ทำสมาธิ และ (3) ประเมินความพึงพอใจผลการปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยท่ารำมโนราห์ประยุกต์ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดส่วนใหญ่ผู้สูงอายุประเมินผลไปในทางค่อนข้างพอใจมาก 10. ความยั่งยืน : การทำงานของโครงการเกิดความยั่งยืนต่อเนื่องเป็นอย่างดี เพราะแม้เมื่อโครงการจบไปแล้ว กิจกรรมการออกกำลังของผู้สูงอายุก็ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยมีสมาชิกที่มาร่วมเพิ่มมากขึ้นเป็น 106 คน นอกจากนี้ยังมีการขยายการออกกำลังแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีก จากเดิมที่ออกกำลัง จันทร์ พุธ ศุกร์ ด้วยท่ามโนราห์อย่างเดียว ตอนนี้เปลี่ยนวันเป็น พุธ (ท่ามโนราห์) วันศุกร์ (รำไม้พลอง โดยใช้เทปที่ทางคุณศจีและคุณเสาวนีย์นำมาให้) ซึ่งในตอนแรกหัดนั้นแต่ละคนต้องดูจากเทป แต่หัดไปสัก 2 อาทิตย์ทุกคนก็ทำได้ ส่วนวันอาทิตย์เป็นท่าฤาษีดัดตน ซึ่งทางเครือข่ายผู้สูงอายุได้ประสานกับอนามัย และวิทยาลัยพยาบาล จัดหา VCD. มาให้ แต่เมื่อชาวบ้านจำได้ ก็เขียนชื่อท่าใส่กระดาษ โดยไม่ต้องเปิด VCD. ซึ่งผิดกับท่ามโนราห์และไม่พลองที่ยังต้องเปิด VCD. เพราะต้องการเสียงด้วย และมีอุปกรณ์ประกอบการออกำลังกาย จึงต้องดูภาพประกอบด้วย ส่วนการทำดอกไม้จันทน์ก็ยังมีการทำอยู่เป็นชมรม และเป็นที่ต้องการของชุมชนใกล้เคียงมีการมาติดต่อขอซื้อจากกลุ่มทำดอกไม้จันทน์ของผู้สูงอายุเป็นระยะ 11. จุดแข็ง และ อุปสรรค  : เนื่องจากแกนนำทั้ง 2 ท่านมีความเข้าใจ และประสบการณ์การทำงานกับผุ้สูงอายุมาอย่างยาวนาน ทำให้มีแนวทางการทำงานและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของชุมชนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งชุมชนก็มีความพร้อมที่จะสนับสนุนโดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดท่านางหอม และ อบต. ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมทุกอย่างทั้งเรื่องการออกกำลังกายและการทำดอกไม้จันทน์เพื่อหารายได้เสริม นอกจากนี้แกนนำชาวบ้านเองก็มีความกระตือรือร้น ยิ่งเมื่อออกกำลังแล้วได้ผลดี สุขภาพดีขึ้น ได้พูดคุยกับเพื่อน มีความสดชื่นแจ่มใส ก็ยิ่งทำให้เกิดการเข้าร่วมมากขึ้น ส่วนอุปสรรคสำคัญคือการขาดผู้นำ เพราะขณะนี้ประธานชมรมผู้สูงอายุของบ้านท่านางหอมก็เป็นคนมาจากหมู่อื่น เนื่องจากในหมู่บ้านไม่มีใครยอมเป็นผู้นำ เนื่องจากเห็นว่าการเป็นประธานฯ ต้องออกไปติดต่อกับภายนอก ไปประชุม และมีการรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ มาเผยแพร่ในชุมชน ซึ่งในหมู่บ้านไม่มีใครพร้อมที่จะเป็น ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าหากประธานคนปัจจุบันลาออกจะมีใครมาต่อเป็นหรือไม่ 12.  ที่ติดต่อ   :             ชมรมผู้สูงอายุวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.สงขลา(1) คุณเสาวนีย์ ประทีปทอง (อายุ 69 ปี) โทรศัพท์ 074-312570  มือถือ 01-6360435      บ้านเลขที่ 27 ซอย 8 ถนนไทรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000(2) คุณศจี อนันต์นพคุณ (อายุ 66 ปี) โทรศัพท์ 074-322069 มือถือ 09-7369071      บ้านเลขที่ 61/1 ถนนวุฒิภูมิ 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000    

 

หมายเลขบันทึก: 71599เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท