แลกเปลี่ยนเรียนรู้ศูนย์เครือข่าย ERIC


ระบบการทำงานภายในโรงเรียนที่ยึดติดกับการทำงานปกติ(Buil - in school system)โดยใช้วงจรการทำงานแบบ PDCA
วันนี้ได้มีโอกาสดีเช่นเคยได้มาเยี่ยมโรงเรียนการเคหะท่าทราย สังกัดสำนักงานเขตการศึกษากรุงเทพมหานคร ได้ร่วมไปกับคณะครูโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต นำทีมโดย อาจารย์ลัดดา  จุ้ยประเสริฐ ซึ่งเป็นเลขาศูนย์ ภาษาอังกฤษ ของอำเภอบางกรวย พร้อมด้วยอาจารย์กาญจนา  ประสิทธิผล รักษาการรอง ผอ.โรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขตและคณะครูทีมงานของศูนย์เครือข่ายERICระดับอำเภอ  อีก 12 คน                 การไปครั้งนี้เป็นโครงการศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการตั้งศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก ศน.นุตอนงค์ ทัดบัวขำซึ่งได้ติดต่อประสานงานให้เรียบร้อย คณะศึกษานิเทศก์ก์ได้ไปถึงก่อนจึงมีโอกาสพูดคุยกับผอ. อนิตา  นุชสำเนียง ผู้อำนวยการโรงเรียนการเคหะท่าทราย และนางสาวสุวัฒนา  อินทรครรชิต  ผู้รับผิดชอบศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง (Self Access Learning centre) ท่าน ผอ.เป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล จนสามารถนำพาโรงเรียนไปสู่ความก้าวหน้า จนได้รับผลการประเมินจาก สมศ. อยู่ในระดับดีมากทุกมาตรฐาน ทั้งในรอบแรกและรอบสอง ซึ่งเป็นโรงเรียน 1 ใน 50 โรงเรียนที่สังกัดกรุงเทพมหานคร                 ประมาณ 09.00 น. คณะจากโรงเรียนวัดใหม่ผดุงเขต ได้เดินทางมาถึงและเข้าไปรวมที่ห้องศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง เพื่อรับฟังคำบรรยายจากวิทยากรจากการดูเอกสารสังเกต และการสัมภาษณ์ สรุปได้ว่า ความสำเร็จของการก่อตั้งศูนย์ฯ ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียนเป็นสำคัญ และที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าของโครงการมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท และยอมเสียสละ ในส่วนที่เป็นBest practiceที่พอวิเคราะห์ได้ น่าจะเป็นผู้บริหาร บวก ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งมีความมุ่งมั่น ทุ่มเทและเสียสละ สำหรับกระบวนการ และขั้นตอนคงต้องศึกษาในลักษณะเจาะลึก แต่ตัวกระบวนการที่จะนำมาเทียบเคียงได้น่าจะเป็นระบบการทำงานภายในโรงเรียนที่ยึดติดกับการทำงานปกติ (Built - in school system)โดยใช้วงจรการทำงานแบบ PDCA  ซึ่งเป็นขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน ที่จะต้องนำผลของการประเมินมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง นอกจากนี้ผลสำเร็จของศูนย์คงต้องดูที่ตัว out put คือนักเรียนที่ได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นี้ มีผลอย่างไรบ้าง และตัวชี้วัดความสำเร็จที่พอยืนยันได้คงต้องดูที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และผลที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กซึ่งอาจต้องใช้เครื่องมือเฉพาะซึ่งเป็นของศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองอีกส่วนหนึ่ง เป็นการประเมินแบบคู่ขนาน และตัวสุดท้ายคือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมนี้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการลงทุนค่อนข้างสูง ถึงแม้จะทำทีละเล็กทีละน้อย เมื่อรวมแล้วต้องใช้งบประมาณเกือบหนึ่งล้านบาท  คงต้องมีคำถามว่า คุ้มค่า คุ้มทุน หรือไม่ กับการให้นักเรียนใช้ได้เป็นบางช่วงชั้นเท่านั้น
หมายเลขบันทึก: 71540เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2007 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท